จากบทเรียนจากสถานการณ์โควิด-19 ภาวะเศรษฐกิจที่หยุดชะงักและไม่แน่นอน แนวโน้มและความเสี่ยงในอนาคต ผู้เขียนเชื่อว่าลำดับความสำคัญสูงสุดที่เราควรคำนึงถึงในการวางยุทธศาสตร์ของประเทศในทศวรรษหน้า คือ การให้ความสำคัญสูงสุดกับเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ หรือ Put Human Security First เราจะต้องปรับเปลี่ยนจากการวางเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง ไปสู่ความมั่นคงมนุษย์เป็นตัวตั้ง
ทั้งนี้ การจะขับเคลื่อนอนาคตไทยไปได้ เราจะต้องหันกลับมาให้ความสำคัญสูงสุดกับการพัฒนาทุนมนุษย์ (Reinventing in Education and Human Capital) อย่างจริงจัง เพราะการลงทุนมนุษย์และยกระดับคุณภาพการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวหน้าท่ามกลางพลวัตการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เราจะต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มทักษะสำหรับอนาคต การปรับทักษะใหม่และการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้สอดรับกับโลกอนาคตที่อายุขัยของผู้คนสูงขึ้น ความรู้เพิ่มปริมาณขึ้นและมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
แน่นอนว่าพลวัตการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วดังกล่าว ย่อมส่งผลให้ประชาชนบางส่วนตามการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ทำให้ซ้ำเติมปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ หรือผู้ตกขบวนการพัฒนา ดังนั้น เราจะต้องทำให้คำว่าไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Leaving No One Behind) ไม่เป็นเพียงคำพูดที่สวยหรู แต่จะต้องทำให้เกิดขึ้นจริง
ส.ท.พุทธิพงศ์ ดีเบา รหัสนักศึกษา 64423471251 การเปลี่ยนแปลงของการบริหารการพัฒนาตามสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่าง ๆจากอดีตสู่ปัจจุบัน ตอบ การพฒันาการบริหาร หมายถึงการจดัเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูป สภาพแวดล้อมนิเวศวิทยาโครงสร้างกกระบวนการรวมถึงเทคโนโลยีและพฤตกิรรมการบริหาร การบริหารการพฒันาหมายถึงความสามารถในการลงมือปฏิบตัิตามนโยบายแผน แผนงานโครงการหรือกิจกรรมพฒันาจริงๆเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ ลว่ งหน้า ซงึ่ เน้นความเจริญเตบิ โตทางการบริหาร องค์ประกอบของการบริหารการพฒันา การบริหารการพฒันาจะมีองค์ประกอบหลกัๆอยู่2ประการคือองค์การพฒันาการ บริหารและองค์ประกอบการบริหารการพฒันาโดยแตล่ะองค์ประกอบหลกันีจ้ะมีองค์ประกอบรอง อีกด้วย 1.องค์ประกอบหลกัการพฒันาการบริหารหมายถึงการจดัเตรียมเปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือปฏิรูปสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา รวมถึงเทคโนโลยี พฤตกิ รรมการบริหาร 2.องค์ประกอบหลกัการบริหารเพื่อการพฒันา(DevelopmentofAdministration) หมายถึงการนาเสนอสมรรถนะหรือความสามารถที่มีอยใู่นระบบบริหารมาลงมือปฏิบตัติาม นโยบายแผนแผนงานโครงการหรือกิจกรรมพฒันาจริงๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ว่า แผนไว้ลว่งหน้า สภาพแวดล้อมของการบริหารการพฒั นา หมายถึง สิ่งที่เป็นรูปธรรมนามธรรมทงั้ ภายนอก ภายในและรอบๆองค์การและสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมดงักลา่วนี้มีอิทธิพลเหนือโครงสร้าง กระบวนการและพฤตกิรรมของการพฒันาการบริหารและการบริหารเพื่อการพฒันาหรือในทางที่ กลบักนัสภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมอาจรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม อาจรวมถึงสภาพ ภมูิศาสตร์ประชากรเทคโนโลยีกายภาพและชีวภาพสว่นสภาพแวดล้อมที่เป็นนามธรรมได้แก่ การประดษิฐ์คดิค้นทางสงัคมอนัรวมถึงสหภาพแรงงานกลมุ่ผลประโยชน์อดุมการณ์อารยธรรม ธุรกิจ บรรษัท ปัจเจกบคุ คล ระบบการเมือง เศรษฐกิจ เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การบริหารการพัฒนาเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ “การบริหารงานภายนอก” (external administration) หรือต้องเกี่ยวข้องกบั ปัจจยั ภายนอกองค์การ (externalities) เพื่อโน้มน้าวให้ หนว่ยงานและบคุคลหนัมาสนบัสนนุนโยบายและให้ความร่วมมือในการดาเนินการให้บรรลเุป้าหมายของ การบริหารการพัฒนา ปรากฏเช่นนีส้ ื่อให้เห็นว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา จาเป็นต้องเข้าไปมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสภาพแวดล้อม นั่นคือ หน่วยงานเหล่านีจ้ ะได้รับผลกระทบจาก สิ่งแวดล้อม และสภาพแวดล้อมเองก็จะได้ รับผลกระทบจากการบริหารการพัฒนาของหน่วยงานด้วย เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีความสาคญัตอ่การบริหารการพฒันาและการบริหารการพฒันามีความสาคญั ตอ่สภาพแวดล้อมดงั่กลา่วแล้ว
นาย นนทพัทธ์ จิตตคาม 65423471148
แนวโน้มการบริหารของไทยในอนาคตอาจแลดูแล้วจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงระบบต่างต้องใช้เวลาในการประชุมหารือ ระบบเศรษฐกิจของไทยนั้นดูแล้วอาจจะต้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนั้นเข้ามาดูแลในส่วนนี้ ระบบอื่นก็เช่นเดียวกัน การบริหารของไทยยังคงขาดผู้นำที่จะหารือความเป็นประชาธิปไตยกับผู้คนหมู่มากหากฟังความคิดเห็นของคนหมู่มากอาจจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ระบบงานหากเรามาประชุมหรือมองในส่วนที่ต้องแก้ไขอาจจะเป็นในทางที่เห็นสมควร ถ้าจะให้มองว่าการบริหารในไทยอนาคตจะเปลี่ยนแปลงได้ไหม มองว่าเปลี่ยนได้ถ้าเอาสิ่งที่ต้องแก้ไขมาประชุมหารือกันคับ
นางสาวอังจิรา กองศรีมา
รหัสนักศึกษา65423471173
แนวโน้มของรูปแบบการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคต น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
ตอบ:แนวโน้มการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยีดิจิทัล จะต้องมีการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมคือ การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ การรู้จักทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ มีประสิทธิภาพและมีผลต่อการพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น มีปัจจัยที่ส่งผลถึงอนาคตของไทยว่าจะไปในทางที่ดีขึ้น ถ้าการพึ่งตัวเองในทางการเงินผันตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ มีการสร้างเงินออมภายในประเทศเพียงพอแก่การลงทุน โดยไม่พึงเงินทุนจากต่างประเทศ ปัญหาความยากจนจะลดลงเมื่อมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความอยู่รอดในด้านอาชีพ รายได้ และวิถีชีวิตของประชาชน มีการวางแผนตามระยะเวลา 3 ระยะ คือ ระยะยาวมีการคาดการณ์ในเวลา 10-15 ปี เป็นการวางแผนแบบมองการณ์ไกล ระยะกลางมีการคาดการณ์ 3-5 ปีเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ระยะสั้นใช้เวลา 1 ปีเน้นการลงทุนสร้างปัจจัยพื้นฐาน ให้มีความเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รัฐให้การสนับสนุนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนให้ตลาดมีการเสรี มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม สร้างความสมดุลภายในประเทศ การพัฒนาทางการเมืองคือ การที่ประเทศมีองค์กรการปกครองที่เป็นระเบียบ มีเหตผุลให้ความเสมอ ภาคเสรีภาพและความร่มเย็นแก่ประชาชนส่วนใหญ่ ทั้งในเรื่องบทบาทของรัฐ มีผลต่อการบริหารการพัฒนาในอนาคตที่เติบโตสู่ยุคที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพพื้นฐานของประเทศ การพัฒนาทางสังคมเปิดโอกาสให้สังคมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจสาธารณะเพื่อลดการขัดแย้งของประชาชนที่มีกลุ่มฐานะแตกต่างกัน มีการกระจายอำนาจเพื่อทั่วถึงและมีประสิทธิภาพสูงสุด ให้คนได้พัฒนาความเป็นคนอย่างเสมอภาคและกว้างขวาง เช่น การให้บริการทางการแพทย์ ให้บริการด้านสาธารณสุขมูลฐานอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะเขตชนบท การส่งเสริมการศึกษาพัฒนา วางแผนการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของกำลังคน การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมเพื่อสังคมอื่นๆ ถ้าการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นการบริหารการพัฒนาของไทยก็จะมีความสมดุล และเสถียรภาพในทุกๆด้าน เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ประชาชนอยู่ดีกินดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แต่ถ้าเกิดความล้มเหลวในด้านใดด้านหนึ่งก็จะส่งผลเสียไม่เป็นไปตามเป้าหมายมีผลกระทบกับทุกด้าน
วิศวะ โพธิ์รักษา 65423471122
แนวโน้มรูปแบบการบริหารพัฒนาของไทยในอนาคต
ระบบการเมืองไทยจะยังคงถูกครอบงำโดยระบบราชการ เนื่องจากระบบราชการจะมีบทบางอย่างยิ่งในการเข้ามารับผิดชอบแก้ไขปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ส่วนนักวิชาการหรือผู้ชำนาญการจะมีบทบาทสำคัญในทางอ้อม ในการกำหนดนโยบายและวางแผนแก้ปัญหาของสังคมให้กับรัฐบาล โดยมีฝ่ายทหารที่มีความรู้ความสามารถนอกเหนือจากการทหารเข้ามารับผิดชอบกิจกรรมของบ้านเมืองร่วมกับนักวิชาการหรือผู้ชำนาญการจากฝ่ายข้าราชการพลเรือน
ในอนาคตจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้กันมากยิ่งขึ้นซึ่งจะขับเคลื่อนด้วย 3 เทคโนโลยีหลัก คือ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยควัสดุ และนาโนเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตจะเป็นปัจจัยพื้นฐานในชีวิต
สังคมของประเทศไทยในอนาคตจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยต้องมีการวางแผนดูแลผู้สูงอายุด้านสุขภาพและเงินออมหลังเกษียณที่ไม่เป็นภาระต่อคลังของรัฐ แนวโน้มการกระจายโอกาสทางการศึกษาทั่วถึงดีขึ้นเเต่การผลิตและพัฒนากำลังคนสายอาชีพลดลง ชีวิตความเป็นอยู่จะในเมืองมีเเนวโน้มสูงขึ้น เป็นแหล่งรองรับแรงงาน
