top of page

 

รายงานการวิจัย

เรื่อง

ความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน : กรณีศึกษาความสามารถในการดำเนินงานขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี

Strengthening Community’s Organization: Case Study of

Performing Capacity of Community’s Organization in Suphan Buri Province, Thailand

 

หัวข้อวิจัย                 ความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน : กรณีศึกษาความสามารถในการดำเนินงานขององค์กร

                               ชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้ดำเนินการวิจัย        นาย ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

หน่วยงาน                สถาบันวิจัยและพัฒนา/หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์/คณะมนุษยศาสตร์และ

                              สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ปี พ.ศ.                     2558

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินงาน ศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงาน และศึกษาตัว ชี้วัดด้านศักยภาพและระดับความสามารถในการดำเนินงานขององค์กรชุมชนที่มีรูปแบบวิสาหกิจหรือธุรกิจชุมชนและรูปแบบสังคมเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสุพรรณบุรี  โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกและผู้นำองค์กรชุมชนหรือองค์กรภาคประชาชนจำนวน 100 คน โดยแบ่งเป็นองค์กรละ 25 คน จาก 4 องค์กรได้แก่ องค์กรชุมชนผู้ทรงคุณวุฒิหมู่ 3 (ปราชญ์ชาว บ้าน; มูลนิธิข้าวขวัญ) ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินสองพี่น้องจำกัด ม.8 ตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง กลุ่ม อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) หมู่ 7 ตำบลทุ่งคลี อำเภอเดิมบางนางบวช และสหกรณ์ผู้ใช้น้ำบ้านดอนจำกัดหมู่ 1 ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง โดยใช้วิธีการศึกษาทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการสัมภาษณ์สมาชิกองค์กรชุมชน แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน และแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมทั้งกึ่งเค้าโครง (Semi structure) และไม่มีเค้าโครง ทั้งนี้ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ โดยได้ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มาวิเคราะห์ข้อมูลช่วงชั้น (Interval Scale) เพื่อจัดลำดับตัวชี้วัดความเข้มแข็งหรือความสามารถในการดำเนินงานขององค์กรชุมชนหรือองค์กรภาคประชาชน   

ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานขององค์กรชุมชนหรือองค์กรภาคประชาชน ทั้งลักษณะวิสาหกิจและลักษณะสังคมเชิงวัฒนธรรม  มีระดับของประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานในระดับค่อนข้างมากจากการเปรียบเทียบการดำเนินงานพบว่า แม้จะมีความแตกต่างกันในด้านกิจกรรมและการเคลื่อนไหวตามจุดประสงค์ของแต่ละองค์กร แต่องค์กรชุมชนหรือองค์กรภาคประชาชนทั้ง 4 องค์กร ได้นำลักษณะสังคมเชิงวัฒนธรรมมาใช้ในกระบวนการดำเนินงาน กล่าวคือ นำทุนทางสังคมมาเป็นกลไกในการดำเนินงาน เช่น ค่านิยมความร่วมมือภายในองค์กร การร่วมแรงร่วมใจ ความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เป็นต้น นอกจากนั้น การดำเนินงาน มีลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย โครงสร้างองค์กรจึงมีลักษณะแนวราบ มีอิสระในกระบวนการดำเนินงาน และมีกระบวนการทำงานในเชิงจารีตประเพณี ตามสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมอันเป็นลักษณะธรรมชาติที่มีอยู่ภายในชุมชน แม้ว่าองค์กรชุมชนหรือองค์กรภาคประชาชนทั้ง 4 องค์กรจะมีกฎระเบียบที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ระเบียบดังกล่าว เป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นกลไกเพื่อจุดประสงค์ในการรับการประเมินผลการดำเนินงานจากหน่วยงานราชการตามนโยบายภาครัฐเท่านั้น

ข้อเสนอต่อแนวทางการศึกษาซึ่งได้จากสมมติฐานที่ว่า องค์กรชุมชนหรือองค์กรภาคประชาชนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้น น่าจะนำลักษณะดังกล่าวไปศึกษาเชิงบูรณาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาองค์กรระดับรากหญ้าทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง

       ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายสำหรับการศึกษานี้ รัฐไม่ควรเข้าแทรกแซงการดำเนินงานขององค์กรชุมชนหรือองค์กรภาคประชาชน เพื่อไม่ก่อให้เกิดการทำลายลักษณะที่เป็นธรรมชาติขององค์กรดังกล่าว เนื่องจากลักษณะความเป็นธรรมชาติที่สอดคล้องต่อชุมชนเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความเข้มแข็งหรือศักยภาพในการสร้างความสามารถในการดำเนินงานขององค์กรชุมชนหรือองค์กรภาคประชาชน

 

Research Title     Strengthening Community’s Organization: Case Study of

                              Performing Capacity of Community’s Organization in Suphan Buri Province, Thailand 

 

Researcher          Mr. Supwat Papassarakan

 

Organization       Research and Development Institute/Public Administration/Faculty

                          of Humanities and Social Sciences/ Suan Dusit Rajabhat University

 

Year                   2015

 

          This research is following objectives: to, study and compare the performance, and study to potential as an indicator of capacity’s performance of community organization in both corporate social - cultural and enterprise feature in Suphanburi province. The population and sample are the leader and the members about 100 from community organizations, comprising of 25 from four organizations, including the Expert’s Community Organization Moo 3, (Scholar or Kgawkwany Foundation) tambon Sakaeo, Moung district.; Songphinong Agricultural Cooperatives Land Reform Co. Moo 8, tambon Bosuphan, Songphinong district; Community Volunteer Groups (Volunteer village health) Moo 7, tambon Thung klee, Deimbannangboch district; and Community Organizations, Cooperatives Water User Bandon Co. Moo 1, Tambon Bandon, Autong district. The study uses in both qualitative and quantitative method. Study’s tools include the questionnaire to interview the members and the leaders of community organization, and the semi structure and the structural participatory observation. Data collection from those is analyzed by frequency, percentage and using the mean and standard deviation (SD) for interval data to sequence a measure of the strength as ability of community organizations.

           The study found that, the four community organizations are somewhat more based on a level of an efficiency and effectiveness of the performance both in the social - cultural and enterprise feature.  It is although a different activities and movement as the goal with comparison but there are those features in the process of performance, namely. All the community organizations adopted the social capital as a mechanisms to implementation such a cooperative values within organization, a cooperating, and a cooperative generosity, etc.. Interdependent feature hence the fate organization that is the structure of organization has the process independent performing. The process of work, is a tradition as a socio-cultural environment, has been the nature to exist within the community. Although these organizations have the statute but they use to exists for an evaluation from the government agency and to respond their policy.

Proposal to the next study should be approved from the assumption as the community organizations formed naturally circumstance society and culture. So that such a study will be integrated for the sake of economic, social and political development in the grassroots organizations. 

           Recommendations on policy in this study, the government should not be intervention to the operation of community organizations to avoid the natural feature that to be no longer in existence such organizations. Due to this consisting community contributes to the strength or ability to capacity building in performing community organizations.

 

bottom of page