1) พาราไดม์ 1 การแบ่งแยกการเมืองออกจากการบริหาร (The Politic/Administration Dichotomy) ปี ค.ศ.1900-1926
2) พาราไดม์ 2 หลักการบริหาร (The Principles of Administration) ปี ค.ศ.1927- 1937 พร้อมกันนี้ได้เกิดการท้าทายหลักการบริหาร (The Challenge) ขึ้นปี ค.ศ.1938-1947 และการ โต้ตอบการท้าทาย (Reaction to the Challenge) ในระหว่างปี ค.ศ.1947-1950
3)พาราไดม์ 3 รัฐประศาสนศาสตร์ในฐานที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐศาสตร์ (Public Administration as Political Science) ปี ค.ศ.1950-1970
4) พาราไดม์ 4 รัฐประศาสนศาสตร์ในฐานะที่เป็นศาสตร์การบริหาร (Public Administration as Management) ปี ค.ศ.1956-1970
5) พาราไดม์ 5 รัฐประศาสนศาสตร์ในฐานะที่เป็นศาสตร์การบริหารภาครัฐ (Public Administration as Public Administration) ปี ค.ศ.1970 เป็นต้นมา
นายณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005
การมุ่งเน้นแต่เพียงการจัดการที่ดี(Good Governance) (ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ประสิทธิผล ยุติธรรม ความคุ้มค่า การมีส่วนร่วม) ในยุคนี้คงจะไม่เพียงพอกับบริบทและกระแส ของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้สถานการณ์ที่ปัญหาความซับซ้อนของงานสาธารณะที่เพิ่มขึ้น อย่างมาก และปัญหาข้อจ ากัด ทางด้านทรัพยากรของภาครัฐเอง รวมทั้งความเข้มแข็งและ ความกระตือรือร้นของภาคประชาสังคมได้ทำให้พื้นที่สาธารณะกำลังเปิดกว้างต่อการมีส่วนร่วมจาก ภาคส่วนต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ส่งผลให้NPG เกิดขึ้นเพื่อรองรับต่อปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลง ที่กล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหารจัดการปกครองอันแตกต่างหลากหลาย ซึ่งจำเป็นที่จะต้อง ประสานความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) และตัวแสดงอื่น ๆ การชักจูงให้ แต่ละฝ่ายนำทรัพยากรออกมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของส่วนรวม และการจัดการความขัดแย้ง ที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการร่วมกันทำระหว่างเครือข่ายต่าง ๆ
ณัฐภรณ์ ยศพิมพ์ 63423471025
การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) เป็นการบริหารงานที่ มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ มีมาตรฐานวัดได้ ใช้กลไกการตลาดเปิดโอกาสในการแข่งขันทั้งภาคเอกชนและภาค ประชาชนในการเข้าร่วมการลงทุนอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ การให้บริการที่ตอบสนองต่อความ ต้องการของประชาชน ดังนั้นเพื่อให้ระบบราชการมีความสอดคล้องกับแนวคิดการปฏิรูประบบราชการ ควรมีลักษณะ คือ รัฐจะมีบทบาทหน้าที่เฉพาะในส่วนที่จำเป็นจะต้องทำเท่านั้นเพื่อเปิดโอกาสให้ ประชาชนและชุมชนมีบทบาทมากขึ้น มีการบริหารจัดการภายในภาคราชการที่มีความรวดเร็ว คุณภาพสูง และมีประสิทธิภาพ มีการจัดองค์กรที่มีความกะทัดรัดคล่องตัวและปรับเปลี่ยนได้อย่าง รวดเร็ว เน้นการทำงานที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือตามลักษณะของการทำงานที่ทันสมัย ใช้อุปกรณ์ที่ เหมาะสมต่อการทำงาน มีการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณภาพสูง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์โดยมีประชาชนเป็นเป้าหมาย มีกลไกการบริหารงานบุคคล ที่หลากหลาย มีระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรมเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเต็มใจ มารับราชการอย่างมืออาชีพ
การบริหารภาคการคลังจะต้องมีการกำหนดมาตรการการควบคุมและการดำเนินการครอบคลุมในทุกมิติการนำการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้เพื่อการกำหนดมาตรการหรือแนวทางการบริหาร จะทำให้การบริหารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะการจัดการภาครัฐแนวใหม่มีรูปแบบตั้งแต่การศึกษาสภาพแวดล้อมและปัญหา การศึกษาเอกสารและผลการดำเนินการที่ผ่านมารวมไปถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดการดำเนินการ
การบริหารการคลังของไทยควรมีการนำการจัดการ ภาครัฐแนวใหม่มาใช้เพื่อการบริหารการคลัง โดยต้องมีการ ศึกษาทบทวนการจัดการภาครัฐแนวใหม่ก่อนการตัดสินใจ ดำ เนินนโยบายหรือมาตรการใดๆ การจัดการภาครัฐแนวใหม่เสนอให้มีการทบทวนหลักการบริหารก่อน เพื่อวิเคราะห์ แนวทาง การดำ เนินการ และผลกระทบ ร่วมกับการประเมิน ผลการดำเนินการมาตรการหรือนโยบาย ทั้งใน ระหว่างการ ดำเนินการและหลังการดำเนินการ เพื่อใช้เป็น ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการบริหารงานครั้งต่อไปภายใต้กรอบการจัดระเบียบที่เน้น ประเด็นสำคัญ 4 ประเด็น หลักได้แก่
1) การจัดการและความเป็นผู้นำ
2) นโยบายและขั้นตอน
3) การจัดการบุคลากร และ
4) สารสนเทศ เพราะ ประเด็นสำคัญเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของ การบริหารที่ดี
ภาครัฐมีกระบวนการ และวิธีการในการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการ บริหารการเงินการคลังภาครัฐ ครอบคลุมทั้งด้าน หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ และหลัก ความคุ้มค่า
การกำหนดนโยบายต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงขององค์กรและสังคม
ในการกำหนดนโยบายองค์กรนั้นบริหารองค์กรต้องกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับความเป็นจริงขององค์กรและสังคมเป็นสำคัญ ความเป็นจริงขององค์กรหมายถึง สถานะทางการเงินขององค์กรความรู้และความสามารถของบุคคลากรในองค์กร สภาพสังคมในปัจจุบัน เช่น ขณะนี้สังคมของประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยการกำหนดนโยบายก็ต้องให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน ไม่ใช่กำหนดนโยบายเสมือนกับองค์กรอยู่ในสมัยที่ประเทศเป็นเผด็จการ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งของการกำหนดนโยบาย เช่น การกำหนดนโยบายในการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารองค์กร
