top of page

ความคิดเห็นในฟอรัม

การบริหารสาธารณะกับการเมืองมักเกี่ยวข้องกันเสมอ และนโยบายสาธารณะมักเป็นเครื่องมือในการหาเสียงทางการเมือง
In General Discussions
Takkapad Dulalumpa
01 มิ.ย. 2565
ธัคภัศ ดุละลัมพะ 63423471009 นโยบายสาธารณะ (Public Policy) แนวทางที่รัฐบาล หรือสถาบัน กำหนดขึ้น อาจทำออกมาในรูปโครงการ แผนการ เพื่อเป็นหนทางชี้นำให้เกิดการปฏิบัติต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับแนวทางที่ตั้งไว้เพื่อแก้ปัญหา[1] หรือตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย คือประชาชนกลุ่มหนึ่ง/ในพื้นที่หนึ่ง ซึ่งอาจไม่ใช่คนทั้งประเทศก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าอยากให้แนวทางนั้นเกิดขึ้นและมีผลต่อกลุ่มเป้าหมายใดบ้าง โดยนโยบายสาธารณะมักจะปรากฎตามการหาเสียงเลือกตั้ง การแถลงนโยบายของรัฐบาลที่เสมือนเป็นการแจ้งให้ประชาชนทราบว่า รัฐบาลมีแนวทางจัดการกับประเด็นต่าง ๆ อย่างไร ปัจจุบัน นโยบายสาธารณะไม่จำเป็นต้องเกิดจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากการผลักดันของประชาชน หรือนักวิชาการก็ได้ ถึงอย่างนั้น การจะทำให้นโยบายสาธารณะเกิดขึ้นจริงและดำเนินต่อไปด้วยความต่อเนื่อง ต้องอาศัยการสนับสนุนโดยรัฐบาลซึ่งเป็นผู้มีอำนาจ และทรัพยากรที่จะทำให้แนวทางตามนโยบายเหล่านั้นเกิดขึ้นได้ในทางปฏิบัติ จากนโยบายซึ่งเป็นเพียงแนวทางที่เสนอขึ้นสู่การผลักดันให้เป็นรูปธรรม จะต้องผ่านกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่า กระบวนการทางนโยบายสาธารณะ (public policy process) หากเทียบขั้นตอนของกระบวนการทางนโยบายสาธารณะให้เห็นภาพชัดขึ้นเป็นเรือที่ต้องการมุ่งไปยังเกาะแห่งหนึ่ง กระบวนการนโยบายสาธารณะคือการเริ่มทำตั้งแต่การจัดหาเชื้อเพลิง ชวนลูกเรือมาทำงาน และพาเรือแล่นผ่านพายุ โจรสลัด ไปจนกว่าจะถึงปลายทาง ซึ่งบางครั้งเรืออาจไปไม่ถึงฝั่งหรือไปถึงจุดหมายปลายทางได้ไม่ดีดั่งตั้งใจหรืออาจไม่ถูกใจผู้โดยสารทุกคนบนเรือลำนั้น นอกจากนั้นแล้ว ตามขั้นตอนของกระบวนการทางนโยบายสาธารณะยังรวมถึงการติดตามและประเมินผลแนวทางและการปฏิบัติที่ได้ลงมือทำไปแล้วด้วย กระบวนการทำนโยบายสาธารณะจึงเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ในรายละเอียดแท้จริงแล้วไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะของพื้นที่หนึ่ง และปัจจัยแวดล้อมทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนการสนับสนุนให้มีพื้นที่แสดงความคิดเห็น การเข้ามามีส่วนร่วมและท่าทีของผู้มีส่วนได้เสียในนโยบายและตลอดทั้งกระบวนทางนโยบายดังกล่าวด้วย จึงไม่ง่ายเลยที่นโยบายสาธารณะและกระบวนการนโยบายสาธารณะจะมีความยั่งยืน แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้
1
0
การเปลี่ยนปลงแนวคิดเก่าไปสู่รัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ให้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม บทบาท หน้าที่รับผิดชอบ ในการบริหารจัดการงาน
In General Discussions
Takkapad Dulalumpa
01 มิ.ย. 2565