แต่เเนวโน้มรูปแบบการบริการพัฒนาของประเทศไทยอาจมีการพัฒนาได้น้อยหากการบริหารจัดการประเทศยังเป็นของรัฐบาลชุดเดิมอยู่ประเทศไทยประชาชนจะมีความยากจนลง จากโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่พัฒนา ขาดการลงทุนจากต่างชาติ การใช้จ่ายภาครัฐที่ไร้ประสิทธิภาพ วนกลับมาที่ค่าจ้างแรงงานที่หดตัวลงไปเรื่อย ๆ เงินเฟ้อ ข้าวของมีราคาแพงขึ้นใน๘ณะที่ค่าเเรงของประชาชนเท่าเดิม ค่าแรงถูกรัฐบาลเอื้อนายทุนมากกว่าชนชั้นกลางและชนชั้นแรงงานสังเกตได้จากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีคนตกงานและค่าใช้จ่ายสิ่งของแพงมากขึ้นแต่รัฐยังคงบริหารแบบเดิมถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงนายกขึ้นมารักษาการแทนแต่การบริหารก็ยังคงเป็นการบริหารของรัฐบาลชุดเดิมที่ยังคงไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้จึงเป็นเรื่องที่ยากหากในอนาคตประเทศไทยจะสามารถพัฒนาไปในทางที่ดีมากกว่าปัจจุบัน
นายนนทกร บุญขันธ์ 65423471153 แนวโน้มของรูปแบบการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคต น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ตอบ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีกำลังรุดหน้าอย่างรวดเร็ว เกิดการยกระดับจากอินเทอร์เน็ตมาสู่การปฏิวัติบล็อกเชน จากการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่มาสู่ระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งกำลังทำให้การติดต่อสื่อสารที่เชื่อมโลกเข้าด้วยกันยกระดับไปสู่การแลกเปลี่ยนมูลค่า ระบบอัตโนมัติ และเศรษฐกิจโทเคน พร้อมกันนั้นก็เปิดโอกาสให้ธุรกิจมีโมเดลธุรกิจใหม่ที่หลากหลายแปลกใหม่มากขึ้น ประชาชนก็มีระดับการศึกษาที่สูงขึ้นและมีการตื่นตัวทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองมากขึ้น พัฒนาการดังกล่าวกำลังเกิดขึ้นในอัตราเร่ง ซึ่งส่งผลให้ภาครัฐในหลายประเทศทั่วโลกกำลังพัฒนา "บริการภาครัฐ" ยุคใหม่ ให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ โดยมุ่งไปใน 4 ทิศทางดังนี้ แนวโน้มที่ 1 คือแนวโน้มการบูรณาการข้ามหน่วยงาน (Seamless Government) ซึ่งเกิดจากหลักการการให้บริการโดยให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง แนวโน้มที่ 2 คือแนวโน้มของการใช้การทดลองและใช้ปัญญาจากมหาชน (Experiment and Crowdsourcing Services) เพื่อพัฒนาบริการใหม่ เป็นอีกแนวโน้มที่เริ่มเกิดขึ้นไม่นานนัก โดยเน้นการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนและภาคส่วนต่างๆ มาร่วมกันทดลอง แนวโน้มที่ 3 คือ แนวโน้มของการใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนานโยบายและให้บริการกับประชาชน (Data Driven Government Services) แนวโน้มที่ 4 คือภาครัฐแบบเปิดและนวัตกรรมประชาธิปไตย (Democratic Innovation and Open Government) เป็นแนวโน้มที่กำลังขยายตัวทั่วโลก ดังเช่นกรณีของ Decide Madrid แพลตฟอร์มของสเปน เมืองมาดริก ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนที่อาศัยในเมืองมีส่วนร่วมกับเมืองในด้านต่างๆ ทั้งเสนอความคิดเห็น เสนอโครงการ
นาย ทศพร ศิริยอด 64423471008
แนวโน้มรูปแบบการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคต
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีกำลังรุดหน้าอย่างรวดเร็ว เกิดการยกระดับจากอินเทอร์เน็ตมาสู่การปฏิวัติบล็อกเชน จากการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่มาสู่ระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งกำลังทำให้การติดต่อสื่อสารที่เชื่อมโลกเข้าด้วยกันยกระดับไปสู่การแลกเปลี่ยนมูลค่า ระบบอัตโนมัติ และเศรษฐกิจโทเคน พร้อมกันนั้นก็เปิดโอกาสให้ธุรกิจมีโมเดลธุรกิจใหม่ที่หลากหลายแปลกใหม่มากขึ้น ประชาชนก็มีระดับการศึกษาที่สูงขึ้นและมีการตื่นตัวทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองมากขึ้น พัฒนาการดังกล่าวกำลังเกิดขึ้นในอัตราเร่ง ซึ่งส่งผลให้ภาครัฐในหลายประเทศทั่วโลกกำลังพัฒนา "บริการภาครัฐ" ยุคใหม่ ให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ โดยมุ่งไปใน 4 ทิศทางดังนี้
แนวโน้มที่ 1 คือแนวโน้มการบูรณาการข้ามหน่วยงาน (Seamless Government)
แนวโน้มที่ 2 คือแนวโน้มของการใช้การทดลองและใช้ปัญญาจากมหาชน (Experiment and Crowdsourcing Services)
นวโน้มที่ 3 คือ แนวโน้มของการใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนานโยบายและให้บริการกับประชาชน (Data Driven Government Services)
แนวโน้มที่ 4 คือภาครัฐแบบเปิดและนวัตกรรมประชาธิปไตย (Democratic Innovation and Open Government)
นายดนุพร ช่วยชาติ 64423471007
1.แนวโน้มของรูปแบบการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคต น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
ตอบ ในปัจจุบันการบริหารการพัฒนาขององค์กรภาครัฐของประเทศไทยมีหลายปัจจัยเช่น การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี การมีส่วนร่วมทางการเมือง และถือว่าประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากปัจจัยหลายๆด้าน ทั้ง บุคคลากร ที่ไม่ปรับตัวตามแผนนโยบาย ย่ำอยู่กับที่ ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่ก้าวทันเทคโนโลยี ทำให้หลายๆหน่วยงาน องค์กร ยังไม่ได้เกิดการพัฒนา บางหน่วยงานยังไม่ได้อัพเดทฐานข้อมูลไว้ในแบบดิจิทัล ทำให้ยากหรือลำบากในการค้นหา และบางหน่วยงานที่ยังมีการคอรัปชั่น ระบบอุปถัมภ์ พวกพ้อง แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ดังกรณี ส.ต.ท.หญิงที่มีการใช้เส้นสายฝากเข้ารับราชการ และใช้เส้นสายฝากคนรับใช้เข้ารับราชการ โยกชื่อไปอยู่ชายแดนเพื่อรับค่าเสี่ยงภัย เงินเดือนเพิ่ม แต่ตัวอยุ่ที่ไหนก็ไม่รู้ไปแต่ชื่อ นั่นจึงทำให้การบริหารการพัฒนาของประเทศไทยยังไม่ก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จ มีการรับเงินใต้โต๊ะ เพื่อเบิกทางต่างๆ ถ้าหากว่าในอนาคตประเทศไทยยังไม่มีการปฏิรูปองค์กรเหล่านี้ ผมเชื่อว่าอนาคตของประเทศไทย ไม่ได้เดินไปข้างหน้าแน่ ไม่ได้ย่ำเท้าอยู่กับที่แต่จะเป็นการเดินถอยหลัง ดังนั้นเราจึงต้องมีการบริหารการพัฒนาอย่างจริงจังและปรับเปลี่ยน ให้เข้ากับยุคสมัย 5 G ที่อัพเดทข้อมูลลงบนฐานอินเทอร์เน็ต ประชาชนอยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าถึงหรือยื่นเรื่องทำธุรกรรมกับองค์กรของรัฐด้วย และการทำงานอย่างโปร่งใสที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ และปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริหารอย่างจริงจัง ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม การเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น หรือแสดงออกทางสัญลักษณ์
การให้ความสำคัญกับประชาชนที่มีฐานะยากจน ต้องแก้ปัญหาอย่างจริงจัง การให้โอกาสทางการศึกษา การรักาษาพยาบาล สิทธิพื้นฐานที่ควรจะได้รับ
ระบบทุนนิยม ที่เบียดบัง รายได้ของคนกลุ่มน้อยหรือผูกขาดตลาดไว้ ทำให้ไม่เกิดการกระจายรายได้ คนรวยเป็นหย่อมๆ แต่คนจนมีทั่วหล้า
และปัญหาที่กล่าวมานั้น ประเทศไทยควรมีการปฏิรูปอย่างจริงจัง และกำหนดนโยบายการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง พัฒนาบุคคลากรไม่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว ควรต้องปรับตัวตามยุคสมัย สอนให้ประชาชนหรือบุคคลากร ให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยี การจัดกิจกรรมแสดงการมีส่วนร่วมของประชาชน การออกกฏหมาย ที่จริงจังลงโทษอย่างหนักพวกคอรัปชั่น เด็กเส้นเด็กฝาก และมีเคสตัวอย่าง จะได้ไม่มีใครกล้าทำอีก ถ้าประเทศไทยทำได้ ก็จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้อย่างแน่นอน ในอนาคตอีก10ปี เราอาจจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศไทย เพราะเราจะมีนายกที่มาจากการเลือกตั้งมีความสามารถที่เพรียบพร้อมที่จะบริหารประเทศและนำพาประเทศไปในทาทงที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน แต่ถ้ายังอยู่ในระบบของทหารเหมือนปัจจุบัน ไทยเราถอยหลังลงคลองกลับไปในยุค 2510-2530 แน่นอนครับ
ดังนั้นประเทศของเราจะก้าวไปข้างหน้าได้ จะต้องไม่เพิกเฉยต่อหน้าที่ของตัวเอง ต้องรู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบของตัวเราเองด้วย และถ้าหากแก้ปัญหาเหล่านี้ได้แนวโน้มของประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีการบริหารการพัฒนาได้อย่างดี
นาย พีรพัทธ์ มะลิลา 64423471015
ยุครัฐบาล 5G (กำลังพัฒนา)
วิวัฒนาการบริการรัฐ ระบบบริการภาครัฐ 5.0
ในอนาคตระบบที่มีการติดต่อเชื่อมโยงเอกสารระหว่างหน่วยงานของรัฐทั้งหมด โดยมีการติดต่อกับทางรัฐเพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้น จากนั้นข้อมูลจะทำการเชื่อมต่อ และมีระบบฐานข้อมูลของภาครัฐอันเดียวกัน เช่น
ระบบบัตรประชาชน E-Sim เสียบบัตรเข้าเครื่องสแกนก็สามารถดึงข้อมูลทั้งระบบได้
ระบบจัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงาน หรือเรียกกันว่า “ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์” ทั้งนี้ยังให้ประชาชนติดต่อผ่านทางดิจิทัลโดยตรงกับหน่วยงานได้เหมือนเดิม
ระบบดึงข้อมูล และเข้าระบบโดยมีระดับความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ตามความจำเป็นของแต่ละระดับของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ
การพัฒนาประเทศให้ทันต่อโลกยุคดิจิทัล ที่จะทำให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นทำได้โดยง่าย และการทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการของหน่วยงานของรัฐทำได้โดยง่ายนั้น จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีระบบที่ปลอดภัยรวดเร็ว ทันสมัย ซึ่งแน่นอนรัฐบาลก็ให้ความสำคัญและมีการพัฒนาระบบของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
อนึ่ง ระบบของภาครัฐนั้นเป็นระบบที่ใหญ่ ดังนั้นการปรับปรุงเพื่อให้ทันต่อยุคสมัยในเป็นไปได้ยาก และค่อนข้างใช้เวลาและทรัพยากรค่อนข้างสูง เพื่อตอบคำถามที่ทุกคนมีในใจว่า “ทำไมข้อมูลไม่เชื่อมโยงกัน?” หรือ “ทำไมต้องติดต่อราชการแยกทุกหน่วยงาน ไปที่เดียวไม่ได้เหรอ?” รัฐบาลก็ยังไม่ย่อท้อต่อการปรับปรุงระบบทั้งเพื่อคนทำงานที่ทำให้ทำงานง่าย ไม่เกิดความซ้ำซ้อน ลดกำลังคนทำงานภาครัฐ ในส่วนเอกสารต่างๆ ลง และปลายทางของงานนี้คือ ประชาชนชาวไทย ได้รับบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว ตลอดจนเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในด้านเวลา คุณภาพการเข้าถึงข้อมูล การติดตามตรวจสอบข้อมูลทำให้ง่ายเรียกง่ายๆ ว่า ตอบโจทย์ประชาชนทุกระดับเลยทีเดียว
แน่นอนเรามีความยินดีอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบให้ทันสมัยของทางภาครัฐ บริษัทดังภูมิ มีทีมงานพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์ (Web Design) เว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) และซอฟต์แวร์ (Software) มืออาชีพ เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานขององค์กร และหน่วยงานต่างๆ โดยที่เป็น“ดังภูมิ” (“ดัง” แปลว่า เปรีบบกับ และ “ภูมิ” แปลว่า แผ่นดิน หรือรากฐาน) ดังนั้น “ดังภูมิ” ก็คือ เปรียบเสมือนกับเป็นฐานรากของการดำเนินกิจการขององค์กร และหน่วยงานต่างๆของทางภาครัฐ
นางสาว วิชญาดา หัสดำ 65423471158 แนวโน้มในอนาคตนั้นมีหลายปัจจัยเป็นอย่างมากเทคโนโลยีกำลังรุดหน้าอย่างรวดเร็วเกิดการยกระดับทำให้การติดต่อสื่อสารที่เชื่อมโลกเข้าด้วยกันยกระดับ เราได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในอนาคตของประเทศไทยให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงโดยมุ่งไปใน4ทิศทางดังนี้
แนวโน้มที่ 1 คือแนวโน้มการบูรณาการข้ามหน่วยงาน ซึ่งเกิดจากหลักการการให้บริการโดยให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people centric) ตัวอย่างที่โดดเด่นคือความริเริ่ม กระทรวงความเป็นไปได้ (Ministry of Possibilities) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งได้เปิดตัวกระทรวงความเป็นไปได้แห่งแรกของโลก ในลักษณะกระทรวงเสมือนที่ไม่มีรัฐมนตรีเป็นของตัวเอง แต่ถูกนำโดยคณะรัฐมนตรีแทน แนวโน้มที่ 2 คือแนวโน้มของการใช้การทดลองและใช้ปัญญาจากมหาชน เพื่อพัฒนาบริการใหม่ เป็นอีกแนวโน้มที่เริ่มเกิดขึ้นไม่นานนัก โดยเน้นการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนและภาคส่วนต่างๆ มาร่วมกันทดลองและเสนอนวัตกรรมในบริการภาครัฐ ผ่านห้องปฏิบัติการบริการภาครัฐ (government lab) หรือแพลตฟอร์มการทดลอง และกระบะทราย (sandbox) ต่างๆระดมความคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหาความท้าท้ายของประเทศ แนวโน้มที่ 3 คือ แนวโน้มของการใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนานโยบายและให้บริการกับประชาชน ซึ่งเราจะเห็นได้จากตัวอย่างการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อบริหารจัดการโค วิด-19 วิเคราะห์การเคลื่อนย้ายของคน และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยผ่านข้อมูลรายบุคคลรวบรวมข้อมูลจากแพลตฟอร์มต่างๆตอบสนองธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวโน้มที่ 4 คือภาครัฐแบบเปิดและนวัตกรรมประชาธิปไตย เป็นแนวโน้มที่กำลังขยายตัวทั่วโลก ดังเช่นกรณีของ Decide Madrid แพลตฟอร์มของสเปน เมืองมาดริก ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนที่อาศัยในเมืองมีส่วนร่วมกับเมืองในด้านต่างๆ ทั้งเสนอความคิดเห็น เสนอโครงการ โหวตนโยบายและกฎหมาย และที่สำคัญคือสามารถมีส่วนร่วมกับงบประมาณของเมืองได้
นางสาว สิริวิมล คงเกษม 65423471136
แนวโน้มที่ 1 คือแนวโน้มการบูรณาการข้ามหน่วยงาน (Seamless Government) ซึ่งเกิดจากหลักการการให้บริการโดยให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people centric) ตัวอย่างที่โดดเด่นคือความริเริ่ม กระทรวงความเป็นไปได้ (Ministry of Possibilities) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งได้เปิดตัวกระทรวงความเป็นไปได้แห่งแรกของโลก ในลักษณะกระทรวงเสมือนที่ไม่มีรัฐมนตรีเป็นของตัวเอง แต่ถูกนำโดยคณะรัฐมนตรีแทน
แนวโน้มที่ 2 คือแนวโน้มของการใช้การทดลองและใช้ปัญญาจากมหาชน (Experiment and Crowdsourcing Services) เพื่อพัฒนาบริการใหม่ เป็นอีกแนวโน้มที่เริ่มเกิดขึ้นไม่นานนัก โดยเน้นการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนและภาคส่วนต่างๆ มาร่วมกันทดลองและเสนอนวัตกรรมในบริการภาครัฐ ผ่านห้องปฏิบัติการบริการภาครัฐ (government lab) หรือแพลตฟอร์มการทดลอง และกระบะทราย (sandbox) ต่างๆ
แนวโน้มที่ 3 คือ แนวโน้มของการใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนานโยบายและให้บริการกับประชาชน (Data Driven Government Services) ซึ่งเราจะเห็นได้จากตัวอย่างการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อบริหารจัดการโควิด-19 วิเคราะห์การเคลื่อนย้ายของคนและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยผ่านข้อมูลรายบุคคล
แนวโน้มที่ 4 คือภาครัฐแบบเปิดและนวัตกรรมประชาธิปไตย (Democratic Innovation and Open Government) เป็นแนวโน้มที่กำลังขยายตัวทั่วโลก ดังเช่นกรณีของ Decide Madrid แพลตฟอร์มของสเปน เมืองมาดริก ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนที่อาศัยในเมืองมีส่วนร่วมกับเมืองในด้านต่างๆ ทั้งเสนอความคิดเห็น เสนอโครงการ โหวตนโยบายและกฎหมาย และที่สำคัญคือสามารถมีส่วนร่วมกับงบประมาณของเมือง (Participatory Budgeting) ได้
แนวโน้มในอนาคตนั้นมีหลายปัจจัยเป็นอย่างมาก เราได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในอนาคตของประเทศไทย คิดว่าในอนาคตภาครัฐแบบเปิดและนวัตกรรมประชาธิปไตย เป็นแนวโน้มที่กำลังขยายตัวทั่วโลก ประชาชนสามารถมีส่วนร่วม ทั้งเสนอความคิดเห็น เสนอโครงการ โหวตนโยบายและกฎหมาย และที่สำคัญคือสามารถมีส่วนร่วมกับงบประมาณของเมืองได้หรือกรณีแพลตฟอร์ม CitizenLab ที่ทำงานร่วมกับรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่าร้อยแห่งใน 9 ประเทศทั่วโลก ได้สร้างเครื่องมือที่ช่วยให้รัฐบาลรับฟังความคิดเห็นของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและตัดสินใจได้เหมาะสมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนโยบาย มาตรการ หรืองบประมาณ ปัจจุบัน เรากำลังอยู่ในศตวรรษที่ 21 และกำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สามในศตวรรษใหม่นี้แล้ว ภาครัฐที่เคยใช้โมเดลการทำงานแบบในศตวรรษที่ 20 จำเป็นจะต้องสลัดของเดิมที่ใช้การไม่ได้และไม่เข้ากับยุคใหม่ออกไป แล้วปรับโฉม ยกเครื่อง เปลี่ยนตัวเองใหม่ให้เข้ากับโลกยุคใหม่ เพื่อจะได้เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยใหม่นี้ได้อย่างยั่งยืน
นางสาว ลลิตา สุพรรณ 65423471177
ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ซึ่งส่งผลเป็นแรงผลักดันให้องค์กร ต่าง ๆ ท้ังภาครัฐและเอกชนต้องมีการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง ๆ ท้ังในเชิง รูปแบบ วิธีการดาเนินงานขององค์การเพื่อให้องค์การอยู่รอด เจริญเติบโตและพัฒนาสู่การแข่งขันได้ ในระดับต่าง ๆ สาหรับการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรภาครัฐ เป็นการรับมือกับสถานการณ์ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การอย่างเป็นระบบ เพื่อให้องค์การอยู่รอดและเพิ่มขีด ความสามารถขององค์การ และพัฒนาให้บรรลุผลลัพธ์ท่ีต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ดังน้ันการ บริหาการเปล่ียนแปลงขององค์กรภาครัฐจึงมีความสาคัญทั้งต่อผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานและประชาชน ผู้มาใช้บริการ
1. แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่
การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New public Management) เป็นกลุ่มแนวคิดท่ีได้รับการ นามาปรับใช้ในการบริหารภาครัฐต้ังแต่ยุคทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา โดยเริ่มต้นในประเทศสหราช อาณาจักร นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ซึ่งคริสโตเฟอร์ ฮูด (Christopher Hood, 1991 : 187) ได้นามาใช้เป็นคร้ังแรก ได้อธิบายว่า การจัดการภาครัฐแนวใหม่นี้มีจุดเน้นท่ีสาคัญคือ การปฏิรูป การบริหารงานภาครัฐเนื่องจากมีแนวความคิดที่ว่า รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแบบด้ังเดิม (A Traditional Model of Public Administration) กล่าวคือการบริหารจัดการภาครัฐในแบบ ระบบราชการ ซึ่งมีสายการบังคับบัญชาท่ีตายตัว ไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถตอบสนองต่อบริบทการ เปลี่ยนแปลงของสังคมและความต้องการของประชาชนได้อย่างเพียงพอ นอกจากน้ี ฮิวจ์ (Hughess, 1998 : 52) ได้กล่าวว่า จากสภาพข้อจาดัดของระบบการบริหารภาครัฐ จาเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน โดยต้องมีการเอาแบบความคิดเสรีนิยมใหม่ที่มุ่งลดบทบาทอานาจหน้าท่ีของรัฐให้น้อยลง โดยให้ ภาคเอกชนและประชาชนได้มีบทบาทในการพัฒนาร่วมกับภาครัฐมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้นาเอา แนวความคิดและเทคนิคการจัดการของภาคเอกชนท่ีได้ใช้แล้วประสบความสาเร็จมาใช้ในภาครัฐ เพื่อ ปรับปรุงประสิทธิภาพการทางานของภาครัฐด้วย
ทั้งนี้ นักวิชาการที่จัดอยู่ในกลุ่มการจัดการภาครัฐแนวใหม่นอกจากคริสโตเฟอร์ ฮูด (Christoper Hood) แล้ว ยังมี คริสโตเฟอร์ โพลิท (Christopher Pollitt) ไมเคิล บาร์ซีเลย์ (Michael Barzeley) ปีเตอร์ โอคอยน์ (Peter Aucoin) เดวิด ออสบอรน และ เทด แกเบลอ (David Osborn & Ted Gaebler)
นาย ณัฐวุฒิ เดอเลาะฮีม64423471021
การบริหารการพัฒนาที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจให้ประเทศ เจริญเติบโตเป็นหลักใหญ่ โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมและพัฒนาการเมืองควบคู่ไปด้วยกัน นั้น จะเป็นที่ยอมรับและแพร่หลายในประเทศที่กำลังพัฒนาและโลกที่สามก็ตาม แต่การพัฒนา ดังกล่าวก็มีปัญหาตามมาด้วยในเวลาต่อมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจตกต่า ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน ฯลฯ ดังนั้น ประเทศต่างๆ ที่พัฒนาแล้ว รวมท้ังประเทศไทย ตระหนักถึงปัญหา และพยายามหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ โดยการนาแนวคิดทฤษฎีเคนส์ ซึ่งเป็นแนวคิดใน ทฤษฎีกระแสหลักของการบริหารการพัฒนาที่มีผู้ศึกษานำมาอธิบายและเสนอแนวทางในการแก้ไข ปัญหาได้ เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่สามารถนาวิธีการมากระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาครัฐเข้าควบคุมกลไก ตลาด จากัดบทบาทภาคเอกชน ลงทุนสร้างงานให้เกิดการหมุนเวียนระบบตลาดเงิน ตลาดทุน ภายในประเทศ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าต่อไป แต่ก็ยังไม่ได้ดีเท่าที่ควร.