นายอิทธิพัฒน์ แซมกลาง 63423471016
ในการบริหารและจัดการในองค์กรทุกระดับ ในองค์ที่มีขนาดใหญ่จะพบปัญหาที่ผู้บริหารลังเลใจในการตัดสินใจจัดหาระบบ นอกเหนือจากที่ระบบเหล่านี้มักมีการลงทุนที่สูงแล้ว ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประกอบกับการตัดสินใจดูจะไม่เพียงพอ การวางแผนกลยุทธหรือแผนแม่บทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนในการช่วยลดปัญหาและสร้างภาพรวมของระบบสารสนเทศขององค์กรขึ้นมา แต่การจะตัดสินในในการดำเนินโครงการ ก็น่าจะได้รับการวิเคราะห์ในเรื่องของความคุ้มค่าและความเป็นไปได้และโครงการสารสนเทศถ้าสร้างขึ้นมาโดยมีการจัดทำการออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ จะเป็นการสร้างประโยชน์ให้หน่วยงานสามารถนำระบบสารสนะทศไปใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด และประการสุดท้ายการวางแผนกลยุทธสารสนเทศธุรกิจเป็นการบวนการที่เสนอแนะให้ดำเนินการลักษณะรุกที่นำโดยผู้บริหารระดับสูงขององค์การเพื่อการสร้างแผนกลยุทธที่นำไปสู่การเป็นผู้นำ
นาย อิทธิณัฐ แซมกลาง 63423471284
ปัจจัยความสำเร็จตามหลัก
ธรรมาภิบาลในการบริหารงานคลังกระบวนการและวิธีการในการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารการเงินการคลัง
ขององค์กรต้นแบบที่ดีภาครัฐ
(1) หลักนิติธรรม
(2) หลักความมีส่วนร่วม
(3) หลักคุณธรรม
(4) หลักความรับผิดชอบ
(5) หลักความโปร่งใส
(6) หลักความคุ้มค่า
ปัจจัยความสำเร็จในการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารการเงินการคลัง
ขององค์กรต้นแบบที่ดีภาครัฐ
(1) ด้านกลยุทธ์
(2) ด้านการจัดการบุคคลเข้าทำงาน
(3) ด้านโครงสร้าง
(4) ด้านทักษะ
(5) ด้านระบบ
(6) ด้านค่านิยมร่วม
(7) ด้านรูปแบบ
ปัญหาและอุปสรรคในการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหาร
การเงินการคลังขององค์กรต้นแบบที่ดีภาครัฐ
(1) ปัญหาด้านบุคลากร
(2) ปัญหาด้านงบประมาณ
(3) ปัญหาด้านวัสดุ อุปกรณ์เทคโนโลยี
(4) ปัญหาด้านการจัดการ
นายณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005
กระบวนการนำแนวคิดการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่มาใช้ใน กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ยึดหลักธรรมาภิบาล ยึดหลัก กระจายอำนาจไปสู่ส่วนภูมิภาคและหลักมุ่งผลสัมฤทธิ์ กระบวนการในการสร้างบุคลากรให้มีทัศนคติ ความคิด ไปในแนวทางเดียวกับองค์การ ทำงานด้วยความทุ่มเท รักองค์การ ซึ่งปัญหาและอุปสรรค จากการบริหารงาน คือ ยังมีระบบราชการที่เป็นระบบอุปถัมภ์
แนวการศึกษาที่ใช้มิติของเวลา
แนวทางการศึกษาที่ใช้มิติของเวลา เป็นการศึกษา แนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์โดยจ าแนกตามช่วงเวลาที่เกิดขึ้น ซึ่งกรณีตัวอย่างที่ใช้มิติของ เวลา เช่น เช่น นิโคลัส เฮนรี่ (Nicholas Henry) พยายามชี้ให้เห็นว่า แนวคิดและทฤษฎีรัฐประศาสน ศาสตร์มีอยู่ 5 พาราไดม์/ขอบเขตเนื้อหา คือ
1) พาราไดม์ 1 การแบ่งแยกการเมืองออกจากการบริหาร (The Politic/Administration Dichotomy) ปี ค.ศ.1900-1926
2) พาราไดม์ 2 หลักการบริหาร (The Principles of Administration) ปี ค.ศ.1927- 1937 พร้อมกันนี้ได้เกิดการท้าทายหลักการบริหาร (The Challenge) ขึ้นปี ค.ศ.1938-1947 และการ โต้ตอบการท้าทาย (Reaction to the Challenge) ในระหว่างปี ค.ศ.1947-1950
3)พาราไดม์ 3 รัฐประศาสนศาสตร์ในฐานที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐศาสตร์ (Public Administration as Political Science) ปี ค.ศ.1950-1970
4) พาราไดม์ 4 รัฐประศาสนศาสตร์ในฐานะที่เป็นศาสตร์การบริหาร (Public Administration as Management) ปี ค.ศ.1956-1970
5) พาราไดม์ 5 รัฐประศาสนศาสตร์ในฐานะที่เป็นศาสตร์การบริหารภาครัฐ (Public Administration as Public Administration) ปี ค.ศ.1970 เป็นต้นมา
ผลงานของนักวิชาการไทยได้แก่ พิทยา บวรวัฒนา ได้มีการน าแนวทางการศึกษาแนวคิดและ ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ที่ใช้มิติของเวลาเข้ามาใช้เป็นกรอบหรือแนวทางการศึกษา โดยเห็นว่ารัฐ ประศาสนศาสตร์ตะวันตกมีวิวัฒนาการมาแล้ว 4 ช่วงสมัยที่ส าคัญคือ
1) สมัยทฤษฎีดั้งเดิม (ค.ศ.1887-1950) ได้แก่ ทฤษฎีและแนวการศึกษาเกี่ยวกับการ บริหารแยกออกจากการเมือง ระบบราชการ วิทยาศาสตร์การจัดการ และหลักการบริหาร
2) สมัยทฤษฎีท้าทายหรือวิกฤติด้านเอกลักษณ์ครั้งแรก (ค.ศ.1950-1960) ได้แก่ ทฤษฎี และแนวการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารคือการเมือง ระบบราชการแบบไม่เป็นทางการ มนุษยสัมพันธ์ และศาสตร์การบริหาร
3) สมัยวิกฤติด้านเอกลักษณ์ครั้งที่สอง (ค.ศ.1960-1970) ได้แก่ ทฤษฎีและแนวการศึกษา เกี่ยวกับแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่
4) สมัยทฤษฎีและแนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ (ค.ศ.1970-ปัจจุบัน) ได้แก่ ทฤษฎีและแนวการศึกษาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ ทางเลือกสาธารณะ เศรษฐศาสตร์การเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน การจัดการแบบประหยัด ชีวิตองค์การ การออกแบบองค์การสมัยใหม่ และการวิจัยเรื่ององค์การ
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ คือ การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐ โดยนำหลักการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและการแสวงหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยการนำเอาแนวทางหรือวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหารงาน ภาครัฐ เช่น การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ การบริหารงานแบบมืออาชีพ การคำนึงถึงหลักความคุ้มค่า การจัดการโครงสร้างที่กะทัดรัดและแนวราบ การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาแข่งขันการให้บริการสาธารณะ การให้ความสำคัญต่อค่านิยม จรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรมและจริยธรรม ตลอดทั้งการมุ่งเน้นการให้บริการแก่ประชาชนโดยคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญ (อภิญญา มาประเสริฐ, 2558)