ธัคภัศ ดุละลัมพะ 63423471009 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ เข้ามาแทนที่การบริหารงานภาครัฐแบบดั้งเดิม ด้วยเหตุผล สำคัญ คือ แนวคิดเสรีนิยมใหม่ การเปลี่ยนแปลงบริบททางการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจที่แต่ละประเทศ ต้องเผชิญ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงการเพิ่มบทบาทของหน่วยงานที่ให้ คำปรึกษาด้านการจัดการ แนวคิดนี้ เน้นการนำแนวทางของภาคธุรกิจมาประยุกต์ใช้กับการบริหารภาครัฐ หรือ รัฐบาลผู้ประกอบการ ให้ความสำคัญกับการสร้างผลิตภาพสูงสุด อาศัยกลไกตลาด เปิดโอกาส ให้มีการแข่งขัน การมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจ การลดขนาดองค์การให้เล็กลง ตลอดจนมอง ประชาชนในฐานะลูกค้า หรือผู้รับบริการที่รัฐต้องมอบสินค้าหรือบริการสาธารณะอย่างทั่วถึงและ เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ถึงแม้แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่จะได้รับความนิยมและถูกนำมาใช้ ในการจัดการภาครัฐของรัฐบาลไทยหลายยุคหลายสมัยจนถึงปัจจุบัน แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ในหลาย ๆ ประเด็น ได้แก่ แนวคิดนี้เสมือน “จักรพรรดิที่สวมอาภรณ์ใหม่” หรือเรียกได้ว่า “เหล้าเก่า ในขวดใหม่” เนื่องจากเมื่อนำแนวคิดนี้มาปรับใช้แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในระบบการบริหาร ภาครัฐแบบเดิมยังคงเกิดขึ้น และยังเป็นการทำลายความเป็นระบบราชการ ไม่ว่าจะเป็นความยุ่งยาก สลับซับซ้อนจากการจัดท าตัวชี้วัดในระบบการรายงานผล และเพิ่มการใช้จ่ายงบประมาณ รวมถึง ทรัพยากรต่าง ๆ ขณะเดียวกันยังเป็นแนวคิดที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มข้าราชการระดับสูงและ ระดับกลาง ตลอดจนเชื่อว่า แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ไม่ได้มีลักษณะที่เป็นสากล หรือไม่ได้ เป็นการจัดการภาครัฐส าหรับทุกฤดูกาล แต่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งค่านิยมในการบริหารที่แตกต่างกัน
1
0
การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่รวมถึงการบริหารจัดการการเงินและการคลังกับความเป็นธรรมาภิบาลในยุคปัจจุบัน
In General Discussions
Takkapad Dulalumpa
01 มิ.ย. 2565
ธัคภัศ ดุละลัมพะ 63423471009 การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ (NPG) เป็นแนวคิดที่ก่อกำเนิดขึ้นบนพื้นฐานของ การดำรงอยู่ของแนวคิดการจัดการภาครัฐแบบดั้งเดิม (Public Administration: PA) และแนวคิด การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) และไม่ใช่กระบวนทัศน์ใหม่หรือ การท้าทายแนวคิดแบบเดิมหรือจะเข้ามาแทนที่แนวคิดทั้งสองที่กล่าวมา แต่ NPG เป็นเครื่องมือ เชิงมโนทัศน์ที่จะช่วยขยายความเข้าใจที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงไปของกระแสสังคมโลกใน ศตวรรษที่ 21 ที่มีความแตกต่างหลากหลายและมีความสลับซับซ้อนของปัญหาและความต้องการ ที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งยังเป็นการเปิดมุมมองให้เห็นถึงสภาพความเป็นจริงของวิธีการปฏิบัติงานของ บุคคลในภาครัฐให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การมุ่งเน้นแต่เพียงการจัดการที่ดี(Good Governance) (ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ประสิทธิผล ยุติธรรม ความคุ้มค่า การมีส่วนร่วม) ในยุคนี้คงจะไม่เพียงพอกับบริบทและกระแส ของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้สถานการณ์ที่ปัญหาความซับซ้อนของงานสาธารณะที่เพิ่มขึ้น อย่างมาก และปัญหาข้อจ ากัด ทางด้านทรัพยากรของภาครัฐเอง รวมทั้งความเข้มแข็งและ ความกระตือรือร้นของภาคประชาสังคมได้ทำให้พื้นที่สาธารณะกำลังเปิดกว้างต่อการมีส่วนร่วมจาก ภาคส่วนต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ส่งผลให้NPG เกิดขึ้นเพื่อรองรับต่อปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลง ที่กล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหารจัดการปกครองอันแตกต่างหลากหลาย ซึ่งจำเป็นที่จะต้อง ประสานความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) และตัวแสดงอื่น ๆ การชักจูงให้ แต่ละฝ่ายนำทรัพยากรออกมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของส่วนรวม และการจัดการความขัดแย้ง ที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการร่วมกันทำระหว่างเครือข่ายต่าง ๆ (Loffler, 2005)