อภิวัฒน์ เจริญหลาย 64423471011
จากบทเรียนจากสถานการณ์โควิด-19 ภาวะเศรษฐกิจที่หยุดชะงักและไม่แน่นอน แนวโน้มและความเสี่ยงในอนาคต ผู้เขียนเชื่อว่าลำดับความสำคัญสูงสุดที่เราควรคำนึงถึงในการวางยุทธศาสตร์ของประเทศในทศวรรษหน้า คือ การให้ความสำคัญสูงสุดกับเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ หรือ Put Human Security First เราจะต้องปรับเปลี่ยนจากการวางเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง ไปสู่ความมั่นคงมนุษย์เป็นตัวตั้ง
ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ทั้งด้านปริมาณ คุณภาพ ความปลอดภัยและการเข้าถึง
ความมั่นคงทางสุขภาพ (Health Security) ที่จะต้องทำให้เกิดศักยภาพของระบบสาธารณสุข บุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งประชาชนมีทักษะสุขภาพสูง (Health Literacy)
ความมั่นคงพลังงาน (Energy Security) ทั้งการจัดหาพลังงาน การเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริโภคพลังงาน และ
ความมั่นคงทางอาชีพ (Job Security) ที่เราจะต้องยกระดับทักษะให้คนวัยทำงาน ลงทุนสร้างตำแหน่งงานใหม่ ออกแบบระบบตาข่ายทางสังคมใหม่ให้รองรับแรงงานอิสระและนอกระบบ หรือผู้ที่อาจถูกทดแทนโดยระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์
ในด้านเศรษฐกิจ อนาคตไทยควรจะเปลี่ยนจากการมุ่งเน้นการเติบโตของจีดีพีไปสู่การเติบโตที่สมดุลบนจุดแข็งของประเทศ เคารพสิ่งแวดล้อมและมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เราควรเร่งพัฒนาชุดตัวชี้วัดใหม่ให้กับประเทศนอกจากจีดีพี ขับเคลื่อนเครื่องยนต์เศรษฐกิจใหม่ที่สร้างบนจุดแข็งของประเทศและตอบโจทย์ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเศรษฐกิจ BCG ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ก็นับว่าเป็นการเดินถูกทางในเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยจะต้องเร่งปรับตัวเข้าสู่การค้าทางดิจิทัล สังคมไร้เงินสด ยกระดับอุตสาหกรรมสมัยใหม่ สร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจท้องถิ่น และสร้างระบบนิเวศที่ดีเพื่อให้เกิดเครื่องยนต์เศรษฐกิจใหม่ๆ
ทั้งนี้ การจะขับเคลื่อนอนาคตไทยไปได้ เราจะต้องหันกลับมาให้ความสำคัญสูงสุดกับการพัฒนาทุนมนุษย์ (Reinventing in Education and Human Capital) อย่างจริงจัง เพราะการลงทุนมนุษย์และยกระดับคุณภาพการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวหน้าท่ามกลางพลวัตการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เราจะต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มทักษะสำหรับอนาคต การปรับทักษะใหม่และการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้สอดรับกับโลกอนาคตที่อายุขัยของผู้คนสูงขึ้น ความรู้เพิ่มปริมาณขึ้นและมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
แน่นอนว่าพลวัตการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วดังกล่าว ย่อมส่งผลให้ประชาชนบางส่วนตามการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ทำให้ซ้ำเติมปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ หรือผู้ตกขบวนการพัฒนา ดังนั้น เราจะต้องทำให้คำว่าไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Leaving No One Behind) ไม่เป็นเพียงคำพูดที่สวยหรู แต่จะต้องทำให้เกิดขึ้นจริง
เราควรวางนโยบายเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนยากจนและกลุ่มเปราะบางมากที่สุด เน้นการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำที่ยั่งยืน เปลี่ยนคนด้อยโอกาสให้กลายเป็นผู้ได้โอกาส และมีศักยภาพในด้านเศรษฐกิจและสังคม เราสามารถใช้มาตรการแก้จนอย่างตรงจุด (Targeting Poverty Eradicate) การปรับระบบสวัสดิการให้ครอบคลุมและออกแบบสวัสดิการใหม่ให้ตอบโจทย์อนาคต เราควรพัฒนาระบบช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน มีระบบการลงทะเบียนแห่งชาติที่ไม่ยุ่งยากและซ้ำซ้อน และสร้างกลไกการช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤติได้อย่างรวดเร็ว
สุดท้ายแล้ว เราควรสร้างสังคมที่น่าอยู่เป็นสังคมเปิดและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง (Open & Resilient Society) เพื่อพร้อมเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายต่างๆ เราจะต้องสร้างระบบข้อมูลเปิดและรัฐบาลที่โปร่งใส ลดกฎระเบียบ กระจายอำนาจ และใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มใหม่ทั้ง GovTech และ CivicTech รวมถึง Democratic Innovation ในการส่งเสริมนวัตกรรมประชาธิปไตย
การสร้างความเป็นพันธมิตรของภาครัฐ เอกชน ประชาชน เปิดโอกาสให้ใช้พลังภูมิปัญญาทั้งสังคมพัฒนาชาติ ผ่าน Open Collaboration Platform ใหม่ๆ และภาครัฐจะต้องสร้างผู้ประกอบการใหม่ในกลุ่ม 3S คือ สตาร์ทอัพ (Startup) เอสเอ็มอียุคใหม่ (SMEs) และผู้ประกอบการสังคม (Social Enterprise) ให้เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาสังคม
10 ปีข้างหน้าจึงเป็นห้วงเวลาสำคัญที่มีโอกาสและความท้าทายรออยู่มากมาย เราจะไปลงเอยอยู่ ณ จุดไหนในปี 2030 ก็ขึ้นอยู่กับพลังของพวกเราทุกคน
น.ส. พิชญา เพชรดิน 64423471003
แนวโน้มของรูปแบบการบริหารพัฒนาของไทยในอนาคต น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางทิศใด
การพัฒนาประเทศส่วนใหญ่เป็นท่ียอมรับกันว่าองค์ประกอบที่สาคัญของการบริหารการ พัฒนา คือ การมุ่งเน้นถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจให้มีความเจริญเติบโตเป็นหลักใหญ่ ดังจะเห็นได้ในประเทศท่ีกาลังพัฒนาที่เปลี่ยนประเทศให้มีความทันสมัยและกลายเป็น ประเทศอุตสาหกรรม การบริหารการพัฒนาโดยท่ัวไป แล้วเป็นการวางแผนเพื่อให้เกิดความเจริญเติมโตทางเศรษฐกิจของประเทศ มีการกาหนดการใช้ ทรัพยากรเพื่อเพิ่มรายได้ประชาชาติ พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ปรับปรุงระบบขนส่ง และการสื่อสารคมนาคม ปฏิรูประบบการศึกษา ระบบราชการ และหน้าท่ีอื่นๆเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของการพัฒนาที่กาหนดไว้ซึ่งต่างกับประเทศที่พัฒนาแล้วท่ีเห็นว่าเศรษฐกิจเป็นเพียง ปัจจัยหนึ่งท่ีจะต้องบริหารเพื่อให้เกิดการพัฒนา เพราะการพัฒนา นั้นจะแบ่งออกเป็นการพัฒนาปัจจัย4ประการ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการ บริหาร
ยกตัวอย่างเช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจของไทย จากข้อมูลล่าสุดของIMF อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2565 จะอยู่ที่ 3.3% เท่านั้น ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอาเซียนเพราะตกต่ำลงมาอยู่ที่อันดับที่ 8 โดยมีอัตราการเติบโตสูงกว่าเพียง 2 ประเทศ คือ ลาว ที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่3.2% ซึ่งใกล้เคียงกับไทย และเมียนมาที่ถูกทหารยึดอำนาจจนเศรษฐกิจตกต่ำสุดขีด และคาดว่าในปี 2565 นี้จะเติบโตเพียง 1.6% ในขณะที่ปี 2564 เติบโตติดลบถึง -17.9% จากที่เติบโตอย่างแรงในช่วงก่อนหน้าการยึดอำนาจนี้จะเห็นได้ว่า ประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่ำกว่าไทยยากจนกว่า มีอัตราการเติบโตสูงกว่าไทยทั้งสิ้น ยิ่งกว่านั้นประเทศที่ร่ำรวยกว่าไทย เช่น บรูไน มาเลเซียและสิงคโปร์ ก็มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าไทยเช่นกันทำให้ช่องว่างระหว่างไทยกับประเทศที่พัฒนาแซงหน้าไทยไปแล้ว มีโอกาสที่จะถ่างห่างออกไปอีกในอนาคต ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ จะยังเติบโตอย่างต่อเนื่องกว่าเมื่อเทียบกับประเทศไทย การนี้แสดงว่าประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจเท่าที่ควร
ดังนั้นสำหรับประเทศไทย หลังโควิด-19 ในปี 2565 นี้ ก็ยังไม่สดใสเท่าที่ควร เพราะจะเติบโตเพียงเล็กน้อยในปี2565 นี้เท่านั้น ซึ่งเท่ากับเติบโตเป็นอันดับที่ 8 ของอาเซียนเท่านั้นเอง
นาย พลวัต ดำรัตนมณี 65423471176
การบริหารเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่นำมาซึ่ง ความสำเร็จโดยเฉพาะการพัฒนากระบวนการหรือวิธีการต่างในสมัย เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลง โลกไร้พรมแดนที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์ การติดต่อสื่อสารไปมาได้เร็ว ความต้องการคุณภาพของสินค้า และบริการของลูกค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการบริหารองค์การ อย่างมากทั้งภาคธุรกิจและระบบราชการ ซึ่งเรียกว่าการบริหาร โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์
การบริหารมุ่งสัมฤทธิ์ผลเป็นเทคนิควิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศณ์และวิธีการบริหารงานให้เปลี่ยนไปจากเดิมให้ความส าคัญต่อ ทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้า (input) เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน โดยหันมาเน้นถึงวัตถุประสงค์ และสัมฤทธิ์ผลของการดำเนินงานทั้งในแง่ของผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) และ ความคุ้มค่าของเงิน (Value for money) รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพและสร้างความพึงพอใจให้แก่ ลูกค้าและผู้บริการ
การดำเนินงานพัฒนาประเทศตามแนวคิดต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว นอกจากจะต้องกระทำอย่าง มีขั้นตอน มีการวางแผน และมีการประสานงานกันเป็นระบบแล้ว ยังต้องกำหนดนโยบายการ ดำเนินงานและการประเมินผลอีกด้วย การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักวิชา ความต้องการ อุปสรรค ทรัพยากร ศักยภาพของผู้กระทำการรวมทั้งสภาพแวดล้อมต่างๆ นักวิชาการบาง คนมีความเห็นว่าปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศมีอยู่ 6 ประการ คือ
1. ความมีเสถียรภาพทางการเมือง
2. มีความคิดริเริ่มในการประดิษฐ์คิดค้น
3. มีประชากรที่มีทักษะ
4. ทรัพยากร
5. มีต้นทุน
6. ได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคจากแหล่งต่างๆ
นาย นนทพัทธ์ จิตตคาม
รหัสนักศึกษา 65423471148/รุ่น52
จากการที่ผมนั้นศึกษาการบริหารและการพัฒนาของประเทศไทยนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปการบริหารในส่วนของระบบราชการไทยในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๕)ซึ่งถ้ามองมาในส่วนปัจจุบันนั้นก็มีการบริหารและพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างจากสมัยก่อนหากเทียบได้ว่าก่อนที่จะมีพลเอก ประยุทธ์ นั้นก็มีการบริหารต่างๆเช่นระบบเศรษฐกิจ การเกร็งราคาข้าวสาร การขายข้าวให้กับต่างประเทศนั้นเป็นอย่าง
ระบบสังคม การเมือง มีการโต้แย้งในเรื่องการจำนำข้าวการทำเรื่องผิดกฏหมาย
ระบบสภาพแวดล้อมทรัพยากรณ์ธรรมชาติมีมากน้อยเพียงใด
ทรัพยากรณ์มนุษย์เป็นเช่นไร
มีระบบการค้าที่เสรีมั้ย ขายของผิดกฏหมายหรือไม่ซึ่งปัญหาของการบริหารแบบนี้ก็ยังมีมาจนถึงปัจจุบัน ความขัดแย้ง การเห็นต่างของบุคคลมากมาย การประท้วงเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ การจำนำข้าวโดยไม่คำนึงถึงเกษตรกร สภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุที่มีต่อรัฐบาล บัตรสวัสดิการรัฐ30บาท บัตรทองใช้ในรพ.