หลักใหญ่ของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ คือ การเปลี่ยนระบบราชการที่เน้นระเบียบและขั้นตอนไปสู่การบริหารแบบใหม่ซึ่งเน้นผลสำเร็จและความรับผิดชอบ รวมทั้งใช้เทคนิคและวิธีการของเอกชนมาปรับปรุงการทำงาน (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2553) “การจัดการภาครัฐแนวใหม่” มีหลักสำคัญ 7 ประการ คือ
1. จัดการโดยนักวิชาชีพที่ชำนาญการ หมายถึง ให้ผู้จัดการมืออาชีพได้จัดการด้วยตัวเอง ด้วยความชำนาญ โปร่งใส และมีความสามารถในการใช้ดุลพินิจ เหตุผลก็เพราะเมื่อผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว ก็จะเกิดความรับผิดชอบต่อการตรวจสอบจากภายนอก
2. มีมาตรฐานและการวัดผลงานที่ชัดเจน ภาครัฐจึงต้องมีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายของผลงาน และการตรวจสอบจะมีได้ก็ต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
3. เน้นการควบคุมผลผลิตที่มากขึ้น การใช้ทรัพยากรต้องเป็นไปตามผลงานที่วัดได้ เพราะเน้นผลสำเร็จมากกว่าระเบียบวิธี
4. แยกหน่วยงานภาครัฐออกเป็นหน่วยย่อย ๆ การแยกหน่วยงานใหญ่ออกเป็นหน่วยงานย่อย ๆ ตามลักษณะสินค้าและบริการที่ผลิต ให้เงินสนับสนุนแยกกัน และติดต่อกันอย่างเป็นอิสระ
5. เปลี่ยนภาครัฐให้แข่งขันกันมากขึ้น เป็นการเปลี่ยนวิธีท างานไปเป็นการจ้างเหมาและประมูล เหตุผลก็เพื่อให้ฝ่ายที่เป็นปรปักษ์กัน เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ต้นทุนต่ำและมาตรฐานสูงขึ้น
6. เน้นการจัดการตามแบบภาคเอกชน เปลี่ยนวิธีการแบบข้าราชการไปเป็นการยืดหยุ่นในการจ้างและให้รางวัล
7. เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีวินัยและประหยัด วิธีนี้อาจทำได้ เช่น การตัดค่าใช้จ่าย เพิ่มวินัยการทำงาน
หยุดยั้งการเรียกร้องของสหภาพแรงงาน จำกัดต้นทุนการปฏิบัติ เหตุผลก็เพราะต้องการตรวจสอบ
ความต้องการใช้ทรัพยากรของภาครัฐ และ “ทำงานมากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง” (do more
with less)
ธรรมาภิบาลจัดเป็นแนวคิดสำคัญในการบริหารงานและการปกครองในปัจจุบัน เพราะโลกปัจจุบันได้หันไปให้ความสนใจกับเรื่องของโลกาภิวัตน์และธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการที่ดี มากขึ้น แทนการสนใจเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมดังแต่ก่อน เพราะกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจมีความสำคัญกระทบถึงกัน การติดต่อสื่อสาร การดำเนินกิจกรรมในที่หนึ่งมีผลกระทบต่ออีกที่หนึ่งการพัฒนาเรื่องของการเมืองการปกครองได้มุ่งให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น หากจะให้ประเทศมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน การมุ่งดำเนินธุรกิจ หรือปฏิบัติราชการต่างๆโดยไม่ให้ความสนใจถึงเรื่องของสังคม ประชาชน และสิ่งแวดล้อมจึงเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป การมีการบริหารจัดการที่ดีจึงเข้ามาเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญและเริ่มมีการนำไปปฏิบัติกันมากขึ้น
การบริหารจัดการการเงินและการคลังกับความเป็นธรรมาภิบาลในยุคปัจจุบัน
หลักธรรมาภิบาล กระบวนการและวิธีการในการน าหลักธรรมภิบาลมาใช้
1) หลักนิติธรรม
(1) มีการบังคับใช้กฎ ระเบียบอย่างเคร่งครัด และเป็นธรรม
(2) มีหน่วยงานควบคุม ดูแลและตรวจสอบการท างาน
(3) มีการปรับปรุงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับให้ทันสมัย
2) หลักคุณธรรม
(1) ส่งเสริมให้บุคลากรอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับธรรมภิบาล
(2) ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรเรื่องการยึดมั่นคุณธรรม
(3) รณรงค์ให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม
3) หลักความมีส่วนร่วม
(1) เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการปฏิบัติงาน
(2) ส่งเสริมให้บุคลากรร่วมแสดงความคิดเห็นด้านการปรับปรุงการทำงาน และการแก้ไขปัญหาการด าเนินงานต่าง ๆ
4) หลักความโปร่งใส
(1) มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและผลการด าเนินงานต่อสาธารณะ
(2) เปิดโอกาสให้สังคมภายนอกเข้าถึงข้อมูลผลการด าเนินงาน
(3) มีหน่วยงานตรวจสอบกระบวนการด าเนินงาน
5) หลักความรับผิดชอบ
(1) ส่งเสริมให้บุคลากรตระหนักในหน้าที่ และรับผิดชอบต่อสังคม
(2) ส่งเสริมให้บุคลากรกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และกล้ายอมรับผลจากการกระท า
6) หลักความคุ้มค่า
(1) ส่งเสริมให้มีการจัดการและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(2) รณรงค์การใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าและรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน
นางสาวเกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128 รุ่นที่ 46
การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) คือ การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐโดยนำหลักการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและการแสวงหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยการนำเอาแนวทางหรือวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหารงานภาครัฐ เช่น การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์การบริหารงานแบบมืออาชีพ การคำนึงถึงหลักความคุ้มค่า การจัดการโครงสร้างที่กะทัดรัดและแนวราบ การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาแข่งขันการให้บริการสาธารณะการให้ความสำคัญต่อค่านิยมจรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรมและจริยธรรม ตลอดทั้งการมุ่งเน้นการให้บริการแก่ ประชาชนโดยคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญ
การบริหารจัดการการเงินและการคลัง หน่วยงานภาครัฐจะต้องกำหนดประเด็นสำคัญในการบริหารให้แยกออกเป็นขอบข่ายที่สำคัญ 4 ขอบข่าย ดังต่อไปนี้การจัดการและการคัดเลือกผู้นำ (Organizational Alignment and Leadership) การจัดการนโยบายและการวางแผน (Policies and Processes)การจัดการส่วนบุคคล(Personnel Management) และข้อมูลข่าวสาร (Information) การจัดการและการคัดเลือกผู้นำเพื่อเป็นผู้กำหนดทิศทางการคลังในทุกภาคส่วน จะต้องมีการบริหารงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างให้สอดคล้องกับหน่วยงานสอดคล้องกับความต้องการในด้านประโยชน์และสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของแผนงานหรือแผนกลยุทธ์รวมทั้งกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนทั้งนี้ผู้นำจะต้องมีความสามารถ มีความซื่อสัตย์และสามารถประสานงานได้ดีทุกภาคส่วนของหน่วยงานภาครัฐ
การจัดการนโยบายและการวางแผน จะต้องใช้หลักการเชิงกลยุทธ์เข้ามาเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนมีการประเมินผลกระทบภายในองค์การในการจัดสรรงบประมาณและต้องมีการประเมินผลกระทบภายนอกควบคู่ด้วยเช่นกัน เพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพการคลังจะต้องสร้างความร่วมมือกับทุกองค์การและทุกหน่วยงานทั้งหน่วยงานภาครัฐและ
หน่วยงานภาคเอกชนมีการจัดการผู้จัดจำหน่าย (Supplier)ลดการผูกขาด(Reduce Monopoly) เน้นประสิทธิภาพในการตรวจสอบและการกำกับดูแลสัญญาใส่ใจในการรับผิดชอบทางการเงิน
การจัดการงานบุคคล การสั่งสมทุนมนุษย์การสร้างวัฒนธรรมในองค์การมีแต่ความซื่อสัตย์และมีกระบวนการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพมีการควบคุมอย่างชัดเจนสนับสนุนการสร้างพฤติกรรมที่มีจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ข้อมูลข่าวสาร การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการข้อมูลมีการติดตามผลการวางฐานข้อมูลทางการเงินและระบบนั้นจะต้องให้ง่ายต่อความเข้าใจในระดับผู้บริหารมีระบบป้องกันและการจัดการให้ข้อมูลเป็นความลับ
การบริหารภาคการคลังจะต้องมีการกำหนดมาตรการการควบคุมและการดำเนินการครอบคลุมในทุกมิติการนำการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้เพื่อการกำหนดมาตรการหรือแนวทางการบริหารจะทำให้การบริหารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะการจัดการภาครัฐแนวใหม่มีรูปแบบตั้งแต่การศึกษาสภาพแวดล้อมและปัญหาการศึกษาเอกสารและผลการดำเนินการที่ผ่านมารวมไปถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดการดำเนินการเพราะการดำเนินการภายใต้โครงการต่างๆต้องลดปัญหาแม้ว่าจะถูกจำกัดด้วยสภาพแวดล้อมและทรัพยากรที่มีอยู่ปัจจุบันหลายประเทศในอาเซียนประสบปัญหาคือการที่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการบริหารได้ตามที่แถลงจุดอ่อนปัญหาการบริหารการคลังที่ไม่มีคุณภาพขาดการวางแผนขาดการศึกษาในเชิงลึกและขาดการวางรากฐานนโยบายสาธารณะเพื่อประชาชน เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐเป็นองค์การขนาดใหญ่ทำให้การจัดการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นไปตามแบบแผนเดียวกันเป็นเรื่องที่ยาก เช่น การดำเนินการตามนโยบายผู้ที่ออกนโยบายกับผู้ที่ดำเนินการเป็นบุคคลคนละกลุ่มกัน ถือว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญดังนั้น การร่วมมือกันของทุกภาคส่วนเป็นขั้นตอนที่สำคัญ โดยต้องมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน แนวทางการดำเนินงานที่แน่นอนเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ดำเนินการตามแนวทางเดียวกัน
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง63423471141
การบริหารภาครัฐให้สอดรับกับระบบธรรมาภิบาลจึงมีความจำเป็นอย่างมากโดยต้องเน้นพัฒนาคนให้สอดคล้องกับหลักการสำคัญของ ระบบธรรมาภิบาล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ประการแรก ให้ความสำคัญกับหลักนิติธรรม (Rule Of Law) การบริหารงานภาครัฐต้องบริหารงานโดยยึดหลักกฎหมายเป็นสำคัญซึ่งหลักนิติธรรมนี้จะต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทสภาพแวดล้อม ของสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงวิถีชีวิตของคน กลุ่มคน องค์การที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยและต้องใช้บังคับให้ เสมอภาคกันด้วยหลักคุณธรรม (Merit System)
ประการที่สอง ให้ความสำคัญกับความเสมอภาค (Equity) ประชาชนทุกคนจะต้องได้รับการ บริการสาธารณะที่เสมอภาคกัน เท่าเทียมกันรวมถึงการเข้าถึงบริการสาธารณะนั้นๆอย่างทั่วถึงอีกด้วย ประการที่สาม ให้ความสำคัญกับความโปร่งใส (Transparency) ภาครัฐดำเนินการใดจะต้องมี กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน สามารถอธิบายอย่างมีเหตุผล มีผลได้รวมถึงการรับรู้ข้อมูล ข่าวสารที่ถูกต้องเป็นจริงด้วย
ประการที่สี่ ให้ความสำคัญกับการพร้อมรับการตรวจสอบ (Accountability) สอดคล้องกับความ โปร่งใสมักต้องไปควบคู่กัน คือโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน ประการที่ห้า ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency And Effectiveness) ในการบริหารงานคำสองคำนี้ต้องมีควบคู่กัน กล่าวคือ ประสิทธิภาพเน้นผลผลิต ประหยัด ส่วนประสิทธิผล เน้นเรื่องของการบรรลุเป้าหมายในการดำเนินงานหรือตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ประการที่หก ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม (Participation) ภาครัฐต้องเปิดใจให้กว้างพร้อมที่ จะให้ทุกฝ่ายทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เข้าร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน
ประการสุดท้าย ให้ความสำคัญกับมิติมหาชน (Consensus) คือการเห็นพ้องต้องกัน ความเห็น ของคนส่วนใหญ่แต่คนละความหมายกับพวกมากลากไป หมายถึงว่าทุกคนมีโอกาสในการมีส่วนร่วมและ ตัดสินใจภายใต้ข้อมูลข่าวสารที่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ถึงแม้จะถือเสียง ส่วนใหญ่เป็นข้อยุติ แต่จะต้องไม่เพิกเฉยหรือละเลยต่อเสียงส่วนน้อย (Majority Rule, Minority Rights) หลักการและความสำคัญของระบบธรรมาภิบาลข้างต้น หากสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในการบริหารภาครัฐ จะก่อให้เกิดระบบคุณธรรม (Merit System) ซึ่งเป็นระบบที่พึงปรารถนาในการบริหารที่ดี เพราะระบบธรรมาภิบาลตามหลักการนี้มีธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบด้วย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาคอร์รัปชั่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การเลิกปฏิบัติภายใต้ ระบบอุปถัมภ์ จะเกิดขึ้นได้น้อยหรือยากกว่าในอดีตที่ผ่านมา การบริหารภาครัฐหรือระบบการบริหารงานที่ สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนโดยเสมอภาค เท่าเทียมกัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ให้บริการ สาธารณะที่เท่าเทียมกัน รวมทั้งมีความยุติธรรมอันนำไปสู่การบริหารราชการที่ดี (Good Government) ใน ที่สุด ในการสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกและเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของรัฐมากขึ้น เพราะแท้จริง แล้วประชาชนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารงานภาครัฐอย่างแท้จริง (Kanapol, 2016)
แนวคิดการจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่
การบริหารราชการแนวใหม่หรือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) เป็นแนวคิดพื้นฐานของการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆ ขององค์กรภาครัฐ โดยมีแนวทางในการบริหารจัดการ 7 ประการ คือ 1) การให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน 2) การคำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นหลัก 3) รัฐพึงทำบทบาทเฉพาะที่รัฐทำได้ดีเท่านั้น 4) การลดการควบคุมจากส่วนกลาง เพิ่มความอิสระแก่หน่วยงาน 5) ระบบการบริหารงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ 6) การมีระบบสนับสนุนทางด้านบุคลากรและเทคโนโลยี 7) เน้นการแข่งขันระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับเอกชน ส่วนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือสร้าง “พลังทวีคูณ” (synergy) ในการปฏิบัติราชการ คือ พลังของข้าราชการระดับสูง ข้าราชการระดับกลาง และข้าราชการระดับล่าง ให้สามารถสร้างผลงานในระดับสร้างสรรค์และมีผลสัมฤทธิ์สูง ซึ่งในการบริหารราชการแนวใหม่นี้ ส่วนราชการจะต้องพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญให้เพียงพอแก่การปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และสถานการณ์ของต่างประเทศที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง ซึ่งในการบริหารราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 จะต้องมีการวางแผนการปฏิบัติราชการทุกระยะ มีการปรับแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มีการกำหนดผลสัมฤทธิ์ของงานที่เป็นความจริง ดังนั้น แนวความคิดของผู้ปฏิบัติงานภาครัฐจะต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติเดิมเสียใหม่ จากการที่ยึดแนวคิดว่า “ต้องปฏิบัติงานตามระเบียบแบบแผนที่วางไว้ตั้งแต่อดีตจนต่อเนื่องถึงปัจจุบัน” ให้ “เน้นการสร้างความคิดใหม่ๆ ตามวิชาการสมัยใหม่ และนำมาปรับใช้กับการปฏิบัติราชการตลอดเวลา ประกอบกับส่วนราชการต้องมีการพัฒนาความรู้เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ 1) หน่วยงานต้องสร้างระบบให้สามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง 2) หน่วยงานต้องสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป 3) หน่วยงานต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการ เพื่อให้ข้าราชการทุกคนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในวิชาการสมัยใหม่ตลอดเวลา มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และมีคุณธรรม 4) หน่วยงานต้องมีการสร้างความมีส่วนร่วมในหมู่ข้าราชการให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อการนำมาพัฒนาใช้ในการปฏิบัติราชการร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพ"
น.ส. สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003ปัญหาและอุปสรรรคในการนำหลักธรร
มาภิบาลมาใช้ในการบริหารการเงินการคลังขององค์กรต้นแบบที่ดีภาครัฐทั้ง 6 องค์การ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาและอุปสรรคในด้านบุคลากร (Man) และด้านการจัดการ (Management) ประกอบด้วย (1) บุคลากรบางส่วนมีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอและไม่ตรงกับงานที่ปฏิบัติ (2) บุคลากรขาดการมีส่วนร่วมและการแสดงออก (3) ปัญหาการสื่อสาร (4) กฎระเบียบข้อบังคับ และความล่าช้าในการปฏิบัตงาน
ธีรวัฒน์ ชาตะลี รหัส 634-234-711-45
การจัดการภาครัฐเกี่ยวกับบริหารการเงินการคลัง และการใช้ระบบธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารเพื่อเป็นแนวทางป้องกันในการทุจริตคอรัปชั่น แต่การบริหารการจัดการที่ดีควรเน้นให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารที่เป็นเอกลักษณ์ หรือ มีความคล่องตัวสูงในการทำงาน การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นมาที่มีลักษณะเฉพาะกึ่งราชการกึ่งรัฐวิสาหกิจ นำระบบการบริหารเอกชนและส่วนอื่น ๆประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงทางการบริหาร การส่งเสริมศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพราะคน มีความสำคัญต่อการพัฒนาทุก ๆด้าน ต่อการพัฒนาประเทศ