1
0
การเปลี่ยนปลงแนวคิดเก่าไปสู่รัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ให้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม บทบาท หน้าที่รับผิดชอบ ในการบริหารจัดการงาน
In General Discussions
Takkapad Dulalumpa
30 พ.ค. 2565
ธัคภัศ ดุละลัมพะ 63423471009 Tom Burns แ ล ะ G.M. Stalker (1961) เ ขี ย น Mechanistic and Organic System ใน The Management of Innovation ว่ำในสภำพแวดล้อมที่ไม่เปลี่ยนแปลง (stable conditions) ควรใช้โครงสร้างองค์กำรแบบ mechanic ซึ่งยึดกฎระเบียบที่เป็นทางการ การสื่อสาร แบบแนวดิ่ง และใช้การตัดสินใจแบบใช้โครงสร้าง ขณะที่สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (dynamic conditions) ควรใช้โครงสร้างองค์กำรแบบ organic ซึ่งยืดหยุ่น การมีส่วนร่วม และ ขึ้นอยู่กับพนักงานในการกำหนดจุดยืนและความสัมพันธ์ เช่น ในการสร้างภาวะสร้างสรรค์ องค์การ แบบ organic ต้องการให้องค์การสนับสนุนเรื่องนวัตกรรม แนวคิดการจัดองค์การนี้สามารถ ประยุกต์ใช้ในการออกแบบองค์การให้มีประสิทธิภาพที่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่คงที่หรือ เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะโต้แย้งทฤษฎียุคดั้งเดิมที่เน้นวิธีที่ดีที่สุดวิธีเดียว (one best way) หลายๆองค์การ ได้มีการปรับปรุงรูปแบบโครงสร้างและการทางานให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น Peter M. Blau และ W. Richard Scott (1962) ใน Formal Organization: A Comparative Approach ในหัวข้อ The Concept of Formal Organization กล่าวว่า ในทุก องค์การประกอบด้วยองค์การที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยที่องค์การไม่เป็นทางการจะ สนับสนุนองค์การที่เป็นทางการในการสร้างปทัสถาน (norm) ในกำรปฏิบัติงานซึ่งไม่ได้กำหนดไว้อยู่ ในกฎและระเบียบ และเป็นโครงสร้างทางสังคม (social organization) ซึ่งประกอบด้วย ความสัมพันธ์ทางสังคม (social relation) และความเชื่อและความสนใจร่วมกัน (shared belief and orientation) ในการสร้างแนวปฏิบัติร่วมกันในองค์การแนวคิดนี้ในผู้บริหารองค์การทั้งภาครัฐ และเอกชนจะต้องเข้าใจลักษณะขององค์การที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อที่จะสร้างความร่วมมือร่วมใจกันในกำรบรรลุเป้าหมายองค์การที่กำหนดไว้
1
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
Takkapad Dulalumpa
22 ส.ค. 2564
การพัฒนาเศรษฐกิจ คือ ความพยายามที่จะให้มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการวางแผนพัฒนาเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ต่อหัวสูงขึ้น นอกจากนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจยังอาจรวมถึง การแบ่งปันความสุขและความทุกข์ที่เกิดจากผลพวงของการพัฒนาให้เท่าเทียมกัน และ เปิดโอกาสให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในกระบวนการตัดสินใจกําหนดชะตากรรมของประเทศชาติ พร้อมกับ ส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชน และคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งในส่วน ที่เกี่ยวกับการลดหรือขจัดความยากจน ความไม่รู้ ความเจ็บไข้ได้ป่วยและความหิวโหยให้น้อยลงหรือ หมดไป
0
