top of page

แนวคิดที่ชัดเจนในการต่อต้านทางสังคม

                การได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อหลาย ๆ ฝ่าย มีผลให้ถูก unfriend ไปบ้าง ถูกด่าว่าจากเด็กรุ่นใหม่บ้าง แต่สิ่งที่ได้มามันสามารถอภิปรายได้ว่า แนวคิดเป้าหมายที่ได้รับมาจากการปลูกฝังทางความคิดผสมผสานปรากฏการณ์ที่เกิดจากค่านิยมทำตามกันแบบไทย ๆ ที่มีและฝังอยู่ในสังคมไทย เช่น ทำกิจกรรมหนึ่งแล้วดีมีประโยชน์สูงสุด ก็มีการทำตามกันจนเกินหรือโอเวอร์ Supply  ซึ่งมีให้เห็นกันอยู่มากมาย โดยเฉพาะ การนำเสนอใน Social Media มีการนำเสนอมุมมองการใช้ชีวิตที่ดี สุขสบาย มีเหลือเผื่อแผ่ ทำบุญต่อผู้ยากไร้ทำให้เกิดความชัดเจนหลายประการต่อการแสดงความคิดของคนรุ่นใหม่ ๆ ที่ว่า ทำไมประเทศจึงไม่พัฒนาให้ตนหรือประชาชน (แต่ส่วนใหญ่คิดถึงตนเองก่อน) มีรายได้สูง ๆ มีหน้าตาของสาธารณูปโภคที่สวยหรู สะดวกสบาย มีสวัสดิการที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และสามารถกล่าวได้ว่า

                1. การโต้แย้งในการพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น   คนรุ่นใหม่มองว่า ประเทศล้าหลังเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยไม่ได้พิจารณาถึงบริบทแวดล้อมที่ต่างกัน แล้วนำมาสรุป โดย

                               1.1 เป็นการมองผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีอเมริกาสนับสนุน ซึ่งถือว่านั่นเป็นสิ่งที่ดี

                               1.2 มีค่านิยมเสรีแบบอเมริกาอย่างชัดเจน ทั้งรูปแบบการกระทำ รูปแบบทางความคิดและรูปแบบการดำเนินชีวิตทางสังคม

                             1.3 มองเห็นประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงของประเทศที่นำมาเปรียบเทียบเป็นมรรควิธีที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาของประเทศได้

                             1.4  นำข้อเสียของกลไกการทำงานโดยเฉพาะภาคราชการของไทยซึ่งได้รับรู้ผ่านประสบการณ์ แต่ส่วนใหญ่รับรู้ผ่านข้อมูลจาก Social Media บทเรียนในตำรา ผู้ให้ความรู้ในสถาบันการศึกษา ทั้งที่อยู่นอกประเทศและในประเทศมาไตร่ตรองตามอิทธิพลทางความคิดที่ถูกครอบให้เป็น     

                               1.5 นำข้อเสียของการพัฒนาในประเทศไปเปรียบเทียบแม้ประเทศที่การพัฒนาน้อยกว่าเพื่อด้อยค่าการ

พัฒนาภายในประเทศ

                2. การนำเสนอแนวความคิดเพื่อการผลักดันมีความชัดเจนด้านเดียวแต่เป้าหมายการผลักดันมีความที่สับสน โดย

 

                                2.1 การมองว่าระบบราชการไม่สุจริต เป็นระบบอมาตยาธิปไตย มีการคอรัปชั่นสูง เป็นสาเหตุของความไม่พัฒนา สุดท้ายมองว่าสถาบันกษัตริย์ รวยที่สุดไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน นี่คือความชัดเจนทางความคิดที่เกิดขึ้น

                                2.2 การเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ เป็นการมองว่า การพัฒนาที่ดีมาจากการเปลี่ยนแปลงจากระบอบกษัตริย์ไปสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ระบอบประธานาธิบดี ที่การคอรัปชั่นถูกกำจัดออกไป

                                2.3 ทุกอย่างที่มีอเมริกันเข้ามาสนับสนุนนไม่ว่าในด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมบันเทิง จะทำให้การพัฒนาเป็นไปด้วยความเจริญก้าวหน้ากว่าประเทศของตนที่ล้าหลังและก้าวตามไม่ทัน

                                2.4 ความต้องการทางความคิดตามข้อ 1 ทำให้ไม่มีความชัดเจนและคลุมเคลือว่าตกลงจะให้พัฒนาไปในทิศทางไหนหรือต้องเอาตามอย่างเค้าทั้งหมด แต่มีความชัดเจนเพียงประการเดียวคือในข้อ 2.1

                ในท้ายที่สุด จึงไม่รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศมีเป้าหมายไปในทิศทางใด ต้องการพัฒนาอะไร โดยหวังเพียงต้องอะไรก็ได้ที่ให้ตนเอง และคนอื่น ๆ รวยมีชีวิตที่ดีหรูหรา เนื่องจากคิดว่าทุกอย่างยังล้าหลังไปหมดและสรุปได้ว่าต้องเปลี่ยนแปลงผู้บริหารประเทศและหากเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองก็ยิ่งดี โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งถูกเน้นเป็นพิเศษ และเข้าทางนักการเมืองที่มองและแสวงหาประโยชน์ เข้ามาเป็นแนวร่วมอย่างเต็มใจ

                

bottom of page