top of page

ความคิดเห็นในฟอรัม

ช่องทางส่ง Final สำหรับกลุ่ม 393 คำถาม: แนวโน้มของรูปแบบการบริหารการพัฒนาของไทยในอนาคต น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
In General Discussions
นาย จักรพันธ์ วิชาธร 64423471019
06 ก.ย. 2565
แนวโน้มในอนาคตนั้นมีหลายปัจจัยเป็นอย่างมาก เราได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในอนาคตของประเทศไทย คิดว่าในอนาคตภาครัฐแบบเปิดและนวัตกรรมประชาธิปไตย เป็นแนวโน้มที่กำลังขยายตัวทั่วโลก ประชาชนสามารถมีส่วนร่วม ทั้งเสนอความคิดเห็น เสนอโครงการ โหวตนโยบายและกฎหมาย และที่สำคัญคือสามารถมีส่วนร่วมกับงบประมาณของเมืองได้หรือกรณีแพลตฟอร์ม CitizenLab ที่ทำงานร่วมกับรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่าร้อยแห่งใน 9 ประเทศทั่วโลก ได้สร้างเครื่องมือที่ช่วยให้รัฐบาลรับฟังความคิดเห็นของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและตัดสินใจได้เหมาะสมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนโยบาย มาตรการ หรืองบประมาณ ปัจจุบัน เรากำลังอยู่ในศตวรรษที่ 21 และกำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สามในศตวรรษใหม่นี้แล้ว ภาครัฐที่เคยใช้โมเดลการทำงานแบบในศตวรรษที่ 20 จำเป็นจะต้องสลัดของเดิมที่ใช้การไม่ได้และไม่เข้ากับยุคใหม่ออกไป แล้วปรับโฉม ยกเครื่อง เปลี่ยนตัวเองใหม่ให้เข้ากับโลกยุคใหม่ เพื่อจะได้เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยใหม่นี้ได้อย่างยั่งยืน
0
0
แสดงความเห็นและกิจกรรมกลุ่ม 393 ภาคพิเศษ
In General Discussions
นาย จักรพันธ์ วิชาธร 64423471019
01 ก.ย. 2565
ในศตวรรษที่ 21 นี้ สหรัฐอเมริกาและประเทศที่ พัฒนาแล้วอื่น มีสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างน้อยที่สุด 10 ประการ คือ (1) การเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรมไปเป็นสังคมข่าวสาร จึงจะต้องอาศัยความรู้แบบกว้าง มิใช่ความรู้เฉพาะอย่าง หรือต้องอาศัยแรงงานดังที่คาลล์ มาร์กได้พูดไว้ (2) การเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีธรรมดาไปสู่เทคโนโลยีระดับสูง ซึ่งเรื่องเทคโนโลยีนี้จะนำมากล่าวโดยอีกครั้งหนึ่ง (3) การเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจระดับประเทศมาเป็นเศรษฐกิจโลก และถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจหมายเลขหนึ่งของโลกที่เข้ามาแทนที่สหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่ญี่ปุ่นก็เหมือนกับแชมเปี้ยนคนใหม่ของกีฬาที่ล้าสมัยแล้ว เพราะจะถูกท้าทายจากสิงคโปร์ เกาหลีใต้ ฮ่องกง และใต้หวัน (และแม้กระทั่งไทย) เพราญี่ปุ่นมีค่าครองชีพและแรงงานสูง (4) การเปลี่ยนแปลงจากการวางแผนระยะสั้นมาเป็นการวางแผนระยะยาว นั่นคือทักษะเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวที่มีค่ามากกว่าทักษะเกี่ยวกับการวางแผนระยะสั้น (5) การเปลี่ยนแปลงการรวมอำนาจมาเป็นการเปลี่ยนแปลงการกระจายอำนาจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่ากิจกรรมการพัฒนาต่างๆ จะเกิดขึ้นที่มลรัฐ เมือง และหน่วยปกครองอื่นมากกว่าเมืองหลวง ผลที่ตามก็คือ ไม่ว่าใครจะเป็นผ้าของรัฐบาลก็จะมามีความสำคัญเพราะผู้ตามเป็นผู้สร้างผู้นำถึงกับมีผู้อุปมาอุปไมยไว้ว่า ประเทศไทยไม่มีทางเลือกนอกจะต้อง “ขึ้นหลังม้าไปใน ทิศทางของม้าที่กำลังควบไปอยู่แล้ว” เพราะอย่างยิ่งข้าราชการประจำ หรือการบริหารเข้ามาทำหน้าที่แทนนักการเมืองและระบบการเมืองเสียเป็นส่วนใหญ่ (6) การเปลี่ยนแปลงจะได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันของรัฐบาลและของเอกชนมาเป็นความช่วยเหลือในบรรดาประชากรเป้าหมายด้วยกันเอง หรือการพึ่งตนเองนั่นเอง (7) การเปลี่ยนแปลงจากประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ทั้งนี้ เพราะพรรคการเมืองเพราะพรรคการเมืองจะมีแต่เชื่อเท่านั้น แต่ผู้คนจะขาดความศรัทธา นอกจากนี้ ในรัฐสาก็เช่นเดียวกันจะไม่มีใครคุมใคร หรืออาจจะกล่าวได้ว่า จำนวนพรรคการเมืองและนโยบายพรรคการเมืองจะเท่าๆ กับจำนวนสมาชิกรัฐสภา (8) การเปลี่ยนแปลงจากสายบังคับบัญชามาเป็นโครงข่าย (networking) ซึ่งหมายถึง ประชาชนจะเชื่อถือข่าวสารที่ได้จากการพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข่าวสารของทางราชการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า แม้ว่าสายการบังคับบัญชาแบบพีระมิดจะคงอยู่ แต่ผู้คนก็ไม่มีความศรัทธาอีกต่อไปแล้ว (9) ประชาชนจากสหรัฐอเมริกาจะย้ายถิ่นที่อยู่ภาคเหนือและตะวันออกของประเทศไปอยู่ภาคใต้หรือภาคตะวันตก พร้อมทั้งนำเอากิจกรรมทางเศรษฐกิจ และความมั่งคั่งต่อไปด้วยคุณค่า เศรษฐกิจของมลรัฐเทกซัส แคลิฟอร์เนีย และฟลอริดา และเมื่อรวมกันแล้วจะมีความสำคัญมากกว่ามลรัฐที่เหลืออีก 47 มลรัฐ (10) การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมีทางเลือกอยู่สองทางเลือกมาเป็นทางเลือกหลายๆทางเลือก ยกตัวอย่างเช่น คนที่ไม่จำเป็นตามกะกลางวันและกะกลางคืนอีกต่อไปแล้วอาจจะทำงานเป็น กะละแปดชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้นก็ได้
0
0

นาย จักรพันธ์ วิชาธร 64423471019

ขั้นตอนดำเนินการอื่นๆ
bottom of page