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
Takkapad Dulalumpa
22 ส.ค. 2564
สถานการณ์ปัจจุบันทุกประเทศต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในหลายปัจจัยพร้อมๆกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี การเมือง สังคม วัฒนธรรม ล่าสุดด้านการสาธารณสุข จนทำให้เกิดชีวิตวิถีใหม่ หรือที่เราเรียกว่า New Normal ระบบราชการซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการเป็นโครงสร้างพื้นฐานขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศจะทำแบบค่อยเป็นค่อยไปไม่ได้อีกแล้ว ต้องพลิกโฉมเพื่อตอบสนองสภาวการณ์ในปัจจุบัน โดยต้องมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่มากขึ้น ลดกระบวนการทำงาน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ไม่จำเป็น ปรับรูปแบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่น และนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการการให้บริการของภาครัฐให้มากขึ้น
0
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
Takkapad Dulalumpa
22 ส.ค. 2564
THAILAND 4.0 by MOC
1
1
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
Takkapad Dulalumpa
20 ส.ค. 2564
ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้างกระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร - เราอาจจะทำการวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างเช่น จากการศึกษาในอินเดียพบว่า ลักษณะทางโครงสร้างของระบบราชการ ไม่ว่าจะเป็นสายการบังคับบัญชา การแบ่งงานกันทำและระบบกฎเกณฑ์ ล้วนแต่ไม่เอื้อต่อการบริหารการพัฒนาทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าโครงสร้างระบบราชการซึ่งเป็นแนวความคิดของประเทศตะวันตกและใช้ได้ผลในประเทศเหล่านั้น แต่เมื่อนำมาประยุกต์ในประเทศที่กำลังพัฒนากลับไม่ได้ผล หรือได้ผลแต่ไม่เต็มที่ และยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนาเน้นโครงสร้างระบบราชการสมัยใหม่เป็ นกรอบในการพัฒนามากเท่าใด ก็ยังท าให้รัฐบาลและมวลชนในประเทศที่กำลังพัฒนายิ่งแยกกันมากขึ้นเพียงนั้น ผลที่ตามมาก็คือ ความแตกแยกการก่อการร้ายและคตินิยมดั้งเดิมที่เน้นความรุนแรงขึ้น >แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหารอาจพิจารณาได้เป็นหลายแนวทาง แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่างๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแอดัด ของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง (Deconcentration) และบางทีก็มอบอำนาจให้หน่วยล่างอย่างเด็ดขาดไปเลย (devolution) อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะกระจายอำนาจไปยังเบื้องล่างนั้นหน่วยงานพัฒนาจำเป็น จะต้อง รวมอำนาจให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เสียก่อน มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาในการติดตามและประเมินผลงานในภายหลัง
1
1
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
Takkapad Dulalumpa
20 ส.ค. 2564