สิทธิประกันสังคม
ในส่วนต่อมาคือการศึกษา เราจะเห็นได้ว่าในระบบการศึกษาก็จะมีหน่วยงานด้านต่างภายในรร.เช่น สภานักเรียน สารวัตรนักเรียน หากมองโดยรวมแล้วประเทศไทยในอนาคตยังคงมองว่าถ้าหาผู้บริหารประเทศไม่รับฟังความคิดเห็นส่วนมากการพัฒนาหรือบริหารก็ยังคงเป็นเช่นเดิมไม่มีอะไรพัฒนา หากนำข้อมูล แนวทางการแก้ไขปัญหานั้นมาร่วมกันเพื่อชี้แจงว่าปัญหานั้นเป็นงี้ ปัญหานี่เป็นงั้นอาจจะพอมีวิธ์แก้ไขอยู่บ้าง ...ขอบคุณครับ
นางสาว พลอยภิญญดา บุญดก 64423471024 เนื่องจากอดีต จนถึงปัจจุบัน หลังจากการเซ็นรัฐประหาร แต่ยังอยู่ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ด้วยการบริหารประเทศจากพลเอก ประยุทธ์ จันโอชา มีการปฏิบัติหน้าที่โดยช่วงแรกมุ่งเน้นผลประโยชน์ส่วนรวม และภายหลังได้มุ่งเน้นผลประโยชน์ให้คนเฉพาะกลุ่ม จนเกิดปัญหาต่างๆตามมาภายหลัง จนปัจจุบันได้มีปัญหาจากการประท้วง เพราะด้วยเหตุผลต่างๆที่ตามมาคือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ย่ำแย่ลงมากขึ้น ทั้งปัญหาจากการคอรัปชั่น จากการเคารพขนบประเพณี ทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์ในสายงานการบริหาร การทำงานบริหารแก้ไข จึงไม่ตรงจุด ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และผู้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดจึงไม่ใช่ประชาชน
ด้านเศรษฐกิจ ถือว่าย่ำแย่ลงอย่างมากข้าวยากหมากแพง ประชาชนทำงานมีรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพตน เพราะสินค้าราคาแพงขึ้น จนเกิดปัญหา ที่คาดไม่ถึง ฆ่าตัวตาย ปล้น ชิงทรัพย์ ลักทรัพย์ ทำให้สังคมอยู่อย่างหวาดกลัวดำรงชีวิตอย่างหวาดระวัง แม้จะมีมาตรการช่วยเหลือ คนละครึ่ง เที่ยวด้วยกัน บัตรประชารัฐ ทั้งนี้ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็คือผู้ค้ารายใหญ่ ผู้ที่รวยอยู่แล้ว เศรษฐกิจจึงไม่ได้พัฒนาไปอย่างที่ควร
ด้านสังคม ทำให้สังคมอยู่อย่างด้อยประสิทธิภาพ ไม่น่าอยู่มากขึ้น ไม่กล้าออกสิทธิเสียงเพื่อร่วมพัฒนาบริหารประเทศ เพราะปัจจุบันยังไม่ได้รับการแก้ปัญหานี้อย่างแท้จริงดูได้จาก สามกีบ และกลุ่มรักชาติ ที่ยังคงมีปัญหาประท้วงจนถึงปัจจุบัน ความเหลื่อมล้ำ ที่แก้ปัญหาให้สังคมเฉพาะสังคมชนชั้นสูง และทุกสังคมชนชั้นกลาง ชนชั้นล่างไม่ได้รับการแก้ปัญหาอย่างครบถ้วน
ด้านการเมือง ยังมีปัญหาการประท้วง ความคิดทางการเมืองที่ไม่สอดคล้องกับปัจจุบัน ในยุคคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการออกสิทธิเสียง ในการบริหารร่วมกัน ประชาชนยุคปัจจุบัน กล้าที่จะออกมาเพื่อรักษาสิทธิผลประโยชน์ที่ควรได้รับของตนเอง แต่ยังคงมีการเอื้อประโยชน์ให้คนกลุ่มตน ได้ดำรงตำแหน่ง จากสว.ที่มาจากตนเอง เพื่อบริหารประเทศตามความต้องการเพียงคนกลุ่มใดกลุ่มนึงอยู่
จากปัญหานี้หากรูปแบบระบบการเมืองในทิศทางข้างหน้า นักศึกษายังมองว่าค่อนข้างที่จะหาทางออกได้ยาก โดยที่ผู้บริหารประเทศคนต่อไปยังไม่มีการทราบได้ว่าจะเป็นใครในอนาคต นักศึกษาจึงเข้าใจว่า สิ่งที่ควรกระทำ และควรจะเป็นไปมีดังนี้
ด้านเศรษฐกิจควรจะมุ่งเน้นผลประโยชน์จากบุคคลชนชั้นกลางและชนชั้นล่างที่มีมากที่สุด เพื่อยกระดับชนชั้งนี้ให้สูงขึ้นรวมถึงชนชั้นล่าง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำจากรายได้ และทำให้เศรษฐกิจได้รับการฟื้นฟูมากยิ่งขึ้น
ด้านสังคม จำเป็นจะต้องแก้ไขในสิ่งที่ประชาชนควรจะได้รับในการดำรงชีวิตถนนหนทางบ้านเรือนที่อยู่อาศัยคุณภาพชีวิตที่เป็นอยู่ในปัจจุบันควรที่จะดีขึ้นอย่างครบถ้วน
ด้านการเมือง ควรจะได้รับการปฏิวัติเป็นอย่างมากเพราะปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่มีความคิดที่ก้าวกระโดดจากคนรุ่นเก่า แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคนรุ่นเก่าจะไม่ควรมีสิทธิออกเสียงหรือร่วมปฏิวัติ แต่เพียงแค่ปรับให้เข้ากับยุคปัจจุบันมากขึ้น เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม
สุดท้ายแล้วในทิศทางที่ควรพัฒนาตามความเห็นของนักศึกษาคือการปฏิวัติในทุกด้านลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเท่าเทียมให้มาก และให้เหมาะกับยุคใหม่ น่าจะมีการเปลี่ยนมากให้ทุกชนชั้นเพราะประชาชนรู้สิทธิที่ควรได้รับของตน
นายธนกฤต แสนเลิศ 65423471194
แนวโน้มของรูปแบบการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคตน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
รูปแบบการบริหารการพัฒนาของไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลงได้นั้นขึ้นอยู่กับระบบบริหาร นโยบายของรัฐบาล การวางแผนงาน หรือ กิจกรรมการพัฒนาต่างๆ เนื่องจากปัจจัยหลักๆของรูปแบบการบริหารการพัฒนา คือ การวางแผน,การจัดการองค์การ,การประสานงาน,การสั่งการและการควบคุม ซึ่งปัจจัยพวกนี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคตได้ ถ้ารัฐบาลเอาปัจจัยเหล่าไปเปลี่ยนแปลงในแต่ละด้าน เช่น ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจและด้านการเมือง การปรับเปลี่ยนวางแผนหรือประสานงานและกระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้นจะทำให้การเปลี่ยนแปลงการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคตไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นการเปลี่ยนแปลงการต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจและปัจจัยอื่นๆรวมถึงงบประมาณอีกด้วย กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคตจะทำให้ไปในทิศทางที่ดีอย่างแน่นอน แต่อีกกรณีหนึ่งถ้ารัฐบาลไม่เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคตก็จะทำให้ไปในทิศทางที่แย่ลงได้
ส.ท. ถิรวุฒิ ไชยคำ รหัสนักศึกษา 64423471018
ตอบ ก่อนอื่น ในการพัฒนาประเทศไทยนั้นแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ระยะหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม และระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งวัตถุประสงค์ในการพัฒนาประเทศ ก็เพื่อบะะลุเป้าหมายในการส้รางชาติให้มีความมั่นคง แข็งแรง ยั่งยืน เพื่อเพิ่มและกระจาบสิง่ที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของคนในประเทศให้สูงขึ้น ด้วยการเพิ่มรายได้ การสร้างงาน จักระบบการศึกษาให้ดีขึ้น สุดท้ายก็เพื่อขยายเศรษฐกิจและสังคมในประเทศชาติให้ดียิ่งขึ้น
แนวโน้มในอนาคตนั้นมีหลายปัจจัยเป็นอย่างมาก ซึ่งกระผมไได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในอนาคตของประเทศไทย
ผมคิดว่าในอนาคตภาครัฐแบบเปิดและนวัตกรรมประชาธิปไตย เป็นแนวโน้มที่กำลังขยายตัวทั่วโลก ดังเช่นกรณีของ Decide Madrid แพลตฟอร์มของสเปน เมืองมาดริก ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนที่อาศัยในเมืองมีส่วนร่วมกับเมืองในด้านต่างๆ ทั้งเสนอความคิดเห็น เสนอโครงการ โหวตนโยบายและกฎหมาย และที่สำคัญคือสามารถมีส่วนร่วมกับงบประมาณของเมืองได้หรือกรณีแพลตฟอร์ม CitizenLab ที่ทำงานร่วมกับรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่าร้อยแห่งใน 9 ประเทศทั่วโลก ได้สร้างเครื่องมือที่ช่วยให้รัฐบาลรับฟังความคิดเห็นของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและตัดสินใจได้เหมาะสมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนโยบาย มาตรการ หรืองบประมาณ
ปัจจุบัน เรากำลังอยู่ในศตวรรษที่ 21 และกำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สามในศตวรรษใหม่นี้แล้ว ภาครัฐที่เคยใช้โมเดลการทำงานแบบในศตวรรษที่ 20 จำเป็นจะต้องสลัดของเดิมที่ใช้การไม่ได้และไม่เข้ากับยุคใหม่ออกไป แล้วปรับโฉม ยกเครื่อง เปลี่ยนตัวเองใหม่ให้เข้ากับโลกยุคใหม่ เพื่อจะได้เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยใหม่นี้ได้อย่างยั่งยืน
นาย กฤษดา ศรีเพ็ชร รหัสนักศึกษา 64423471013
Ans
ในอนาคตการบริหารการพัฒนาของไทยน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางดังต่อไป
1.การพัฒนาประเทศในมิติด้านเศรษฐกิจ : การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคการผลิตเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยนวัตกรรมและมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยต่อยอดอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพและมีความได้เปรียบประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีในการยกระดับผลิตภาพในภาพรวมให้สามารถผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นพร้อมไปกับการสร้างอุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคตที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้ากับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก
2. การพัฒนาประเทศในมิติด้านสังคมและทรัพยากรมนุษย์ : แก้ไขปัญหาความยากจนเรื้อรังและป้องกันการส่งต่อความยากจนข้ามรุ่น โดยเน้นส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาทักษะ อาชีพที่มีคุณภาพแก่เด็กและเยาวชนจากครัวเรือนยากจน พร้อมทั้งพัฒนาหลักประกันและความคุ้มครอง ทางสังคมที่มีการบูรณาการอย่างเป็นระบบ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงในชีวิตให้คนไทยได้รับความคุ้มครอง ทางสังคมอย่างเหมาะสมเพียงพอ สามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้อย่างยั่งยืน ในการแข่งขันทางธุรกิจนั้น มุ่งให้ความสําคัญกับการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถแข่งขันได้และมีการเติบโตที่ยั่งยืน
3.การพัฒนาประเทศในมิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : การเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้างจากการเน้นผลทางเศรษฐกิจระยะสั้นไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ซึ่งการพัฒนา ประเทศในอนาคตจะไม่สามารถแยกประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมออกจากการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและ สังคมได้อีกต่อไป จึงต้องตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนในการมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพื่อลดการใช้วัตถุดิบและลดของเสีย จากกระบวนการผลิต เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพซึ่งทําลายความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ
4.การพัฒนาประเทศในมิติด้านการบริหารจัดการภาครัฐ : พัฒนากลไกทางสถาบันที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและ นําเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการสาธารณะให้มีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพย่ิงขึ้น ร่วมกับการใช้ ข้อมูลและกระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบนโยบายสาธารณะและการกํากับดูแลการดําเนินงานของรัฐ ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสอดรับกับสภาวการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไปได้อย่างฉับไว เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถของประเทศในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภายใต้บริบทโลกใหม
นางจีรภา พิมพา รหัสนักศึกษา 64423471001
แนวโน้มของรูปแบบการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคตน่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
ตอบ การบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคตมีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้ภายรัฐและภาคเอกชนขยายตัวได้อย่างรวดเร็วทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกไปสู่ความเจริญทางสังคม กล่าวคือ ประเทศไทยต้องมีการนำองค์ความรู้ใหม่ที่เรียกว่า “แนวคิดการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่” มาเป็นแนวทางในการปฏิรูปในการบริหารการพัฒนา เพราะแนวคิดนี้เปรียบเสมือนผลิตภัณฑ์เก่าที่นำมาบรรจุหีบห่อใหม่ให้มีความสวยหรู เพื่อดึงดูดความสนใจที่จะจับต้องหรือไปใช้ การคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ภาครัฐของไทยพยายามที่จะนำเอาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับ “การปรับรื้อระบบ” หรือการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม มาใช้เพื่อเป็นกรอบแนวคิดในการกำหนดยุทธศาสตร์การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารและคุณภาพบริการของรัฐ ซึ่งเมื่อมองย้อนไปในอดีตจนถึง วันนี้จะเห็นได้ว่า เมื่อนำแนวคิดทั้งสองมาไม่ส่งผลให้เกิดการปฏิรูประบบและวัฒนธรรมในการบริหารภาครัฐของไทย จากประสบการณ์ในอดีตและเมื่อมองไปในอนาคต ทำให้คาดคิดได้ว่า การปฏิรูปการบริหารการพัฒนาภาครัฐของไทยยังคงต้องดำเนินการต่อไป และประเทศไทยยังจําเป็นที่จะะต้องมีการคิดค้นออกแบบหรือปรับระบบราชการของไทยขึ้นมาใหม่ การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ในสังคมหรือประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ผู้บริหารประเทศหรือผู้บริหารสูงสุดขององค์การภาครัฐจะต้องมีความรับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพราะประชาชนเป็นผู้เลือกผู้บริหารตามระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย หากผู้บริหารตัดสินใจหรือทำอะไรผิดพลาด และเกิดความเสียหายต่อประเทศหรือไม่เป็นที่ถูกใจของประชาชนประชาชนมีสิทธิ์เปลี่ยนผู้บริหาร เมื่อมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง การบริหารในรูปแบบของการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่เป็นการบริหารเชิงระบบ จุดสำคัญและความสำเร็จอยู่ที่การสร้างและบริหารเครือข่ายความร่วมมือในหลากหลายระดับทั้งในแนวตั้ง และแนวราบทั้งระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อนําไปสู่การกำหนดนโยบายและตัดสินใจเชิงนโยบายร่วมกันของทุกภาคส่วนผู้นําและผู้บริหารระดับสูงขององค์การภาครัฐจึงต้องมีวิสัยทัศน์และสามารถมองเห็นปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาในเชิงระบบ อย่างเช่น ปัญหาความเหลื่อมล่ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของคนในประเทศซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมีหลากหลายสาเหตุร่วมกัน นอกจากนั้น ผู้นําและผู้บริหารระดับสูงขององค์การภาครัฐยังจะต้องมองเห็นปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่ไม่จํากัดอาณาเขตเฉพาะ ภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น ปัญหาโลกร้อน ปัญหาอาชญากรรม หรือปัญหาผู้ก่อการร้ายข้ามชาติ เป็นต้น
เกียรติศักดิ์ สีเทา 64423471023
ตอบ แนวโน้มและทิศทางการบริหารสํานักงานในอนาคต
การเปลี่ยนแปรงมากมายในโลกยุคไร้พรมแดน เกิดเหตุการณ์สําคัญดังนี้
1. การบริการที่มีพื้นฐานจากภูมิปัญญา การจัดการอย่างเฉลียวฉลาด มีสติปัญญาดีเลิศ และบริการที่มี ประสิทธิภาพในโลกของการแข่งขัน ถือเป็นการท้าทางการบรหิ ารสูงที่สุด มักพบนวัตกรรมสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ โดยมีเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร(lnformation Technology หรือ IT)
เป็นอุปกรณ์ที่ถูกนํามาใช้ ผ่านคอมพิวเตอร์และการติดต่อสื่อสารที่สําคัญ
2. การผลิตมากเกินไป (Overcapacity) ในบางประเทศมีการผลิตวัตถุดิบ สินค้า หรือ อาหารจํานวน
มากขึ้น มีผลให้ดัชนีราคาต่อค่าจ้างลดน้อยลง ในขณะที่บางประเทศอาจไม่มีอาหารเพียงพอ
ในระยะเวลายาว การปรับปรุงการศึกษาและการบริการที่เพิ่มขนึ้ ช่วยให้เกิดความมั่นคงได้ทั่วโลก และช่วยลด อัตราการเตบิโตของประชากร
3. Software เป็นศูนย์รวมของนวัตกรรมทันสมัยและกิจกรรมทางบริหาร ช่วยอํานวยความสะดวกทุกขั้นตอนการ สร้างคุณค่า และกระบวนการเชิงนวัตกรรม องค์ประกอบที่มีค่าสูงที่สุดในสินค้าคือ Software การปรับปรุงการ บริหาร Software และการใช้ให้เกิดปรโยชน์สูงสุด จะช่วยสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ สร้างความสามารถการแข็งขัน ให้แก่ธุรกิจในอนาคต
4. โลกาภิวัตน์ การจัดหาจากแห่ลงภายนอกและกระจายความรู้ โลกไร้พรมแดนทําให้เกิดการค้าเสรีทั่วโลก ขณะเดียวกันจะเกิดการความรู้ไปทั่วทกุ หนทุกแห่ง โดยเฉพราะการกระจายความรู้ด้านเทคโนโลยี มีแนวโน้ม ก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าทางเศรษฐกิจมากกวา่นวัตกรรมพื้นฐาน
5. อํานาจใหม่และสภาวะการแข่งขันรุนแรง ทุกองค์ประกอบในองค์การสามารถสร้างคุณค่า และผลิตภาพของ งานอิสระเพื่อการแข่งขันได้ทุกกิจกรรม แต่เป็นการแข่งขันไร้รูปแบบ ระบบวัตกรรมที่ยดื หยุ่น อาจเป็นกลยุทธ์ หนง่ึ ทช่ี ว่ ยไดใ้ นโลกการแขง่ ขนั ทท่ี วคี วามเขม้ ขน้ และรนุ แรงเพม่ิ ขน้ึ
วัตกรรมประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้น
1. การสร้างความคิด เปน็ ขั้นตอนเกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์คล้องจองกัน ความเฉลียวฉลาดช่างประดิษฐ์คิดค้น