ธัคภัศ ดุละลัมพะ 63423471009
การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ (NPG) เป็นแนวคิดที่ก่อกำเนิดขึ้นบนพื้นฐานของ การดำรงอยู่ของแนวคิดการจัดการภาครัฐแบบดั้งเดิม (Public Administration: PA) และแนวคิด การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) และไม่ใช่กระบวนทัศน์ใหม่หรือ การท้าทายแนวคิดแบบเดิมหรือจะเข้ามาแทนที่แนวคิดทั้งสองที่กล่าวมา แต่ NPG เป็นเครื่องมือ เชิงมโนทัศน์ที่จะช่วยขยายความเข้าใจที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงไปของกระแสสังคมโลกใน ศตวรรษที่ 21 ที่มีความแตกต่างหลากหลายและมีความสลับซับซ้อนของปัญหาและความต้องการ ที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งยังเป็นการเปิดมุมมองให้เห็นถึงสภาพความเป็นจริงของวิธีการปฏิบัติงานของ บุคคลในภาครัฐให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น การมุ่งเน้นแต่เพียงการจัดการที่ดี(Good Governance) (ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ประสิทธิผล ยุติธรรม ความคุ้มค่า การมีส่วนร่วม) ในยุคนี้คงจะไม่เพียงพอกับบริบทและกระแส ของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้สถานการณ์ที่ปัญหาความซับซ้อนของงานสาธารณะที่เพิ่มขึ้น อย่างมาก และปัญหาข้อจ ากัด ทางด้านทรัพยากรของภาครัฐเอง รวมทั้งความเข้มแข็งและ ความกระตือรือร้นของภาคประชาสังคมได้ทำให้พื้นที่สาธารณะกำลังเปิดกว้างต่อการมีส่วนร่วมจาก ภาคส่วนต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ส่งผลให้NPG เกิดขึ้นเพื่อรองรับต่อปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลง ที่กล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหารจัดการปกครองอันแตกต่างหลากหลาย ซึ่งจำเป็นที่จะต้อง ประสานความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) และตัวแสดงอื่น ๆ การชักจูงให้ แต่ละฝ่ายนำทรัพยากรออกมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของส่วนรวม และการจัดการความขัดแย้ง ที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการร่วมกันทำระหว่างเครือข่ายต่าง ๆ (Loffler, 2005)
นายธนาวุฒิ สีหะนาม 63423471004
แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) เป็นการบริหารงานที่ มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ มีมาตรฐานวัดได้ ใช้กลไกการตลาดเปิดโอกาสในการแข่งขันทั้งภาคเอกชนและภาค ประชาชนในการเข้าร่วมการลงทุนอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ การให้บริการที่ตอบสนองต่อความ ต้องการของประชาชน ดังนั้นเพื่อให้ระบบราชการมีความสอดคล้องกับแนวคิดการปฏิรูประบบราชการ ควรมีลักษณะ คือ รัฐจะมีบทบาทหน้าที่เฉพาะในส่วนที่จ าเป็นจะต้องท าเท่านั้นเพื่อเปิดโอกาสให้ ประชาชนและชุมชนมีบทบาทมากขึ้น มีการบริหารจัดการภายในภาคราชการที่มีความรวดเร็ว คุณภาพสูง และมีประสิทธิภาพ มีการจัดองค์กรที่มีความกะทัดรัดคล่องตัวและปรับเปลี่ยนได้อย่าง รวดเร็ว เน้นการท างานที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือตามลักษณะของการท างานที่ทันสมัย ใช้อุปกรณ์ที่ เหมาะสมต่อการท างาน มีการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณภาพสูง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ท างานมุ่งผลสัมฤทธิ์โดยมีประชาชนเป็นเป้าหมาย มีกลไกการบริหารงานบุคคล ที่หลากหลาย มีระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรมเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเต็มใจ มารับราชการอย่างมืออาชีพ มีวัฒนธรรมองค์กรและมีบรรยากาศในการท างานแบบมีส่วนร่วม มีความโปร่งใส ตรวจสอบได
ในสังคมปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมการเมืองและเทคโนโลยี ล้วนเป็นปัจจัยทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมมีการเปลี่ยนปลงไปจากเดิมมาก พัฒนาการและการเติบโตทางด้าน อุตสาหกรรม เศรษฐกิจและการค้า ทำให้ชุมชนชนบทแบบเดิม ๆ ค่อย ๆ เปลี่ยนสภาพเป็นสังคมเมือง ด้านสังคมวัฒนธรรม มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ ส่งผลกระทบ ทำให้สังคมและวัฒนธรรมมีความซับซ้อนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ความเจริญก้าวหน้าทางสังคมดังกล่าวมีผล ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมายหลายส่วนกลายเป็นปัญหา สาธารณะที่ต้องได้รับการดูแลและการปรับปรุงแก้ไข ชี้ให้เห็นความจำเป็นและความสำคัญของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐ ที่ต้องเข้ามามีส่วนรับผิดชอบเพื่อไม่ให้ปัญหาสาธารณะสร้างความเดือดร้อนและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้น ปัญหาเกี่ยวกับหลักการบริหารสาธารณะจึงเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมาโดยตลอดทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติโดยเฉพาะ ที่เน้นการเชื่อมโยงการบริหารสาธารณะที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน การบริหารสาธารณะแนวใหม่ เป็นเรื่องของการที่รัฐไม่ควรบริหารงานในลักษณะองค์กรธุรกิจแต่เป็นการบริหารงาน ด้วยการยึดหลักประชาธิปไตย เนื่องจากปัญหาในการบริหารงานมีความซับซ้อนและทรัพยากร มีจำนวนจำกัดทั้งยังมีสาธารณชนคอยวิพากษ์การทำงานของข้าราชการอยู่เสมอ หน่วยงานราชการควร ดำเนินการอย่างไรคำตอบในเรื่องนี้อาจไม่ง่าย แต่การยอมรับที่จะทำงานเพื่อบริการสาธารณะอาจเป็นปัจจัยที่ช่วยให้การ ทำงานประสบความสำเร็จได้ สิ่งที่ยังขาดคือหลักการที่จะแสดงถึงผลของการมีค่านิยมของการให้บริการสาธารณะซึ่งที่ผ่านมา มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการทำงานของหน่วยงานราชการอยู่เสมอ การบริการประชาชนจึงเป็นหัวใจสำคัญของการบริหาร สาธารณะ เมื่อประชาชนมีฐานะเป็นพลเมืองและเป็นหุ้นส่วนในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารการทำงานอย่างโปร่งใส การทำงานที่มีการยึดหลักนิติธรรม การมีส่วนร่วม จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
อนึ่ง หลักการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ คือ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือหลัก ธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งองค์การภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจและพยายามที่จะนำมาใช้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ ของการทำงานที่ดีที่สุด การมีธรรมาภิบาลอาจนำไปสู่การมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ได้ในที่สุดและการมีประชาธิปไตยจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศในทางที่สร้างความสงบสุขอย่างต่อเนื่องและสถาพร ตลอดจนนำมาสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ได้โดยสันติวิธี
https://youtu.be/Q9lmczsXa-M
ศิวาวุธ 63423471008
การบริหารประเทศเพื่อให้เกิดความผาสุกแก่ ประชาชนนั้น รัฐบาลมีภาระหน้าที่สำคัญในการ บริหารจัดการและดำเนินงานในหลายๆ ด้าน ท้ังนี้ เพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและช่วย ให้ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ดีข้ึน ซึ่งการบริหารงานด้านเศรษฐกิจด้วยหลักธรรมาภิบาลนั้นรัฐบาล ต้องมีการจัดสรรการใช้ทรัพยากรของ ประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินงานเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และมี การจัดระบบการกระจายรายได้ของประชาชนใน สังคมให้เกิดความ เป็นธรรม (จิตรา อิงคกุล, 2550 : 7-8) อย่างไรก็ตามรัฐบาลในอดีตจนถึงปัจจุบันยัง ไม่สามารถทำให้เป้าหมายสำคัญของประเทศ คือ การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการทำให้ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ท่ีดีขึ้นบรรลุผล สาเหตุสำคัญที่เป็นตัวฉุดร้ังการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศ คือ จุดอ่อนของระบบธรรมาภิบาล (Governance)
พฤทธิ์รวีชื่นศิริ 63423471006
ความหมายของการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่
การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) คือ การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐ โดยน าหลักการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและการแสวงหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการที่มุ่งสู่ ความเป็นเลิศ โดยการน าเอาแนวทางหรือวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหารงานภาครัฐ เช่น การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์การบริหารงานแบบมืออาชีพ การค านึงถึงหลักความคุ้มค่า การ จัดการโครงสร้างที่กะทัดรัดและแนวราบ การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาแข่งขันการให้บริการสาธารณะ การให้ ความส าคัญต่อค่านิยม จรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรมและจริยธรรม ตลอดทั้งการมุ่งเน้นการให้บริการแก่ ประชาชนโดยคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญ
เหตุผลที่ต้องนำแนวคิดการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่มาใช้
1.กระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลให้สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจึงมี ความจ าเป็นอย่างยิ่งส าหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ต้องเพิ่มศักยภาพและความยืดหยุ่นในการ ปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบที่เปลี่ยนแปลงไป 2.ระบบราชการไทยมีปัญหาที่ส าคัญคือ ความเสื่อมถอยของระบบราชการ และขาดธรรมาภิบาล ถ้าภาครัฐไม่ ปรับเปลี่ยนและพัฒนาการบริหารจัดการของภาครัฐเพื่อไปสู่องค์กรสมัยใหม่ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล ก็จะ ส่งผลบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมใน อนาคตด้วย
ดังนั้นการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่( New Public Management) จึงเป็นแนวคิดพื้นฐานของการบริหาร จัดการภาครัฐซึ่งจะน าไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบต่าง ๆ ของภาครัฐและยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรม มีแนวทางในการบริหารจัดการดังนี้
1.การให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน
2.ลดการควบคุมจากส่วนกลางและเพิ่มอิสระในการบริหารให้แก่หน่วยงาน
3.การก าหนด การวัด และการให้รางวัลแก่ผลการด าเนินงานทั้งในระดับองค์กร และระดับบุคคล 4.การสร้างระบบสนับสนุนทั้งในด้านบุคลากร (เช่น การฝึกอบรม ระบบค่าตอบแทนและระบบคุณธรรม) เทคโนโลยี เพื่อช่วยให้หน่วยงานสามารถท างานได้อย่างบรรลุวัตถุประสงค์
5.การเปิดกว้างต่อแนวคิดในเรื่องของการแข่งขัน ทั้งการแข่งขันระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน และระหว่าง หน่วยงานของรัฐกับหน่วยงานของภาคเอกชน ในขณะเดียวกันภาครัฐก็หันมาทบทวนตัวเองว่าสิ่งใดควรท าเอง และสิ่งใดควรปล่อยให้เอกชนท า
หลักการบริหารการเงินการคลังภาครัฐจะแตกต่างจากการบริหารการเงินในภาคเอกชน กล่าวคือ จะต้อง บริหารให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยงานกลางกำกับดูแลและติดตามผล
การบริหารการเงินการคลังเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งดำเนินการผ่านองคกร์ของรัฐหลาย ระดับ ได้แก่ องคกร์บริหารของรัฐบาลกลาง องคกร์บริหารของท้องถิ่น และองคกร์บริหารของรัฐวิสาหกิจ แต่ละองคกร์ ย่อมมีระบบการบริหารการเงิน ของตนเอง ซึ่งแตกต่างกันตามลักษณะขององคกร์และอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ
โครงสร้างระบบการบริหารการเงินการคลังของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการบริหารราชการส่วนกลางหรือการบริหารราชการส่วนภูมิภาค จะเกี่ยวข้องกับเงิน 3 ส่วน คือ
1. เงินที่รับเข้ามาในระบบ
2. เงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ต่อการบริหารงานของรัฐ
3. เงินคงเหลือที่เก็บรักษาไว้สำหรับหมุนเวียนใช้จ่าย ซึ่งการบริหารการเงินของรัฐทั้ง 3 ส่วนดังกล่าว จะต้องเป็นไปตามกรอบที่กฎหมายกำหนดและตามแนวนโยบาย และยุทธศาสตร์ของรัฐบาล กลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการเงินของรัฐบาลกลางเป็น 2 กลุ่ม
1. กลุ่มที่มีหน้าที่หาและใช้จ่ายเงิน หมายถึง ส่วนราชการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่กฎหมายกำหนดให้ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บเงินจากประชาชนแทนรัฐบาล และใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ได้แก่ ส่วนราชการซึ่งเป็นส่วน ราชการเจ้าของงงบประมาณ ส่วนราชการผู้เบิก และหน่วยงานย่อย
2. กลุ่มที่มีหน้าที่ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ ควบคุมดูแลและติดตามประเมินผลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและ การเงิน หมายถึง ส่วนราชการที่กฎหมายกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ พิจารณาอนุมัติ ควบคุมดูแลและติดตามประเมินผลทางด้านการเงินและการปฏิบัติงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
การบริหารการเงินการคลังในระดับส่วนราชการ ประกอบด้วยเรื่องสำคัญ ๆ 4 เรื่อง คือ
1. การงบประมาณ เป็นแหล่งเงินที่สำคัญที่สุดของส่วนราชการ โดยในแต่ละปีงบประมาณส่วนราชการจะต้องยื่นคำ ของบประมาณไปยังสำนักงบประมาณ เพื่อรวบรวมจัดทำเป็นรายละเอียดประกอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยงบประมาณที่ยื่นขอไปนั้น จะต้องมีแผนงาน โครงการรองรับ โดยแผนงานและโครงการดังกล่าวจะต้องอยู่ในแผนบริหาร ราชการที่สอดคล้องกับแผนบริหารราชการของกระทรวงเจ้าสังกัด และแผนบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล รวมทั้งจะต้อง แสดงตัวชี้วัด ผลผลิตและผลลัพธ์ที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการประเมินผลความคุ้มค่าของการใช้จ่ายเงินและการบรรลุผล สำเร็จตามที่กำหนดไว้ ตามหลักการบริหารงบประมาณแบบมุ้งเน้นผลงาน
2. การเงิน ได้แก่
2.1 การจ่ายเงิน งบประมาณที่ส่วนราชการได้รับจัดสรรจากสำนักงบประมาณเป็นเพียงกรอบวงเงินที่มีไว้สำหรับ ใช้จ่ายโดยกำหนดประเภทรายจ่ายไว้อย่างกว้าง ๆ ส่วนราชการจะต้องใช้จ่ายเงินภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับ จัดสรรจากสำนักงบประมาณแล้ว ส่วนราชการยังต้องใช้จ่ายเงินตามหลักเกณฑ์และอัตราค่าใช้จ่ายที่กระทรวงการคลัง กำหนดอีกด้วย เมื่อส่วนราชการได้ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับเรียบร้อยแล้ว และถึงเวลาที่จะต้องจ่าย ชำระเงินให้กับบุคคลภายนอกและผู้มีสิทธิ ส่วนราชการจะต้องทำคำขอเบิกเงินไปยังกรมบัญชีกลาง เพื่อให้ตรวจอนุมัติและ สั่งจ่ายเงินคงคลังที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไปเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของบุคคลภายนอกหรือส่วนราชการเพื่อนำไปจ่าย ให้ผู้มีสิทธิอีกต่อหนึ่ง ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 กำหนด “การจ่ายเงินของส่วนราชการ ให้ใช้ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงิน ซึ่งผู้รับเงินเป็นผู้ออกให้ หรือใบรับรองการจ่ายเงิน หรือเอกสารอื่นใดที่กระทรวงการคลังกำหนด เป็นหลักฐานการจ่าย”
2.2 การรับเงิน ส่วนราชการที่จัดเก็บเงินหรือได้รับเงินไว้เป็นกรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะได้รับตามกฏหมายหรือระเบียบ ข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญาหรือได้รับจากการให้ใช้ทรัพย์สิน หรือเก็บดอกผลจากสินทรัพย์ ของราชการ ส่วนราชการนั้นจะต้องนำเงินดังกล่าวส่งคลังเป็นรายได้แผ่น
2.3 การเก็บรักษาเงิน ส่วนราชการอาจเก็บเงินนอกงบประมาณ เงินรายได้แผ่นดินที่ได้รับไว้จากบุคคลภายนอก และเก็บเงินงบประมาณที่เบิกจากคลังไปแล้วแต่ยังไม่ได้จ่ายไว้ได้ชั่วคราว ภายในระยะเวลา วงเงิน และหลักเกณฑ์ที่ กระทรวงการคลังกำหนด โดยระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 ข้อ 97
(1) เช็ค ดร๊าฟท์ หรือตั๋วแลกเงิน ให้นำส่งหรือนำฝากในวันที่ได้รับหรืออย่างช้าภายในวันทำการถัดไป
(2) เงินรายได้แผ่นดิน ให้นำส่งอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง แต่ถ้าส่วนราชการใด มีเงินรายได้แผ่นดินเก็บ รักษาในวันใดเกินหนึ่งหมื่นบาท ก็ให้นำเงินส่งโดยด่วนแต่อย่างช้าต้องไม่เกินสามวันทำการถัดไป”
(3) เงินเบิกเกินส่งคืน หรือเงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน ให้นำส่งภายในสิบห้าวันทำการ นับจากวันรับเงิน จากคลังหรือนับจากวันที่ได้รับคืน
(4) เงินนอกงบประมาณ ให้นำฝากคลังอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง แต่สำหรับเงินที่เบิกจากคลังเพื่อรอ การจ่าย ให้นำฝากคลังภายในสิบห้าวันนับจากวันรับเงินจากคลัง
3. การพัสดุ การใช้จ่ายเงินบางประเภทที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกในลักษณะการซื้อ/จ้าง ส่วนราชการจะต้อง ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการพัสดุ เพื่อเป็นหลักประกันว่า การจัดซื้อจัดจ้างจะเป็นไปด้วยความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โปร่งใส มีหลักฐานและทางราชการได้ของหรืองานที่มีคุณภาพ อย่างแท้จริง
4. การบัญชี กระทรวงการคลัง ได้กำหนดมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐ ตามเกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) เพื่อให้ส่วนราชการนำไปปฏบัติด้วยการนำรายการทางการเงินไปบันทึกบัญชี และสรุปผลเป็นรายงานการเงิน เพื่อแสดงถึง ผลการดำเนินงาน (การใช้จ่ายเงิน) และฐานะการเงินของส่วนราชการ ความสามารถในการใช้สินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์ และต้นทุนการดำเนินงานของส่วนราชการเพื่อประโยชน์ในการตั้งงบประมาณ