พัฒนาการของทฤษฎีองค์การที่แบ่งเป็น 3 ยุค คือ 1).ยุคคลาสสิก 2).ยุคนีโอคลาสสิก 3).ยุคสมัยใหม่ 1.ทฤษฎีองค์การในยุคคลาสสิก (Classical Organization Theory) เป็นยุคเริ่มต้นของการศึกษาองค์การ แนวคิดหลักของยุคนี้คือความพยายามในการแสวงหาหลักการทำงานและหลักการบริหารที่ดีที่สุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหาร ทฤษฎีสำคัญๆในยุคนี้ เช่น -การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของเฟดเดอริก ดับเบิลยู เทเลอร์ -หลักการบริหารของกุลลิค-เออร์วิค -องค์การตามระบบราชการของแมกซ์ เวเบอร์ 2.ทฤษฎีองค์การยุคนีโอคลาสสิก (Neoclassical Organization Theory) เป็นยุคที่นักวิชาการออกมาวิจารณ์แนวคิดในยุคแรก เนื่องจากแนวคิดยุคแรกให้ความสำคัญกับ หลักการทำงานและการการบริหารงานมากเกินไป โดยละเลยคนในองค์การ >ยุคนีโอคลาสสิกจึงเสนอว่า การจะให้องค์การมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพจะต้องให้ความสำคัญกับคนในองค์การทั้งในเรื่องของจิตใจ ความต้องการ และพฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มในองค์การ >ทฤษฎีองค์การในยุคนี้จะมีจุดหลักอยู่ที่นักทฤษฎีในกลุ่มมานุษยนิยม (Humanism) เช่น เอลตัน เมโย /อับราฮัม มาสโลว์ /เฮอร์เบิร์ต ไชม่อน/แมรี่ ปากเกอร์ ฟอลลเลต และคนอื่นๆอีกมาก **โดยทฤษฎีที่นำเสนอส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของคน** 3.ทฤษฎีองค์การยุคใหม่ (Modern Organization Theory) เป็นแนวคิดที่มองว่าทฤษฎีใน 2 ยุคแรกเป็นการมององค์การในระบบปิด (Closed Perspective) คือไม่สนใจสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ >ทฤษฎีองค์การยุคใหม่มองว่าองค์การนั้นอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมมีผลอย่างยิ่งต่อองค์การและการบริหารงานในองค์การ ดังนั้นการศึกษาองค์การจึงควรศึกษาในระบบเปิด (Open Perspective)
0
0
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
Takkapad Dulalumpa
11 ส.ค. 2564
@Phruetrawi(First) " แนวทางในการพัฒนาประเทศไทยนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือ..." ประเทศไทย เป็นประเทศที่รักความสงบ ประชากรโดยส่วนมากชื่นชอบความสะดวกสบายเป็นมิตรกับทุกเชื้อชาติ ศาสนา ด้วยเหตุนี้เองทำให้ชาวไทย ไม่ชอบที่จะต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น แนวทางในการพัฒนาประเทศไทยนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือ ลดอัตตาและทิฐิลง ยอมรับฟังความคิดใหม่ๆ ของคนทุกคน โดยไม่ต้องตั้งข้อแม้ว่าเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เราเคารพศรัทธาเท่านั้น แต่ต้องเคารพความคิดของทุกๆ คน โดยเฉพาะกับความคิดของคนรุ่นใหม่ ที่เพิ่งเติบโตขึ้นมา หรือเพิ่งเริ่มต้นพัฒนางานของเขาเอง เพราะในอนาคต เขาเหล่านี้จะเป็นผู้กำหนดทิศทางของประเทศไทย ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมาช้านาน แต่การพัฒนาประเทศนั้น ไม่ใช่การละเลยพื้นฐานของชาติ หรือทรัพยากรของชาติ และหันไปให้ความสนใจกับภาคอุตสาหกรรม แต่ต้องเน้นย้ำให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของภาคเกษตรกรรม ซึ่งถือเป็นหัวใจของประเทศ นำความรู้ทั้งหลายที่ได้รับมา มาประยุกต์ (Apply) ให้มีการผสมผสานในรูปแบบของการบูรณาการ (Integrated) ให้เกิดนวัตกรรม (Innovation) ทางการเกษตร นั่นคือ การนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยี ให้กลายเป็นเทคโนโลยีทางการเกษตร (Agriculture Technology) ก็จะสามารถนำพาให้ประเทศคงอยู่ต่อไปได้ 😊
0
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
Takkapad Dulalumpa
08 ส.ค. 2564