2. การทดลองเบื้องต้น ความคิดใหม่ต้องถูกตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวกับแนวคดิ เพื่อสร้างคุณค่าการปฏบิ ัติให้มี
ศักยภาพ มีการแบ่งปันความคิดร่วมกับผู้อื่น
3. ศึกษาความเหมาะสม ระบุความเหมาะสมความเป็นไปได้ที่จะนํานวัตกรรมนั้นไปใช้จริง โดยพิจารณารวมถึง เรื่องของต้นทุนและผลประโยชน์
ลักษณะของสํานักงานที่มีนวัตกรรม
สํานักงานแบบใหม่ในอนาคต ให้ความสําคัญจากการสร้างนวัตกรรมและดําเนินการอย่างต่อเนื่อง สํานักงานที่มี นวัตกรรม จะมีลักษณะดังนี้
1.มีกลยุทธแ์ละนวัตกรรมในสํานักงานที่สนับสนุนกระบวนการนวัตกรรม 2.มีโครงสร้างสํานักงานที่สนบัสนุนกระบวนการนวตักรรม
3. เป็นสํานักงานที่มีส่วนในการสนับสนุนกระบวนการนวัตกรรม 4. ผู้บริหารระดับสูงในสํานักงานให้การสนับสนุน
สํานักงานต้องสร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมในการทํางานให้เหมาะสมกับการเกิดนวัตกรรม โดยมีบทบาท นวัตกรรม(lnnovation Roles) ประกอบด้วยบทบาทดังต่อไปนี้
1. ldea Generators บทบาทการเป็นผู้สร้างวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
2. lnformation Gatekeepers บทบาทในฐานะผสู้ ร้างบรรยากาศสําหรับผู้รู้ใหม่
3. Produt Champions บทบาทในฐานะรับความคิดใหม่และนําไปปฏิบัติ
4. Project Manager บทบาทในการจัดการและบริหารนวัตกรรม 5.Leadersบทบาทในฐานะผู้กระตุ้นและสนับสนุนนวัตกรรมอยา่งต่อเนื่อง
นอกจากนี้ สํานักงานมีนวตั กรรม ควรได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง
แนวโน้มของรูปแบบการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคต น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
ด้านสังคม ยกตัวอย่างปัญหาเช่น ปัญหาด้านสถานการณ์แรงงานในปี 2565 เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดปัญหาการจ้างงานที่ลดลงและประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงส่งผลกระทบต่อประชาชนที่หางานทำเกิดความลำบากและประกอบกับภาครัฐเข้าช่วยได้ไม่ทั่วถึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมขึ้น แนวทางการเปลี่ยนแปลง ผลักดันให้ประชาชนในประเทศเข้าใจในสถาการณ์ของโควิด-19 และรู้จักวิธีการแก้ปัญหาตามสถาการณ์ รัฐควรส่งเสริมหรือหาวิธีช่วยเหลือประชาชนที่ตกงาน หรือหางานทำไม่ได้
ด้านเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างปัญหาเช่น ปัญหาเศษฐกิจตกต่ำที่ทำให้ประชาชนภายในประเทศขาดรายได้จากการทำมาหากินที่เกิดจกาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ที่ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน สถาการณ์โควิด-19 หรือเกิดจาการบริหารทางภาครัฐที่ไม่สามารถบริหารหรือหานโยบายมาส่งเสริมให้เศรษฐกิจดีขึ้น หรือจะเป็นปัญหาการแข่งขันทางเศรษฐกิจโลก ที่เกิดจากการเปิดเสรีทางด้านการค้าในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกมากขึ้น ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นทั้งในด้านราคา คุณภาพ และเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ฯลฯ แนวทางการเปลี่ยนแปลง ภาครัฐต้องวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศดีขึ้น และส่งเสริมทางด้านการท่องเที่ยวที่จพช่วยผลักดันเศรษฐกิจตามท้องถิ่นได้มากขึ้น และผลักดันประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้นหรือเพิ่มเอกลักษณ์ที่เป็นที่น่าสนใจต่อประเทศอื่นๆเพื่อส่งเริมเศรษฐกิจทั้งภายใน และภายนอกให้ดียิ่งขึ้น
ด้านการเมือง ยกตัวอย่างปัญหาเช่น การเกิดคอรัปชั่นในการเมือง หรือผลที่เกิดจากรัฐธรรมฉบับปัจจุบันที่เอื้อผลประโยชน์ต่อรัฐมนตรีปัจจุบัน หรือจะเป็นการที่รัฐบาลใช้วิธีการในการแก้ไขปัญหาด้านการชุมนุมด้วยวิธีการที่รุนแรงเลยส่งผลให้เกิดการต่อต้านที่รุนแรงมากขึ้น แนวทางการเปลี่ยนแปลง ควรออกกฎหมายที่เด็ดขาดพอที่จะไม่มีใครกล้าคอรัปชั่น และควรแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นกลางต่อทั้งด้านประชาชน และทางภาครัฐ และควรจัดการเลือกตั้งผู้นำประเทศที่สามารถอยู่ในหลักการปกครองของระบอบประชาธิปไตย และสามารถรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และนำไปปรับแก้ได้
สรุป ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาประเทศในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ทุกด้านการพัฒนาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางภาครัฐ นโยบายของภาครัฐ หรือการบริหารของภาครัฐที่ส่งผลต่อทุกๆด้าน และขึ้นอยู่กับระเบียบกฎหมายทั้งด้านรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายบ้านเมือง
แนวโน้มในการพัฒนาบริหารประเทศในอนาคตอันใกล้นี้ควรเน้นในเรื่องการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาการบริหารประเทศให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เน้นการปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้าง การให้บริการ และพัฒนาบุคคลากรให้มีคุณภาพ และควรมองถึงปัญหาและแก้ไขปัญหาให้ตรงกับโจทย์ของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้สอดคล้องกับบริบทของและสภาพแวดล้อมของสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการเปลี่ยนแปลงการบริหารการพัฒนาของไทยจากปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตจนปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันการพัฒนาของประเทศไทยก็ยังคงอยู่ในช่วงของการพัฒนาที่ยังไม่ก้าวข้ามไปสู่ความสำเร็จทั้ง
ในด้านของสังคมที่ภาครัฐยังคงมองข้ามสังคมที่ห่างไกลมุ่งเน้นถึงการแก้ไขปัญหาให้แก้สังคมหรือชุมชนที่มีหน้ามีหน้าให้แก่ประเทศ สังคมชนบทที่ถูกมองข้ามทั้งเรื่องของงบประมาณ ความเท่าเที่ยมกันของแต่ละชุมชม การเข้าถึงเทคโนโลยี รวมไปถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ทุกสังคมหรือชุมชนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน
ด้านเศรษฐกิจการผูกขาดระบบทุนนิยมที่มีมากจนมากเกินไปจนทำให้เกษตรกรภายในประเทศขาดการดูแลจากรัฐอย่างจริงจังทำให้การกระจายรายได้หรือรายได้ต่อหัวประจำปีของเกษตรกรลดลงจนนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ
ด้านการบริหารและการเมือง ระบบศักดินา การอุปถัมภ์ การคอรัปชั่น การเข้ามาเล่นการเมืองเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือคณะของตนเองซึ่งระบบพวกนี้อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านานขาดการแก้ไขที่จริงจังซึ่งถูกหมางเมินจากภาครัฐ รวมถึงความโปร่งใสของการกระบวนการบริหารงาน ซึ่งเวลาจะตั้งแต่สอบตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำมักจะมีผู้ทรงอิทธิพลเข้ามาแสดงตนจนกลายเป็นประเด็นอื่นไป
ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ยังคนถูกจำกัดการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น และการมีส่วนรวมในกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรม
ด้านขนบธรรมเนียนประเพณีและวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านานทำให้กระบวนการพัฒนาบริหาร การออกกฎหมาย การออกนโยบาย ฯลฯ ก็ยังคงต้องอยู่ในกรอบของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
ด้านเทคโนโลยีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาบริหารประเทศนั้นยังคงขาดผู้ที่ให้ความรู้ที่จะมาถ่ายทอดให้แก่ประชาชนในทุกภาคส่วนให้มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีสมัยใหม่
จากการวิเคราะห์ทั้งหมดนี้จะสามารถสรุปได้ว่าแนวโน้มการพัฒนาบริหารประเทศไทยในอนาคตนั้นควรมีการปฏิรูปจัดองค์กรทั้งหมดเสียใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมของโลกสมัยใหม่ ควรมุ่งเน้นให้มีการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ลดบทบาทของขนบธรรมเนียนประเพณีวัฒนธรรมลงมาบ้างในการเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ ปฏิรูปและปรับโครงสร้างหน่วยงานราชการให้มีความโปร่งใส่ของการทำงานที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและตรวจสอบได้ มุ่งเน้นในการพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในชนบท ท้ายที่สุดคือการออกฏหมายและเพิ่มโทษให้กับเรื่องของการคอรัปชั่นภายในประเทศให้ถึงขีดสุด ทั้งหมดทั้งมวลนี้สมควรเป็นสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นกับการพัฒนาบริหารประเทศไทยมากที่สุดในอนาคตอันใกล้นี้.