ธัคภัศ ดุละลัมพะ 63423471009 ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo – Classical Theory of Organization) ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่เป็นทฤษฎีที่พัฒนามาจากทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม โดยพัฒนามาพร้อมกับวิชาการด้านสังคมวิทยา จิตวิทยา การพัฒนาที่สำคัญเกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ.1910 และ 1920 ในระยะนี้การศึกษาด้านปัจจัยมนุษย์เริ่มได้นำมาพิจารณา โดยมองเห็นความสำคัญและคุณค่าของมนุษย์ (Organistic) โดยเฉพาะการทดลองที่ Hawthorne ที่ดำเนินการตั้งแต่ ค.ศ. 1924 – 1932 ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญในการศึกษาทางพฤติกรรมศาสตร์ และในช่วงนี้เองแนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Movement)ได้รับพิจารณาในองค์การและขบวนการมนุษยสัมพันธ์นี้ได้มีการเคลื่อนไหวพัฒนาในประระเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่ในระหว่าง ค.ศ.1940–1950 ความสนใจในการศึกษากลุ่มนอกแบบหรือกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการ (InformalGroup) ที่แฝงเข้ามาในองค์การที่มีรูปแบบมีมากขึ้น ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่มุ่งให้ความสนใจด้านความต้องการ(needs)ของสมาชิกในองค์การเพิ่มขึ้น สรุปได้ว่าทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ ให้ความสำคัญในด้านความรู้สึกของบุคคล ยอมรับถึงอิทธิพลทางสังคมที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน อาทิเช่น กลุ่มคนงานและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซึ่งมีความเชื่อว่าขบวนการมนุษยสัมพันธ์ จะให้ประโยชน์ในการผ่อนคลาย ความตายตัวในโครงสร้างขององค์การสมัยดั้งเดิมลงบุคคลที่มีชื่อเสียงในทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ คือ HugoMunsterberg เป็นผู้เริ่มต้นวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม เขียนหนังสือชื่อ Psychology and IndustrialEfficiency, Elton Mayo, Roethlisberger และ Dickson ได้ทำการศึกษาที่ฮอธอร์น (Howthorne Study) เป็นผู้บุกเบิกขบวนการมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Movement) นอกจากนั้นได้รับการสนับสนุนจากนักทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์อีก เช่น MeGregor และ Maslow เป็นต้น
4
4
จริยธรรม...Module 1-3 ให้แสดงความคิดความเห็นที่นีครับ
In General Discussions
Takkapad Dulalumpa
04 มิ.ย. 2564
ธัคภัศ ดุละลัมพะ 63423471009 จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร การที่รัฐบาลยอมรับคนที่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกในคดีค้ายาเสพติดในต่างประเทศให้สามารถมาเป็นรัฐมนตรีที่ไทยได้ ซึ่งการต่อต้านยาเสพติดที่สากลทั่วโลกยอมรับว่าเป็นภัยร้ายแรงและเป็นภัยต่อความมั่นคงมนุษย์และทำทุกอย่างเพื่อปราบปราม การที่รัฐบาลและศาลอนุญาตให้รัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งต่อถึงแม้จะค้ายาก็คงไม่มีสากลโลกที่ไหนยอมรับได้
0
0
จริยธรรม...Module 1-3 ให้แสดงความคิดความเห็นที่นีครับ
In General Discussions
Takkapad Dulalumpa
15 พ.ค. 2564
ธัคภัศ ดุละลัมพะ 63423471009 ความหมายของคําว่าธรรมาภิบาล มาจากคําว่า ธรรมะ แปลว่าความถูกต้องดีงาม อภิบาล แปลว่า การปกครองหรือการปกปักรักษา ธรรมาภิบาลจึงแปลว่าการปกครองที่ยึดถือความถูกต้องดีงามเป็นหลักหรือการปกครองโดยธรรม ส่วนคําว่า ธรรมรัฐ แปลว่า รัฐหรือองค์กรที่มีรูปแบบและการดําเนินงานอย่างถูกต้องดีงาม นายอานันท์ปันยารชุน ได้ให้ความหมายว่า ธรรมาภิบาลเป็นผลลัพธ์ของการจัดการกิจกรรมซึ่งบุคคลและสถาบันทั่วไป ภาครัฐและเอกชนมีผลประโยชน์ร่วมกัน ได้กระทําลงไปหลายทางมีลักษณะเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนําไปสู่การผสมผสานผลประโยชน์ที่หลากหลายและขัดแย้งกันได้ องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ คือ 1. หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้องเป็นธรรม การบังคับการเป็นไป ตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด โดยคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมของประชาชน 2. หลักคุณธรรม (Ethics) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามสนับสนุนให้ประชาชนขยันซื่อสัตย์ประหยัด อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพที่สุจริตจนกลายเป็นนิสัยประจําชาติ 3. หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ซึ่งตรงกันข้าม กับการทุจริตคอร์รัปชัน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง 4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง การบริหาร และการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน 5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การมีจิตสํานึกในหน้าที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม สิทธิและหน้าที่และปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างตามหลักประชาธิปไตย 6. หลักความคุ้มค่า (Value for Money) หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ (บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมีลี้ 2544, อ้างถึงใน อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า,
0
0
จริยธรรม...Module 1-3 ให้แสดงความคิดความเห็นที่นีครับ
In General Discussions
Takkapad Dulalumpa
06 พ.ค. 2564
นางสาวธัคภัศ ดุละลัมพะ 63423471009 รุ่น 46 คำว่าจริยธรรมมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าจริยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันอีกหลายคำ บางครั้งก็มีการนำมาใช้แทนกัน ซึ่งให้ความหมายทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจความหมายและขอบข่ายของจริยธรรมกับศัพท์เกี่ยวข้องในหลายมุมมอง ทำให้ทราบถึงทรรศนะมุมมองของผู้รู้ต่าง ๆ ที่พยายามศึกษาแนวคิดจริยธรรมในด้านที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงคำว่าจริยธรรม ผู้ฟังหรือผู้อ่านมักจะพิจารณาอยู่ในกรอบคิดเกี่ยวกับศาสนา ทั้งนี้ เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า “จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาว่า กำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร หลักจริยธรรมก็จะกำหนดให้ปฏิบัติตามนั้น” จริยธรรมมาจากคำว่า จริย กับ ธรรมะ จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ธรรมะหมายถึง คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ กฎหมาย สิ่งของทั้งหลาย เมื่อพิจารณาตามรูปคำจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2535 ให้คำนิยามว่า “จริยธรรม” คือ ธรรมที่เป็น ข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม จากความหมายดังกล่าวหากมีการจัดระดับจริยธรรม สาโรช บัวศรี ได้ให้ความเห็นว่า จริยธรรมมีหลายระดับ ซึ่งสามารถจำแนกตามระดับกว้าง ๆ ได้ 2 ระดับ ได้แก่ 1.ระดับของผู้ครองเรือน คือ โลกีย์ธรรม 2.ระดับของผู้ที่สละบ้านเรือนแล้ว คือ โลกุตตรธรรม ในความหมายที่เฉพาะเจาะจงนั้น ศาสตราจารย์ ดร. สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ เห็นว่า จริยธรรม หมายถึง ความถูกต้องดีงาม สังคมทุกสังคมจะกำหนดกฎเกณฑ์กติกา บรรทัดฐานของตนเองว่า อะไรเป็นสิ่งที่ดีงาม และอะไรคือความถูกต้อง โดยทั่วไปมิได้มีการเขียนเป็นกฎข้อบังคับให้สมาชิกทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติตาม ซึ่งหากมีการละเมิดจะถูกลงโทษโดยสังคมในขณะเดียวกัน
0

Takkapad Dulalumpa

ขั้นตอนดำเนินการอื่นๆ
bottom of page