นาย กรวิชญ์ คงจันทร์ 64423471010
แนวโน้มของรูปแบบการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคต น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางการบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นกิจกรรมสำคัญของแผนการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจและ วิธีการบริหารงานของภาครัฐ ซึ่งกำหนดว่าภาครัฐจะต้องเปลี่ยนแนวทาง การบริหารไปสู่การบริหาร ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยยึดประชาชนเป็นเป้าหมายหลักในการทำงาน การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็น เครื่องมือการบริหารที่มาพร้อมกับแนวคิดการบริหารภาครัฐแนวใหม่ที่ต้องคำนึงถึงประชาชนและผลสัมฤทธิ์ของงาน เพื่อให้การทำงานของภาครัฐ มุ่งเน้นผลลัพธ์ของงานมากกว่าเน้นปัจจัยนำเข้ากระบวนการทำงานและกฎระเบียบที่เคร่งครัด โดย จะมีการวัดผลอย่างมีรูปธรรม การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ให้ความสำคัญกับการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน และการกำหนดผลผลิต ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกัน รวมถึงการ กำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ชัดเจนในการวัดความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานเพื่อให้การทำงาน มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีความรับผิดชอบต่อประชาชน และเกิดความคุ้มค่าในการใช้ภาษีของประชาชนและงบประมาณแผ่นดิน บทความเรื่อง การบริหารการพัฒนาราชการไทย นี้มุ่งอธิบายถึง 1. ความหมายของการบริหาร 2. ความสำคัญของการบริหาร 3. กระบวนการบริหาร 4. วิวัฒนาการของการบริหาร 5. คุณลักษณะของการบริหารราชการที่ดี
น.ส. นภัสสร เทพสวัสดิ์ 64423471009
เเนวโน้มของรูปเเบบการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคตน่าจะมีการเปลี่ยนเเปลงทางด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ โดยการพัฒนาประเทศนั้นเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน ควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนาให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อบรรลุเป้าหมายในการสร้างประเทศให้มีความมั่นคง แข็งแรง และยั่งยืน
โดยการเปลี่ยนเเปลงทางสังคมความเป็นอยู่ การพัฒนาประเทศควรกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มและกระจายสิ่งที่สนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัยให้ทั่วถึงและเพียงพอ เเละเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ให้สูงขึ้นด้วยการเพิ่มรายได้ การสร้างงาน จัดการศึกษาให้สูงขึ้น
การเปลี่ยนเเปลงทางด้านเศรษฐกิจ โดยการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจจึงเกี่ยวข้องกับการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว บทบาทของรัฐต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐต้องเข้าไปมีบทบาทในการสนับสนุนภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปในทางเศรษฐกิจ เช่น การดูแล ให้ตลาดมีความเป็นเสรีมากขึ้น
ทางด้านที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนเเปลงทิศทางของการเมือง ประชาชนมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไรขึ้นอยู่กับการเมืองโดยผู้บริหารการพัฒนาคนนั้นๆ ระบบการเมืองของไทยมีแนวโน้มที่มีความหลากหลายมากขึ้น กลุ่มนักธุรกิจและกลุ่มนักวิชาการหรือผู้ชำนาญการจะเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจทางการเมือง กับกลุ่มข้าราชการ ทหาร พลเรือนในสัดส่วนที่มากขึ้น ทำให้ระบบราชการเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาการรวมอำนาจบริหาร การขาดประสิทธิภาพของระบบราชการหากผู้นำทางการเมืองไม่ตัดสินใจดำเนินการแก้ไขปัญหาของระบบราชการอย่างจริงจัง
น.ส. เบญจพร รอดชมภู 64423471004
นาย สิทธิณัฐ ลือสมุทร 64423471002
นางสาววริศรา เสือเกิด เลขประจำตัวนักศึกษา 64423471164 แนวโน้มของรูปแบบการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคต น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ตอบ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีกำลังรุดหน้าอย่างรวดเร็ว เกิดการยกระดับจากอินเทอร์เน็ตมาสู่การปฏิวัติบล็อกเชน จากการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่มาสู่ระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งกำลังทำให้การติดต่อสื่อสารที่เชื่อมโลกเข้าด้วยกันยกระดับไปสู่การแลกเปลี่ยนมูลค่า ระบบอัตโนมัติ และเศรษฐกิจโทเคน พร้อมกันนั้นก็เปิดโอกาสให้ธุรกิจมีโมเดลธุรกิจใหม่ที่หลากหลายแปลกใหม่มากขึ้น ประชาชนก็มีระดับการศึกษาที่สูงขึ้นและมีการตื่นตัวทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองมากขึ้น แนวโน้มที่ 1 คือแนวโน้มการบูรณาการข้ามหน่วยงาน (Seamless Government) ซึ่งเกิดจากหลักการการให้บริการโดยให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people centric) ตัวอย่างที่โดดเด่นคือความริเริ่ม กระทรวงความเป็นไปได้ (Ministry of Possibilities) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งได้เปิดตัวกระทรวงความเป็นไปได้แห่งแรกของโลก ในลักษณะกระทรวงเสมือนที่ไม่มีรัฐมนตรีเป็นของตัวเอง แต่ถูกนำโดยคณะรัฐมนตรีแทน เป็นการรวบรวมบุคลากรจากทั่วทั้งรัฐบาลและจากภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อสร้างกรมที่มีกำหนดเวลาชั่วคราวพยายามแก้ไขปัญหาที่เป็นไปไม่ได้ บน แนวโน้มที่ 2 คือ แนวโน้มของการใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนานโยบายและให้บริการกับประชาชน (Data Driven Government Services) ซึ่งเราจะเห็นได้จากตัวอย่างการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อบริหารจัดการโควิด-19 วิเคราะห์การเคลื่อนย้ายของคนและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยผ่านข้อมูลรายบุคคลโดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากแพลตฟอร์มต่างๆ บูรณาการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือ ธุรกรรมทางการเงิน การลงทะเบียนต่างๆ ตลอดจนเซ็นเซอร์ที่ติดอยู่ตามอุปกรณ์จำนวนมาก รวมถึงภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งช่วยให้ภาครัฐสามารถใช้การวิเคราะห์ข้อมูลที่ทันสมัยมาใช้ในการออกแบบบริการภาครัฐที่ตอบสนองประชาชนและธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะรายบุคคลได้ ปัจจุบัน เรากำลังอยู่ในศตวรรษที่ 21 และกำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สามในศตวรรษใหม่นี้แล้ว ภาครัฐที่เคยใช้โมเดลการทำงานแบบในศตวรรษที่ 20 จำเป็นจะต้องสลัดของเดิมที่ใช้การไม่ได้และไม่เข้ากับยุคใหม่ออกไป แล้วปรับโฉม ยกเครื่อง เปลี่ยนตัวเองใหม่ให้เข้ากับโลกยุคใหม่ เพื่อจะได้เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยใหม่นี้ได้อย่างยั่งยืนแนวโน้มหลักทั้งหมดกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ใช่วิสัยของผู้นำ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้พยายามค้นหาเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปข้างหน้า (Next Event) เพื่อค้นหาแนวโน้มในอนาคต (Next Trend) เพื่อสร้างโอกาสที่ทำให้เราได้เปรียบก่อนคนอื่นและเป็นโอกาสที่ยังไม่มีใครมองเห็นต่อไป
นายกฤษณะ ศรีเพ็ชร 64423471014
แนวโน้มของรูปแบบการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคต น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
Ans รูปแบบการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เเย่ลงเนื่องจากผู้สนใจความรู้เเละกิจกรรมทางด้านนี้ ไม่พยายามรักษาไว้โดยการพิจารณาเเละเเก้ไขโดยปรับเเปลงเเละปรับปรุงกรอบเเนวความคิดเเละข้อมูล ความสำเร็จของการบริหารการบริหารการพัฒนาของไทย ทั้งในเเย่ความรู้เเละกิจกรรมจะอาศัยความพยายามและความเสียสละทางด้านร่างกายเเละจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นก็ไม่เพียงพอเพราะยังมีเรื่องที่เกี่ยวกับจิตสำนึก หรือจรรยาบรรณของผู้ที่เกี่ยวข้อง
หากต้องการให้การบริหารพัฒนาของไทยมีเเนวทางที่ดีขึ้นควรมีความรอบครอบรองรับเเละรับผิดชอบซึ่งอาจเป็นบทบาทใหม่ที่ควรให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นมีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อพึ่งศักยภาพขององค์กรเเละข่วยลดทัศนคติในเเง่ลบของประชาชนโดยยังสามารถสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน หากภาครัฐสามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนาระบบต่างๆ ให้ทันสมัยจะสามารถตอบโจทย์ต่อบทบาทของตนเองได้
นางสาวสกุลตรา กระทุ่มทอง 64423471020
บ้านเมืองไทยได้ปกครองอยู่ในระบบที่เถียงไม่ได้ว่าเป็นระบบเผด็จการตลอด 8 ปีที่ผ่านมา จนปัจจุบันที่ผู้นำประเทศหรือนายกรัฐมนตรีได้หมดวาระและได้แต่งตั้งรองนายกมาเป็นผู้รักษาการแทน ปัญหาที่ประเทศไทยได้เจออยู่ตลอดระยะเวลาของรัฐบาลนี้มีหลากหลายด้าน อันมีผลมาจากการเป็นอภิสิทธิชน ใช้อำนาจเผด็จการ คอรัปชัน ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร ระบบอุปถัมภ์ในหน่วยงานต่างๆ รวมถึงการแก้ปัญหาอาจจะขัดกับหลักพุทธศาสนา ที่เราทุกคนต่างรู้กันดีว่าประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศไทยของเรานั้นควรเริ่มจากความทันสมัย รวดเร็ว และแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
แนวโน้มการพัฒนาของประเทศไทยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง โดยปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศโดยตรง และปัจจัยต่างๆของปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดจากระบบการปกครองของรัฐบาล เช่น การเป็นอภิสิทธิชน คือ การใช้อำนาจเผด็จการบริหารหรือกดขี่ข่มเหงผู้อื่น อย่างที่เห็นทั่วไปในรัฐบาลยุคของนายกคนล่าสุด การคอรัปชั่น คดโกง การโกงกินเงินภาษีประชาชน หรือการโกงกินในองค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กรก็สำคัญ เมื่อคนในองค์กรทำงานร่วมกัน ต้องอาศัยความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบอุปถัมภ์ในองค์กร คือการฝากเข้าทำงาน หรือการใช้เส้นสายเพื่อเข้าทำงานหรือเข้ารับตำแหน่งต่างๆ โดยไม่ได้ใช้ความสามารถอย่างเเท้จริง ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้ที่มีความสามารถและพยายาม แต่ไม่ได้รับโอกาสนั้น แต่การแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้ ก็อาจจะขัดกับหลักศีลธรรมของไทย เพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ดังนั้นการแก้ปัญหาเหล่านี้ควรได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด โดยแนวโน้มการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของไทยนั้นขึ้นอยู่กับการพัฒนาที่สำคัญและยิ่งใหญ่ ควรมีการเปลี่ยนระบบการปกครองใหม่ และระบบเก่าๆที่ใช้ในการดำเนินงานในยุคเก่าๆ ไม่ควรนำระบบเก่าๆมาใช้ในยุคสมัยใหม่ เพราะยุคสมัยปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปในทุกๆด้าน มีความทันสมัยขึ้นมากกว่าแต่ก่อน การแก้ปัญหาจึงควรใช้การแก้ปัญหาที่ง่าย รวดเร็วและตรงจุดมากกว่าการใช้หลักการเดิมๆไม่มีการพัฒนา ซึ่งรัฐบาลชุดล่าสุดที่บริหารประเทศเรามีแต่คนหัวโบราณ เอาความคิดเก่าๆมาใช้ในการทำงานและแก้ไขปัญหา มีความล้าหลังในทุกๆด้าน ไม่ยอมปรับตัวให้เข้ากับยุคปัจจุบัน การแก้ไขปัญหา และปัญหาที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้รับการแก้ไขและป้องกันอย่างตรงจุด
ถ้าหากเราเปลี่ยนรัฐบาลทั้งชุด และเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆใหม่ทั้งหมด โดยการนำหลักประชาธิปไตยมาใช้ในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่อย่างแท้จริง ฟังเสียงของประชาชนเพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด แนวโน้มของการพัฒนาประเทศก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือไม่ เราก็ไม่ทราบถึงอนาคตได้ แต่หากคาดการณ์ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะเป็นไปในทางที่ดีขึ้นถ้าหากมีการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุไม่ใช่ปลายเหตุ และทุกหน่วยงานไม่เพิกเฉยต่อปัญหา มุ่งเน้นการพัฒนาและแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง
นายสัจจพัฒน์ ชื่นศิริ .รหัส.64423471025
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของไทย.1.เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากค่านิยมแบบต่างชาติ.โรคทางสังคมแบบใหม่ โควิดสายพันธุ์ย่อย BA.4/BA.5.(ยาเสพติดแบบใหม่ DMA เป็นก้อนสีขาวใสเล็กๆ มีฤทธิ์เหมือนยาบ้า เข้าสู่ร่างกายแล้วถูกเปลี่ยนเป็นยาบ้าที่ตับ.เครื่องดื่ม และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นโทษต่อร่างกาย.อีกเยอะ.บุหรี่.เหล้า.อินเตอร์เน็ต.มือถือ.(2ประเด็นสำคัญต่อประเทศไทย.ภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารทำให้ผลผลิต.เขตเกษตรกรรมพืชและสัตว์.อดตาย โลกจะเคลื่อนตัวไปจากเดิม ซึ่งจะกระทบต่อความได้เปรียบของภาคเกษตรไทย.(3ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย.เกิดปัญหาความแออัดภายในเมืองและมลพิษทางอากาศและทางน้ำ.ปัญหาจราจร.และความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมและสุขภาพจิตของประชาชนมาก