top of page

ความคิดเห็นในฟอรัม

การบริหารสาธารณะกับการเมืองมักเกี่ยวข้องกันเสมอ และนโยบายสาธารณะมักเป็นเครื่องมือในการหาเสียงทางการเมือง
In General Discussions
krittameth777555
20 มิ.ย. 2565
นายกฤตเมธ เชิดชู 63423471054 รุ่น46 การพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ต้องพัฒนาโครงสร้างทางการเมืองการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย พัฒนาให้สังคมปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และจะต้องกำ หนด โครงสร้างทางการเมือง การปกครองให้เป็นไปตามปรัชญาและหลักการ ประชาธิปไตยอย่างครบถ้วน รวมทั้งต้องเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง แบบประชาธิปไตย ทั้งนี้วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึง แบบแผน ทัศนคติและพฤติกรรมของบุคคลที่มีต่อระบบการเมืองและองค์กรการเมือง ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการหล่อหลอม ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองที่ ถ่ายทอดสืบเนื่องกันมาทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการพัฒนาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จะต้องเริ่มต้นด้วยระบบการเมืองที่จะส่งเสริมการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ระบบการเมือง ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการควบคุม กำ กับ ตรวจสอบการดำ เนินงานของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบการเมืองดังกล่าวจึงจะถือว่าเป็น “ระบอบประชาธิปไตย” ที่แท้จริง พร้อมกันนี้ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม จะต้องเปิดโอกาสให้ ประชาชนได้แสดงทัศนะและเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง มีส่วนร่วม ในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชน เพื่อเป็นการช่วยให้รัฐบาลมีความรอบคอบในการบริหารประเทศ และสอดคล้องตรงกับความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมทางตรง เพื่อส่งผลให้เกิด การมีส่วนร่วมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับ ท้องถิ่นด้วย ทั้งนี้รูปแบบหนึ่งของการส่งเสริมระบบประชาธิปไตยแบบ มีส่วนร่วมนั้น ต้องให้ความสำ คัญกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับ ท้องถิ่น ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นระดับฐานรากที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด จึงมีความสำ คัญมาก เนื่องจากระดับท้องถิ่นมักจะเกี่ยวข้องกับวิถี ในการดำ เนินชีวิตของประชาชนโดยตรง นอกจากนี้ยังเป็นเสมือนสถาบัน ฝึกสอนให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจ และตระหนักถึงคุณค่าและบทบาท ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนในระดับท้องถิ่น ยังเป็นส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาชนบท แบบพึ่งตนเอง พร้อมกันนี้การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ระดับท้องถิ่นเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น อย่างแท้จริง เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันทั้งสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการประกอบอาชีพของประชาชน แต่ละท้องถิ่น ฉะนั้นประชาชนในท้องถิ่นเท่านั้นที่ย่อมรู้ปัญหาและความต้องการท้องถิ่นของตนเองดีกว่าบุคคลอื่น จึงสามารถเสนอแนะ แก้ไขปัญหาของท้องถิ่นนั้น ๆ การกระจายอำนาจจากรัฐส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นจะเป็นแนวทางในการบริหารจัดการท้องถิ่นที่สามารถตอบสนองแก้ไขปัญหาของชุมชน ได้อย่างเป็นรูปธรรมอีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะโครงสร้างความสัมพันธ์ ทางอำ นาจของกลุ่มต่าง ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาคม และองค์กรชาวบ้าน ต่าง ๆ การเข้าถึงการเมืองการปกครองระดับท้องถิ่นนั้นต้องเข้าถึง ภาคประชาสังคมในระดับท้องถิ่น ที่มุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาในระดับท้องถิ่น และการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ซึ่งมิติการมีส่วนร่วม ในระดับท้องถิ่น ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมที่ถูกกำ หนดไว้คงจะเป็น กลไกของประชาคมที่มีหลายระดับไม่ว่า กลไกประชาคมในระดับหมู่บ้าน กลไกประชาคมในระดับตำบลและระดับอำเภอ
0
0
การเปลี่ยนปลงแนวคิดเก่าไปสู่รัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ให้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม บทบาท หน้าที่รับผิดชอบ ในการบริหารจัดการงาน
In General Discussions
krittameth777555
26 พ.ค. 2565
นายกฤตเมธ เชิดชู 63423471054 ผลจากเทคโนโลยีและโลกาภิวัตน์ ทําให้ตลาดโลกเปลี่ยนแปลง และพัฒนาไปสู่ตลาดเปิดที่ต้องเร่งตอบสนองตาม กระแสสมัยนิยมของโลก มีความโปร่งใสและรวดเร็วทันใจ ผู้ประกอบการ มีโอกาสมากมายในการเลือกฐานผลิตตามความต้องการ ผลที่ตามมาทําให้ ประเทศต่างๆ ต้องหันกลับมามองตนเองและเร่งหาหนทางเพื่อสร้างความได้ เปรียบเชิงเปรียบเทียบให้แก่ประเทศในทุกๆ ด้าน ไม่ใช่เพียงเน้นการส่งออก สินค้าและการให้สิทธิพิเศษเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเท่านั้น แต่ จะต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการท้องถิ่น และต่างชาติเข้ามาลงทุนผลิตสินค้า ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ทําให้เกิดความมั่งคั่งแก่เศรษฐกิจมากขึ้น สูตรสําเร็จในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศคงไม่มีในโลกนี้ แต่ละประเทศจะต้องปรับใช้นโยบายโดยเทียบเคียงกับประเทศต้นแบบภายใต้บริบทของตน กลยุทธ์การพัฒนาขีดความสามารถใน การแข่งขันของประเทศจะประสบผลสําเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลยภาพทาง เศรษฐกิจ การเมืองและกรอบของขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยมและวัฒนธรรมทางสังคมของชนในชาติ โดยดําเนินการผ่านภาครัฐ ผู้ประกอบ การในภาคธุรกิจและประชากรที่เป็นแรงงานของประเทศ รัฐบาลในฐานะ ผู้บริหารเศรษฐกิจของประเทศมีบทบาทสําคัญในการสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งบทบาทในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าจาก การพัฒนาระบบการศึกษา การสร้างฐานความรู้จากการวิจัยและพัฒนาและสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชน ประสิทธิภาพของภาครัฐและโครงสร้างพื้นฐาน ตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพของภาครัฐประกอบด้วย 5 กลุ่ม ปัจจัยรอง ได้แก่ หนี้สาธารณะ (Public finance) ใน บายการเงินการคลัง (fiscal policy) กรอบความเป็นสถาบันของประเทศ (institutional framework) นิติบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (Business legislation) และกฎกติกาทางสังคม (sociatial framework) โดยมี ภาครัฐเป็นผู้กําหนดนโยบายและบริหารประเทศ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ มีเสถียรภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจมหภาคและด้านสังคมที่เอื้อต่อการแข่งขันให้ แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งขจัดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบการ ลด การแทรกแซงกิจกรรมทางธุรกิจให้น้อยที่สุด มีการบริหารจัดการนโยบาย การเงินการคลังที่ยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของ เศรษฐกิจโลกได้ นอกจากนี้รัฐบาลยังมีบทบาทในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าและคุณภาพ ด้วยการส่งเสริมให้มีการศึกษาที่เพียงพอและเข้าถึง ได้ รวมทั้งพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้ความรู้เป็นตัวขับเคลื่อน การสร้างฐาน ความรู้จากการวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ประเทศ ในการประเมินตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ มุ่งเน้นประ เป็นคณภาพ ความรวดเร็วและความโปร่งใสทางการเมืองและในระบบราช การ ที่มีต่อการกําหนดนโยบาย และแนวทางด้านนิติบัญญัติ รวมถึงนโยบาย การเงินการคลังที่ชัดเจนและคาดการณ์ได้ โดยพิจารณาถึง การสร้างดุลย ภาพพลังระหว่างเศรษฐกิจที่เน้นมูลค่าเพิ่ม (proximity) กับ เศรษฐกิจที่ เน้นความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (globality) ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่มี อิทธิพลต่อประสิทธิภาพของภาครัฐ คะแนนของประสิทธิภาพของภาครัฐ เกิดจากการประเมิน 5 กลุ่มปัจจัยรอง ที่รวบรวมข้อมูลจาก 77 เกณฑ์ การประเมิน (IMD WCY 2004) นอกจากรัฐบาลจะมีบทบาทต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของภาครัฐ แล้ว รัฐบาลยังเป็นผู้กําหนดนโยบายหลักในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ที่เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ด้วย ระบบโครง สร้างพื้นฐานที่ดี ร่วมกับประสิทธิภาพของระบบราชการในการให้บริการแก่ ภาคธุรกิจช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจให้เติบโต โครงสร้างพื้นฐานที่ดีครอบคลุม ถึงโครงสร้างและเครือข่ายของการคมนาคมขนส่ง การติดต่อสื่อสารโทร คมนาคม ระบบสารสนเทศและโครงสร้างพื้นฐานในการรักษาสิ่งแวดล้อม การนําเทคโนโลยีที่มีอยู่ไปใช้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ การลงทุน ด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ การส่งเสริมการ วิจัยและพัฒนาในระยะยาวให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งด้านการศึกษา สุขอนามัยและ สิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชน ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของชาติเฮ ตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะช่วยให้ประเทศเกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน มากขึ้น ตัวชี้วัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ประกอบด้วย 5 กลุ่มปัจจัยรอง ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานทั่วไป (basic infrastructure) โครง สร้างทางด้านเทคโนโลยี (technological infrastructure) โครงสร้างทาง ด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific infrastructure) สุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม (health and environment) และการศึกษา (education) การประเมิน ศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐาน จะมุ่งศึกษานโยบายของภาครัฐต่อการ ลงทุนในระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่ง แวดล้อม การธํารงรักษาสายใยของสังคมด้วยการลดช่องว่างของรายได้ และขยายฐานของกลุ่มชนชั้นกลาง นโยบายการลงทุนด้านการศึกษาขั้นพื้น ฐานจนถึงระดับมัธยมศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ และการถ่ายโอนความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลและผู้ประกอบ การซึ่งเป็นพลังผลักดันทางเศรษฐกิจของประเทศ คะแนนของโครงสร้างพื้น ฐานเกิดจากการประเมิน 5 กลุ่มปัจจัยรองข้างต้น ที่รวบรวมข้อมูลจาก 94 เกณฑ์การประเมิน (criteria) อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดศักยภาพในการแข่งขันด้านประสิทธิภาพของ ภาครัฐและด้านโครงสร้างพื้นฐานมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน และส่งผลต่อ การกําหนดนโยบายอันเกิดจากการจัดการดุลยภาพพลังของสภาพแวดล้อม มีอิทธิพลต่อทั้งประสิทธิภาพของภาครัฐและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งสะท้อนจะนในนโยบายการบริหารประเทศ เช่น การกระตุ้นและส่งเสริมการลง คนโดยการผ่อนผันหรือยกเว้นภาษี การให้เงินอุดหนุน การพัฒนาระบบการ ศึกษาขั้นพื้นฐานและสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชน และการ สร้างเศรษฐกิจฐานความรู้จากการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ประเทศมีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ประสิทธิภาพและความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยน แปลงต่อสภาพแวดล้อมของการแข่งขัน เป็นคุณสมบัติ ทางการจัดการที่สําคัญ และจําเป็นต่อศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบ การในภาคธุรกิจ การมีแหล่งเงินทุนที่ส่งเสริมให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่กิจกรรม ระบบการจัดการสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่เข้มแข็ง เพื่อสนับสนุน การแข่งขันระหว่างประเทศ การยกระดับมาตรฐานการครองชีพที่สงขึ้นอัน เกิดจากการประสานเศรษฐกิจภายในประเทศและระหว่างประเทศเข้าด้วย กัน จํานวนของผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้าสู่ภาคธุรกิจมีความสําคัญต่อการ สร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แรงงานที่มีทักษะและเจตคติของแรงงานมีผลต่อ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่เพิ่มขึ้น และมูลค่าเพิ่ม ถึงผลิตภาพ เรียกได้ว่าเป็นประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ประกอบด้วย 5 กลุ่มปัจจัยรอง ได้แก่ ผลิตภาพ (productivity) ตลาดแรงงาน (labour market) สถาบันการเงิน (finance) การบริหารจัดการที่ดี (management practices) และเจตคติและค่านิยม (attitudes and values) ในการประเมินตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ มุ่งเน้น ประเมินความคล่องตัว และการปรับตัวที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโครง สร้างทางเศรษฐกิจของภาคธุรกิจ อันเกิดจากการบริหารจัดการผลิตภาพ จากสินทรัพย์และกระบวนการ (capabilities) บนพื้นฐานของดุลยภาพ ระหว่างอัตราค่าจ้าง ผลิตภาพ และการจัดเก็บภาษี ในลักษณะของไตรภาคี โดยให้คะแนนประสิทธิภาพของภาคธุรกิจจากการประเมิน 5 กลุ่มปัจจัย รอง ที่รวบรวมข้อมูลจาก 69 เกณฑ์การประเมิน (IMD WCY 2004) อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้ส่งผลไปถึง ประเทศจําเป็นจะต้องอาศัยการเพิ่มผลิตภาพโดยองค์รวม (holistic national approach) ของภาคธุรกิจ IMD World Competitiveness Yearbook 2005 ได้ประ เมินและจัดลําดับศักยภาพในการแข่งขันในด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ของประเทศไทยไว้ในลําดับที่ 28 จากการเปรียบเทียบกับ 60 ประเทศ และเขตเศรษฐกิจทั่วโลก โดยมีผลิตภาพอยู่ในลําดับที่ 56 ตลาดแรงงาน ลําดับที่ 5 สถาบันการเงิน ลําดับที่ 46 การบริหารจัดการที่ดี ลําดับที่ 27 และเจตคติและค่านิยม ในลําดับที่ 16 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่า ศักยภาพในการแข่งขันด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจของไทยลดลง ดัง แสดงในตารางที่ 1 ในปี 2005 IMD ได้ปรับเปลี่ยนเกณฑ์การประเมิน (criteria) ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ดังนี้ 1. ผลิตภาพ ประกอบด้วย เกณฑ์ผลิตภาพโดยรวม อัตราการเติบโตแท้จริงของ ผลิตภาพโดยรวม อํานาจในการซื้อสินค้าโดยเปรียบเทียบในสกุลเงินเดียว กัน (PPP) ของผลิตภาพโดยรวม PPP ของผลิตภาพแรงงาน PPP ของ ผลิตภาพในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และภาคการบริการ และเพิ่ม เกณฑ์การประเมินอีก 2 เกณฑ์ซึ่งเป็นเกณฑ์จากข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ บริษัทขนาดใหญ่ (large corporations) และวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (Small and medium-size enterprises) 2. ตลาดแรงงาน ประกอบด้วย เกณฑ์ด้านต้นทุน แรงงานสัมพันธ์ และด้านทักษะ ของแรงงานซึ่งเพิ่มการจ้างงานในบางช่วงเวลา (part-time employment) อีก 1 เกณฑ์ 3. สถาบันการเงิน ประกอบด้วย เกณฑ์ด้านประสิทธิภาพของธนาคารพาณิชย์ ประ สิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งตัดเกณฑ์การซื้อขายหลักทรัพย์โดยมีข้อมูล จากวงใน (insider trading) ออก 4. การบริหารจัดการที่ดี ประกอบด้วย เกณฑ์ความคล่องตัวและการปรับตัว จรรยาบรรณ ความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร คณะกรรมการบริหารของบริษัท ค่านิยมของผู้ ถือหุ้น ความพึงพอใจของลูกค้า ความเป็นผู้ประกอบการ การตลาด ความรับผิดชอบต่อสังคม ความใส่ใจในสุขอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และเพิ่มเกณฑ์การตรวจสอบและการดําเนินการด้านบัญชี (auditing & ac-counting practices) 5. เจตคติและคํานิยม ประกอบด้วย เกณฑ์เจตคติต่อโลกาภิวัตน์ ภาพลักษณ์ในสายตาขอ ต่างประเทศ วัฒนธรรมที่เปิดรับความคิดเห็นของต่างชาติ ความคล่องตัวและ การปรับตัวของชนในชาติ ความเข้าใจถึงความจําเป็นในการปฏิรูปเศรษฐกิจ และสังคม ค่านิยมของสังคม และเพิ่มเกณฑ์ค่านิยมขององค์การ (Corporate values) อีก 1 เกณฑ์ ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สําคัญ เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนอันเกิดจากการสร้างมูลค่าเพิ่มและการสร้างคุณค่า ทํา ให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจ และสะท้อนถึงศักยภาพในการ แข่งขันของประเทศ ผลการปฏิบัติงาน ทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่งคั่งของประเทศอันเกิดจากการแข่งขันภายใต้อํานาจ ของตลาดเป็นตัวสะท้อนผลการปฏิบัติงานทางด้านเศรษฐ กิจของปีที่ผ่านมา การแข่งขันของธุรกิจภายในประเทศที่รุนแรงยิ่งส่งผลให้ ผู้ประกอบการในประเทศมีศักยภาพที่จะก้าวไปสู่การค้าระหว่างประเทศมาก ขึ้น การเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศนําไปสู่การส่งออก หากพิจารณา ภายใต้เงื่อนไขที่ปราศจากมาตรการกีดกันทางการค้าใดๆ จะเห็นว่า การค้า ระหว่างประเทศ และการส่งออกเป็นตัวสะท้อนถึงความสามารถในการแข่ง ขันของผู้ประกอบการภายในประเทศ การเปิดเสรีทางการค้ายังเป็นแรง ดึงดูดและส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น ในขณะที่การ เปิดสู่ตลาดภายนอก และการลงทุนในต่างประเทศจําเป็นต้องมีการบริหาร กองทุนรวมระหว่างประเทศ ที่สามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัดด้านผลการปฏิบัติงานทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ประ กอบด้วย 5 กลุ่มปัจจัยรอง ได้แก่ เศรษฐกิจภายในประเทศ (domestic economy) การค้าระหว่างประเทศ (international trade) การลงทุน ระหว่างประเทศ (international investment) การจ้างงาน (employment) และดัชนีราคา (prices) ในการประเมินตัวชีวัดด้านผลการปฏิบัติ งานทางด้านเศรษฐกิจ IMD มุ่งประเมินที่นโยบายส่งเสริมการออมของ ประเทศและการลงทุนภายในประเทศ การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศที่แท้จริง นโยบายเชิงรุกในการขยายการส่งออกสินค้า และบริการสู่ตลาดต่างประเทศที่ได้สมดุลกับการดึงดูดการลงทุนจากต่าง ประเทศ การจ้างงานในแต่ละสาขา รวมถึงพนักงานภาครัฐ อัตราการว่าง งาน ดัชนีค่าครองชีพและดัชนีราคาผู้บริโภค ผลการปฏิบัติงานทางด้าน เศรษฐกิจของประเทศเป็นผลสัมฤทธิ์อันเกิดจากประสิทธิภาพของภาครัฐ ที่เป็นผู้กําหนดความสมดุลของนโยบายเศรษฐกิจระหว่างการเน้นมูลค่า เพิ่ม และการเน้นความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ และการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานที่ดี ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การวิจัยและ พัฒนา ทําให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขันได้ของผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจสามารถอยู่รอด มีรายได้ เติบโตโดยมีส่วนแบ่งตลาดที่ใหญ่ขึ้น สามารถนําผลกําไรสะสมมาลงทุนพัฒนาสินทรัพย์และกระบวนการ เกิด การจ้างงาน ประชากรมีมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้นและมีความผาสุก เกิดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม ของประเทศมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นด้วย คะแนนของผลการปฏิบัติงาน ทางด้านเศรษฐกิจเป็นการประเมินข้อมูลที่รวบรวมจาก 22 - 4 ประเมิน (Criteria) IMD บูรณาการผลการศึกษาทางพฤติกรรมศาสตร์และค่านิยมของ มเข้ากับตัวชี้วัดศักยภาพในการแข่งขันของประเทศทั้ง 4 กลุ่มปัจจัย " อันได้แก่ ผลการปฏิบัติงานทางด้านเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาค ะ ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน และกําหนดเป็นตัว แบบพฤติกรรมศาสตร์ 3 ตัวแบบ ได้แก่ 1. The South European Model เป็นตัวแบบของประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐาน ระเบียบปฏิบัติทาง ธุรกิจ และการประกันสังคมเพียงเล็กน้อย มีระบบเศรษฐกิจคู่ขนานที่มีต้น ทนค่าแรงต่ํา และรับจ้างผลิตโดยใช้แรงงานเท่านั้น ประเทศที่มีลักษณะตาม ตัวแบบนี้ ได้แก่ ประเทศอิตาลี สเปน โปรตุเกส ตุรกี และประเทศในเขต เศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ (New Industrial Economics) หรือ NIES 2. The North European Model เป็นตัวแบบของประเทศที่เน้นเสถียรภาพ การเห็นพ้องทางสังคม และยอมรับกฎกติกามารยาทร่วมกัน การธํารงรักษาสายใยของสังคมด้วย การลดช่องว่างของรายได้และขยายฐานของกลุ่มชนชั้นกลาง ประชาชนของ ประเทศเหล่านี้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ประเทศที่มีลักษณะตามตัวแบบนี้ ได้แก่ ประเทศเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และไต้หวัน 3. The Anglo-Saxon Model เป็นตัวแบบของประเทศที่มีกฎระเบียบที่ผ่อนผัน ผ่อนปรน ไม่เข้ม งวดเกินไป มีการแปรรูปวิสาหกิจที่รัฐเป็นเจ้าของไปสู่รูปแบบที่บริหารจัดการโดยเอกชน การลงทุนด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับมัธยมศึกษา และ การเรียนรู้ตลอดชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้เกิดเป็นทุนมนุษย์ เป็น แรงงานที่มีความรู้และทักษะ จึงมีความคล่องตัวและสามารถเลือกงานได้ รวมทั้งมีความมั่นคงทางการเงิน ประเทศเหล่านี้จะสนับสนุนประชาชนให้ เป็นผู้ประกอบการ ประเทศที่มีลักษณะตามตัวแบบนี้ ได้แก่ ประเทศสหรัฐ อเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ และฮ่องกง การจัดลําดับศักยภาพในการแข่งขันของประเทศของ IMD เป็น การศึกษาการบริหารจัดการดุลยภาพของพลัง 4 คู่ ที่ประกอบกันขึ้นเป็น สภาพแวดล้อม รวมถึงกรอบของขนบธรรมเนียม ประเพณี ค่านิยมและ วัฒนธรรมซึ่งหล่อหลอมให้เกิดเป็นพฤติกรรมของชนในชาติ เพื่อกําหนด ตัวชี้วัดศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ การประเมินตัวชี้วัดเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจของประเทศ ประสิทธิภาพของภาครัฐในการ กําหนดนโยบาย การบริหารจัดการและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจของประเทศแข็งแกร่ง คล่องตัว มีความคิดสร้าง สรรค์และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
1
1
การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่รวมถึงการบริหารจัดการการเงินและการคลังกับความเป็นธรรมาภิบาลในยุคปัจจุบัน
In General Discussions
krittameth777555
23 พ.ค. 2565
นายกฤตเมธ เชิดชู 63423471054 (ส่วนภูมิภาค) 1. พักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินให้กับเกษตรกรอย่างเร่นด่วน โดยวางระบบการฟื้นฟูและให้ความช่วยเหลือปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร 2. การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งละ 3.5 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการลงทุน สร้างอาชีพเสริม และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชน และวิสาหกิจขนาดเล็กในครัวเรือน พร้องทั่งรัฐบาลจะจัดให้มีโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แต่ละชุมชนได้มีภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือในด้านความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตร เช่น โดรนหว่านปุ๋ยเคมีและหว่านเม็ดพันธุ์เพาะปลูกทุกชนิด และเครื่องยนต์เก็บเกี่ยวการเกษตรจากญี่ปุ่น ลดการใช้แรงงาน เชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและส่งออกนอกประเทศ กระจายทั่วยุโรป ด้วยระบบ IT ระบบแอพพลิเคชันเครื่องสื่อสารทุกชนิดและ PC 3. จัดตั้งธนาคารประชาชน เพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินเข้ากับประชาชนผู้ที่มีรายได้น้อย เพื่อสร้างทางเลือกเพื่อลดการพึ่งพาแหล่งกู้นอกระบบ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีโอกาสในการสร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง 4. จัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดใหญ่ส่วนภูมิภาค เขตปกครองขนาดกลางและเขตส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก (จังหวัด อำเภอ ตำบล) เพื่อพัฒนานาระบบการเดิม และเพิ่มจำนวนผู้ประกอบรายใหม่อย่างเป็นระบบเพื่อให้เศรษฐกิจหมุนเวียนมากกว่าในอดีตเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างและรักษาฐานการผลิต การจ้างงาน การสร้างรายได้ การส่งออก และเป็นแกนหลักในการสร้างความเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต 5. จัดตั้งบรรษัทกลางในการบริหารสินทรัพย์ เพื่อดำเนินการให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ออกจากระบบของธนาคารพาณิชย์โดยเร็ว และระบบเบ็ดเสร็จ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคการผลิตและบริหาร 6. พัฒนารัฐวิสาหกิจ ให้เป็นองค์กรหลักในการประกอบกู้เศรษฐกิจ และสร้างรายได้ใก้กับประเทศ โดยรวมวิสาหกิจที่มีศักยภาพและมีความพน้อม้ข้าด้วยกัน ภายใต้บริหารองค์กรที่เป็นมืออาชีพ มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และปลอดจากการแทรกแซงในการบริหาร พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนไทยมีโอกาสลงทุนในกิจการวิสาหกิจ และสนับสนุนวิสาหกิจ ที่มีความพน้อมให้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
krittameth777555
08 ก.ย. 2564
นายกฤตเมธ เชิดชู 63423471054 วิวัฒนาการของการปฏิรูประบบราชการนับจากสมัยรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนถึงสมัยรัฐบาลของ นายชวน หลีกภัย มีประเด็นการปฏิรูประบบราชการที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ 1. สมัยรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ.2502-2506) ได้มีการแบ่งส่วนราชการและจัดอัตราข้าราชการให้เหมาะสมกับส่วนราชการที่ได้แบ่งใหม่ 2. สมัยรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร (พ.ศ.2506-2516) ได้มีการแบ่งส่วน ราชการและจัดอัตราข้าราชการเช่นเดิม แต่ได้อาศัยอำนาจคณะปฏิวัติ โดยแก้ไขพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2506 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 โดยการออกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 (29 กันยายน 2515) และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 (29 กันยายน 2515) ตามลำดับ และใช้มาจนถึงปี พ.ศ.2534 3. สมัยรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ (พ.ศ.2516-2517) ได้มีการแบ่งส่วนราชการและจัดอัตราข้าราชการเหมือนเดิม 4. สมัยรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร (พ.ศ.2519-2520) ซึ่งต่อเนื่องจากรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ตามลำดับ เป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปี ซึ่งมิได้มีการปฏิรูประบบราชการแต่อย่างใด และสมัยรัฐบาลของนายธานินท์ กรัยวิเชียร ก็ทำหน้าที่เหมือน ๆ กับที่ผ่านมา คือ การแบ่งส่วนราชการและจัดอัตราข้าราชการ 5. สมัยรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ (พ.ศ.2521-2522) นอกจากมีการแบ่งส่วนราชการและจัดอัตราข้าราชการแล้ว ยังมีการปรับปรุงการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น และการปรับปรุงแก้ไขระเบียบปฏิบัติราชการพลเรือนด้วย 6. สมัยรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (พ.ศ.2523-2531) ได้มองปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาระบบราชการแตกต่างไปจากเดิม ดังจะเห็นจากนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งเน้นการปฏิรูปการให้บริการประชาชน การมอบอำนาจและแบ่งอำนาจการบริหารราชการให้ส่วนภูมิภาคมากขึ้น ผลงานสำคัญสมัยรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีอยู่ 2 เรื่อง คือ การเสนอมาตรการจำกัดขนาดของส่วนราชการ และอัตราข้าราชการกระทรวง ทบวง กรม ฝ่ายพลเรือน โดยชะลอการขยายส่วนราชการและเพิ่มจำนวนข้าราชการได้ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี รายละเอียดปรากฏตามหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ สร 0203/ว245 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2523 และการกำหนดชื่อและความหมายของหน่วยงานระดับต่าง ๆ ที่เรียกชื่ออย่างอื่น เช่น สำนัก สำนักงานคณะกรรมการ สำนักเลขาธิการ สถาบัน ศูนย์ ศูนย์บริการ สถานี สถานีทดลอง เพื่อให้กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ถือปฏิบัติเป็นระเบียบเดียวกัน รายละเอียดปรากฏ ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร 0203/ว 82 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2525 7. สมัยรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน (พ.ศ.2531-2533) ได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2532 เพื่อให้หน่วยงานของรัฐให้บริการประชาชนอย่างรวดเร็ว ให้แล้วเสร็จภายใน 1 วันทำการ และหากโดยสภาพแห่งเรื่องไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 วันทำการ ให้หน่วยงานของรัฐออกระเบียบโดยแจ้งขั้นตอน และระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนสำหรับคำขอนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังได้มีการแก้ไขกฎหมายที่สำคัญจำนวน 2 ฉบับ ซึ่งต่อมาได้มีการแก้ไขในสมัย รสช. คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 (จากเดิม คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218) และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2534 (จากเดิม คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216) 8. สมัยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย (พ.ศ.2535-2538) งานปฏิรูประบบราชการส่วนใหญ่มักเป็นการศึกษา และการจัดทำเป็นข้อเสนอ แต่มีผลในสมัยของรัฐบาลชุดต่อ ๆ มา เช่น การจัดตั้งศาลปกครอง การออกกฎหมายว่าด้วยข้อมูลและข่าวสารของทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาการบริการสาธารณะ การปรับปรุงการปกครองส่วนท้องถิ่น การปรับปรุงประสิทธิภาพกรมตำรวจ และการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการข้าราชการอัยการ เป็นต้น 9. สมัยรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา (พ.ศ.2538-2539) นอกจากนำข้อเสนอของรัฐบาลชุดก่อนมาดำเนินการแล้ว ส่วนใหญ่เป็นการศึกษา และการจัดทำข้อเสนอ เช่น การปรับปรุงการบริหารงานด้านงบประมาณ การปรับปรุงการบริหารงานด้านพัสดุ การปรับปรุงสวัสดิการที่อยู่อาศัยของข้าราชการ การปรับปรุงการเกษียณอายุราชการ การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการให้ปี พ.ศ.2539 เป็นปีแห่งการส่งเสริมการบริการประชาชนของหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น 10. สมัยรัฐบาลของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ (พ.ศ.2539-2540) ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการขึ้น โดยมีพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ.2540 และจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการ (พ.ศ.2540-2544) 11. สมัยรัฐบาลของ นายชวน หลีกภัย (พ.ศ.2541-2544) ได้ดำเนินการต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่แล้ว ตามแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการ (พ.ศ.2540-2544) เช่น การจัดตั้งองค์การมหาชนและการถ่ายโอนงานเพื่อมอบให้เอกชนรับไปดำเนินการแทนส่วนราชการสำหรับภารกิจที่จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน การยกเลิกสุขาภิบาลและจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบล การปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยาให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 284 และมาตรา 285 การออกกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นโดยการจัดให้มีคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.)การกระจายอำนาจการให้บริการสาธารณะ (งานหรือกิจกรรม) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การออกพระราชกฤษฎีกายุบเลิกองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป การแปรรูปองค์การแบตเตอรี่ การยุบเลิกตำแหน่งลูกจ้างประจำที่หมดความจำเป็น และให้ใช้วิธีการจ้างเหมา (Contracting out) ให้มากขึ้น การปรับลดบุคลากรและปิดสำนักงานในต่างประเทศ คือ กระทรวงกลาโหม (ผู้ช่วยทูตทหาร) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตร) กระทรวงการคลัง (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และสำนักงานกรมศุลกากร) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การบินไทย สำนักงาน ก.พ. กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรมตำรวจ และกระทรวงการต่างประเทศ การระงับหรือชะลอการจัดตั้งหรือขยายหน่วยงานใหม่ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ และให้ส่วนราชการระงับการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่ หรือขยายหน่วยงานในกรมหรือภายในหน่วยงานเทียบเท่ากรมขึ้นไปในปีงบประมาณ พ.ศ.2541 และ 2542 ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากเศรษฐกิจถดถอย ยกเว้นการจัดตั้งส่วนราชการ และโอนหรือรวมส่วนราชการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งระงับการจัดตั้งอำเภอและกิ่งอำเภอขึ้นใหม่ จนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2544 และการส่งเสริมสนับสนุนการให้รางวัลหน่วยงานดีเด่นและเจ้าหน้าที่ดีเด่นของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชน ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิรูประบบราชการ แม้รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยได้ให้ความสำคัญและดำเนินการปฏิรูประบบราชการต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะปัญหาหลัก ๆ ที่มีผลกระทบในระดับมหภาค (Macro) มีมูลเหตุจากปัจจัยเหล่านี้ คือ 1. การขาดความต่อเนื่องของเจตนารมย์ทางการเมือง (Political Will) เนื่องจากทุกรัฐบาลเป็นรัฐบาลผสม ทำให้ขาดเสถียรภาพ มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงปี พ.ศ.2531-2540 มีการเปลี่ยนรัฐบาลถึง 8 รัฐบาล และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ภารกิจอันดับแรก ๆ จะเป็นการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่สืบเนื่องมาจากรัฐบาลชุดก่อน ที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้าและเป็นปัญหาระยะสั้น การปฏิรูประบบราชการจึงไม่ได้รับการพิจารณาดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การขาดความต่อเนื่องของเจตนารมย์ทางการเมืองยังหมายความรวมถึงการสนับสนุนจากผู้นำทางการเมืองที่มีพลังหรือมีอำนาจบารมี (Powerful Leadership) ซึ่งต้องเข้ามารับผิดชอบโดยทางตรง คือ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และรับผิดชอบในการดำเนินงานด้วย หรือต้องเข้ามารับผิดชอบโดยทางอ้อม คือ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธานและรับผิดชอบในการดำเนินงานการปฏิรูประบบราชการเป็นหลัก 2. การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจากข้าราชการระดับสูงและนักการเมือง (Strong Resistance to Change) เนื่องจากหลักการปฏิรูประบบราชการมักนำหลักการมีกระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) ในการบริหารซึ่งมักเน้นเรื่องการมอบอำนาจ (Delegation) การกระจายอำนาจ ( Decentralization) การเป็นประชาธิปไตย (Democratization) การลดกฎระเบียบและการควบคุมของภาคราชการ (Deregulation) และการลดหน่วยงานและกำลังข้าราชการ (Down-sizing) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อข้าราชการระดับสูง ด้านสถานภาพหรือผลประโยชน์ที่เคยมีและเคยได้มาก่อน ในบางกรณี นักการเมืองก็ร่วมต่อต้านด้วย เนื่องจากการปฏิรูประบบราชการในบางกรณีจะทำให้เสียประโยชน์หรือทำให้เสียคะแนนนิยมจากกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่เป็นหัวคะแนน
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
krittameth777555
08 ก.ย. 2564
นายกฤตเมธ เชิดชู 63423471054 ปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาชุมชน การพัฒนาที่จะประสบความสำเร็จได้ จำต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา อันได้แก่ 1. ลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ สภาพแวดล้อมด้านวัตถุ อันได้แก่ สิ่งก่อสร้างพื้นฐาน : ถนน สะพานคลองส่งน้ำ และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ อันได้แก่ สภาพดิน แหล่งต้นน้ำลำธาร อุณหภูมิ สิ่งเหล่านี้จะต้องส่งเสริมและเอื้อให้การพัฒนาประสบความสำเร็จ เช่น พื้นที่อุดม มีภูมิอากาศเหมาะสมกับการปลูกพืช มีระบบการชลประทาน และแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงให้พืชเจริญเติบโต มีถนนลำเลียงขนส่งผลผลิตและสินค้าออกสู่ตลาด 2. ลักษณะทางเศรษฐกิจ หมายถึงภาวะการถือครองที่ดิน ระบบการขาย-ซื้อผลผลิต ระบบราคา, ภาวะหนี้สิน ระบบการกู้ยืมและแหล่งสินเชื้อ ความยากจนของประชาชนในพื้นที่ จะส่งผลต่อการลงทุนในการผลิต และนำไปสู่ภาวะการสูญเสียกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งเป็นผลให้เกิดความรู้สึกผูกพันต่อการพัฒนา 3. สภาพแวดล้อมทางการเมือง ได้แก่นโยบายการพัฒนาของรัฐบาล ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เช่น สมัย พณ.จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เน้นการพัฒนารากฐานของการพัฒนาประเทศ มีการลงทุนในสาธารณูปโภค สาธารณูปการ สร้างถนนสายสำคัญ สร้างเขื่อนกั้นน้ำ โรงไฟฟ้า ฯลฯ ส่วนในยุคของ พณ. พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ ก็เน้นด้านเศรษฐกิจ “แปรสนามรบให้เป็นสนามค้า” สมัย พณ. พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เน้นความสงบร่มเย็นจากปัญหาผู้ก่อการร้าย “ใต้ร่มเย็น-อีสานเขียว” สมัย พณ. นายชวน หลีกภัย เน้นการจัดที่ดินทำกินและสมัย พต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร “เน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจ” เป็นต้น 4. สภาพแวดล้อมทางสังคมอันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อ ค่านิยมของคนในสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรวมกลุ่ม และอิทธิพลของกลุ่ม ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิต พฤติกรรมและความสัมพันธ์ของคนในชุมชน 5. สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ปรุงแต่งของมนุษย์ ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีความสะดวกสบายขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องเลือก และนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate technology) ไปใช้ โดยไม่ให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ประชาชน และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน ซึ่งในสังคมไทยเรามีเทคโนโลยีเหมาะสมมากมาย อันได้แก่ “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” ที่นักพัฒนาจะต้องรู้จักนำมาใช้และผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สภาพแวดล้อมที่ควรเป็น การพัฒนาต้องคำนึงถึงการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพความ เราอาจเปรียบ ภูมิปัญญาชาวบ้านเสมือน ต้นไม้ผลท้องถิ่นที่มีรากแก้ว มีความทนทานต่อสภาพสิ่งแวดล้อม ส่วนเทคโนโลยีสมัยใหม่ เปรียบได้เสมือน กิ่งตอนชั้นดี ที่เอาเข้าไปติดตาทาบกิ่ง เพื่อให้ออกดอกออกผลที่ดี 6. สภาพแวดล้อมที่ควรเป็น การพัฒนาต้องคำนึงถึงการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงและเกิดประโยชน์แก่ประชาชนในชุมชนนั้นเป็นส่วนใหญ่ อันเกิดจากการผสมผสานระหว่างสภาพแวดล้อมทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมาแล้ว ในขณะที่ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมและสิ่งแวดล้อมก็ต้องไม่เสื่อมโทรม ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
krittameth777555
08 ก.ย. 2564
นายกฤตเมธ เชิดชู 63423471054 หลักการพัฒนาชุมชน การดำเนินงานพัฒนาชุมชนนั้น มีหลักการสำคัญที่เป็นรากฐานในการดำเนินงานอยู่ 3 ประการด้วยกันคือ 1. ความคิดริเริ่มมาจากประชาชน กิจกรรมทุกกิจกรรมและทุกขั้นตอนจะต้องเกิดจากการคิด ตัดสินใจ วางแผน และดำเนินการโดยประชาชน นักพัฒนาต้องไม่เป็นผู้กำหนดกิจกรรม แผนงาน หรือโครงการไว้ล่วงหน้า แต่นักพัฒนามีหน้าที่กระตุ้นให้ชาวบ้าน กล้าคิด สามารถค้นหาปัญหาและความต้องการ และตัดสินใจริเริ่มโครงการต่าง ๆ ได้เอง ซึ่งการที่นักพัฒนาจะทำได้จำเป็นต้องเข้าไปหาประชาชน กระตุ้นยั่วยุโดยใช้มาตรการต่าง ๆ (การฝึกอบรม, ประชุมกลุ่มอภิปราย กลุ่มสัมพันธ์ การแสดงบทบาท ฯลฯ) ให้ชาวบ้านกล้าคิดกล้าแสดงออก โดยนักพัฒนาอาจให้ข้อมูลหรือการชี้แนะที่จำเป็น เพื่อประกอบการตัดสินใจของชาวบ้าน 2. หลักการให้ประชาชนมีส่วนร่วม การที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการต่าง ๆ จะก่อให้ เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีความรักผูกพันธ์ต่อโครงการนั้น ๆ จะช่วยเน้นย้ำให้เกิดความรู้สึกว่า โครงการนั้นเป็นความรับผิดชอบ และเกิดจากน้ำพักน้ำแรงของพวกเขาเอง ซึ่งในกระบวนการพัฒนาชุมชนนั้น ประชาชนจะมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 2.1 มีส่วนร่วมในการคิดค้นหาปัญหาและศึกษาสาเหตุของปัญหา ขั้นตอนนี้ถึงเป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญมาก เพราะบางครั้งปัญหาต่าง ๆ ของชาวบ้าน เป็นสิ่งที่ชาวบ้านต้องพบสัมผัสอยู่ทุกวันจนเกิดความเคยชินไม่คิดว่าสิ่งนั้นเป็นปัญหา จึงไม่กระตือรืนล้นที่จะหาทางแก้ปัญหา 2.2 มีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินกิจกรรม โดยทั่วไปแล้วนักพัฒนาหรือนักวิชาการมักจะคิดว่าชาวบ้านไม่มีศักยภาพพอที่จะวางแผนดำเนินกิจกรรมด้วยตัวเองได้ ซึ่งก็อาจมีความเป็นจริงแต่เพียงบางส่วน แต่หากนักพัฒนามีความเชื่อมั่นในศักยภาพของความเป็น “คน” ของทุกคนว่ามีศักยภาพที่จะพัฒนาได้ ก็เป็นหน้าที่ของนักพัฒนาที่จะเสริมความรู้ หรือใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางในการจัดระบบความคิดของชาวบ้านให้สามารถวางแผนได้ 2.3 มีส่วนร่วมในการลงทุนและปฏิบัติ คำว่าทุนในที่นี้อาจไม่ได้หมายถึงเฉพาะเงินทุนเท่านั้นแต่ชาวบ้านยังมีทรัพยากรที่อาจหามาได้เอง เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ (ทราย หิน ไม้ไผ่ ฯลฯ) หรือวัสดุตามธรรมชาติในหมู่บ้าน และรวมถึงแรงงานของชาวบ้านเอง ส่วนในการปฏิบัตินั้นก็เช่นกัน ชาวบ้านสามารถที่จะเข้าร่วมดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม เป็นเจ้าของและเห็นคุณค่า พร้อมที่จะดูแลรักษา รวมทั้งการได้เรียนรู้การทำงานในกิจกรรมนั้นด้วย 2.4 มีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลงาน ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จำเป็นเพราะ การประเมินผลงานจะช่วยให้ทราบถึงขั้นตอนการทำงาน ผลสำเร็จและหรือปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนแผนให้เกิดผลงานที่ดีที่สุด ตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่าถูกจุด 3. หลักการช่วยตัวเอง การพัฒนาชุมชนนั้นหลักสำคัญที่สุด และเป็นเป้าหมายสูงสุดด้วย ก็คือการที่จะให้ประชาชน มีความเป็นอยู่ที่ดี สามารถพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามการส่งเสริมให้ชาวบ้านช่วยตัวเองได้นั้น ก็จำต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของชาวบ้านเองด้วย โดยเฉพาะข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ การดำเนินงานพัฒนาควรเริ่มจากโครงการที่ไม่ใหญ่จนเกินกำลังชาวบ้าน ชาวบ้านมีศักยภาพพอที่จะดำเนินโครงการนั้นจนประสบความสำเร็จ อาทิ เช่น พัฒนาตัวเองและครอบครัวก่อน และในบางกรณีรัฐบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการนั้น อาจต้องให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านงบประมาณลงทุนประเดิมให้ก่อน เช่น การสนับสนุนพันธ์วัว ต้นกล้าผลไม้ และเมื่อชาวบ้านดำเนินโครงการประสบความสำเร็จก็ชดชดใช้ทุนคืน
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
krittameth777555
22 ส.ค. 2564
Content media
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
krittameth777555
22 ส.ค. 2564
การบริหารระบบราชการในอนาคต ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะใช้โมเดลขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม เพื่อพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 ดังนั้นระบบราชการ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อสอดรับกับบริบทที่จะเกิดขึ้น จากการเป็นประเทศไทย 4.0 โดยภาครัฐหรือระบบราชการ จะต้องทำงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก (Better Governance, Happier Citizens) หมายความว่า ระบบราชการไทยจะต้องปฏิรูปขนานใหญ่ เพื่อให้สามารถเป็นที่ไว้วางใจและเป็นพึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง กล่าวคือภาครัฐต้องปรับตัวและต้องพลิกโฉมเข้าสู่ยุคดิจิทัล ยกระดับประสิทธิภาพภาครัฐ สู่สังคมดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้น ภาครัฐจึงต้องมุ่งเน้นความคล่องตัวเพื่อขับเคลื่อนภารกิจพิเศษ (Agenda-based) และนําเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาพลิกโฉม หน่วยงานภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 (Government 4.0 หรือ Gov. 4.0) อันเป็นฟันเฟืองและเสาหลักที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับทิศทางในการบริหารงานของประเทศให้ก้าวสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งจะส่งผลให้กลไกการพัฒนาระบบราชการมีการปรับตัวต่อความท้าทายใหม่ๆ อีกทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศ และยังเป็นการยกระดับสมรรถนะของหน่วยงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้พัฒนากรอบแนวทางการยกระดับสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีการพัฒนาองค์การไปสู่“ระบบราชการ 4.0” ที่มีการทำงานอย่างเปิดกว้างและเชื่อมโยงถึงกัน (Open & Connected Government) มีการทำงานโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government) เป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government) โดยอาศัยปัจจัยหลักสำคัญคือ การสานพลังทุกภาคส่วน (Collaboration) การสร้างนวัตกรรม (Innovation) และการปรับเข้าสู่การเป็นดิจิทัล (Digitization/ Digitalization) สสปท. จึงได้เริ่มพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการขององค์กร เพื่อขับเคลื่อนการให้บริการตามยุทธศาสตร์และภารกิจในการสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกัน เพื่อให้แรงงานของประเทศมีความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี ยุทธศาสตร์ระดับชาติ 5G เป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ในยุคดิจิทัล โดย...พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และอดีตรองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อเครือข่ายไร้สาย 3G เปิดตัวในปี 2000 ก็ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าโลกของโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นอย่างไรและจะมีผลกระทบอย่างไร ซึ่ง 3G ได้กลายเป็นตัวกระตุ้นให้ Google, Facebook และ YouTube เติบโตอย่างก้าวกระโดด จนในปี 2010 มีการใช้ 4G เป็นปีแรกๆ ทำให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่และบริษัทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Airbnb, Uber, Netflix, Spotify และ LINE เกิดขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็ว และคำถามต่อไปคือ จะเกิดอะไรขึ้นในยุค 5G? รัฐบาลในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ต่างมีความต้องการที่จะผลักดันประเทศของตนให้เป็นผู้นำในเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยคต่อไป นั่นคือ “ยุค 5G” ซึ่งหากประเทศมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ดีก็จะทำให้รัฐบาลสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมที่ทันสมัยของประเทศได้ และจะสามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ สำหรับการเติบโตได้ โดยการขับเคลื่อนธุรกิจให้มีรูปแบบบริการเรียลไทม์ ดังนั้น 5G จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอีกขั้นหนึ่ง สำหรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายที่มีศักยภาพอย่างมาก สามารถเพิ่มผลผลิตและสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกด้วย จึงทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีการพูดถึง 5G กันอย่างมากในปัจจุบัน GSMA คาดการณ์ว่าภายในปี 2025 ทั่วโลกจะมีเครือข่าย 5G ครอบคลุม 1 ใน 3 ของประชากรโลก โดยจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้มากถึง 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2025 และสามารถสร้างตำแหน่งงานได้มากกว่า 17.3 ล้านตำแหน่งงาน IDC ได้คาดการณ์ว่าการให้บริการ 5G จะเริ่มต้นขึ้นอย่างชัดเจนทั่วโลกในต้นปี 2019 และจะแพร่หลายอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2021 ถึง 2023 และเทคโนโลยี 5G จะเป็นเทคโนโลยีหลักที่สามารถขจัดอุปสรรคในด้านการสื่อสารต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการประยุกต์ใช้ในธุรกิจทุกธุรกิจ จากรายงานของ Statista คาดการณ์ว่าในยุค 5G จะมีอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) จำนวนมากถึง 31 พันล้านชิ้นเชื่อมต่อกันบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก และจะทำให้ธุรกิจต่างๆ มีโอกาสใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมดิจิทัลในทศวรรษต่อจากนี้ และตลาดของ IoT จะมีมูลค่ากว่า 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2020 และผลการวิเคราะห์ของ Business Insider Intelligence ในรายงาน Internet of Things จะมีค่าตลาดสูงถึง 15 ล้านล้านเหรียญสหรัฐระหว่างปี 2017 ถึง 2025 มีการวิเคราะห์จาก Intel และ OVUM ว่าในปี 2025 จะเป็นจุดก้าวกระโดดของ 5G โดยในรายงานระบุว่า รายได้จากสื่อไร้สายทั่วโลก 57% จะถูกสร้างขึ้นโดยใช้ความสามารถของแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้นเป็นพิเศษของเครือข่าย 5G โดยอุปกรณ์และสรรพสิ่งต่างๆ ที่ทำงานบน 5G จะเชื่อมโยงเชื่อมต่อกันนับพันล้านชิ้นทั่วโลกภายในปี 2025 และด้วยความหน่วงเวลาที่ต่ำของเครือข่าย 5G จะทำให้การถ่ายทอดสตรีมมิ่งวิดีโอได้อย่างไม่สะดุดหรือติดขัด และสามารถดาวน์โหลดข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ภายในพริบตา ายงานของ Intel และ OVUM ยังได้ระบุถึงส่วนแบ่งรายได้จากเครือข่าย 5G ที่แซงหน้า 3G และ 4G ด้วยการใช้ความสามารถใหม่ๆ โดยในปี 2025 5G จะสร้างรายได้มากกว่า 55% ของรายได้ทั้งหมด 183 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก 321 พันล้านเหรียญสหรัฐ สหภาพยุโรป จากแผน “5G for Europe: An Action Plan” ที่สหภาพยุโรปได้ประกาศในเกือนกันยายน 2016 เพื่อชักชวนให้ประเทศสมาชิกมีการกำหนดยุทธศาสตร์ 5G ของประเทศ (National 5G Strategy) ซึ่งปรากฏว่ามีประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 5G แล้ว อิตาลี ได้ดำเนินโครงการริเริ่มจำนวนมากสำหรับบริการ 5G โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ และการสนับสนุนการทดลองต่างๆ โดยจะมีการนำแผนมาใช้ครอบคลุมทั่วประเทศ สวีเดน ได้มีการกำหนดแผนการสำคัญเกี่ยวกับ 5G ใน “ยุทธศาสตร์บรอดแบนด์” ที่จะสามารถเชื่อมต่อสวีเดนได้อย่างสมบูรณ์ ภายในปี 2025
0
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
krittameth777555
22 ส.ค. 2564
การบริหารโครงการพัฒนา เนื้อหาของการบริหารโครงการพัฒนาแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน ด้วยกัน คือ 1.ประเภทของโครงการพัฒนา 2.สภาพแวดล้อมของการบริหารโครงการพัฒนา 3.การเตรียมและปรับ (การวิเคราะห์) โครงการพัฒนา 4.การน าโครงการพัฒนาไปปฏิบัติ 5.การประเมินผลโครงการพัฒนา และ ผลกระทบของโครงการพัฒนา ดังมีรายละเอียดข้างล่าง ประเภทของโครงการพัฒนา โครงการพัฒนาอาจแบ่งออกได้เป็น หลายประเภท ตาม มิติต่างๆ ดังต่อไปนี้ (1) โครงการพัฒนาแบ่งตามมิติระดับของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น โครงการพัฒนาระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น (2) โครงการพัฒนาแบ่งตามระยะเวลาดำเนินงาน เช่น โครงการพัฒนาระยะสั้น โครงการ พัฒนาระยะกลาง และโครงการพัฒนาระยะยาว (3) โครงการพัฒนาแบ่งตามมิติพื้นที่ที่ดำเนินงาน เช่น โครงการพัฒนาในเขตเมือง โครงการ พัฒนาในเขตชนบท (4) โครงการพัฒนาแบ่งตามมิติภาค (sector) ของการพัฒนา เช่น โครงการพัฒนาภาค เกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และโครงการพัฒนาภาคบริการ เป็นต้น (5) โครงการพัฒนาแบ่งตามมิติวัตถุประสงค์ เช่น โครงการพัฒนาที่มุ่งไปที่วัตถุ หรือโครงการ พัฒนาที่มุ่งไปที่ตัวคนหรือจิตใจ นอกจากนี้ โครงการพัฒนาที่แบ่งตามมิติวัตถุประสงค์ยังสามารถ แบ่งย่อยออกไปอีกดังนี้ (ก) โครงการทดลอง (experiment project) โครงการทดลองมีขนาดเล็กไม่หวังผลใน ทันทีทันใด มุ่งที่จะกำหนดปัญหา และหาวิธีแก้ปัญหาให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ (ข) โครงการนำร่อง (pilot project) เป็นโครงการที่มุ่งทดลองการดำเนินงานให้ เหมาะสมกับท้องถิ่น (ค) โครงการสาธิต (demonstration project) เป็นโครงการที่แสดงให้เห็นว่าวีการใหม่ ดีกว่าวิธีการเก่า และน่าจะนำมาใช้ (ง) โครงการผลิตซ้ำเพื่อนำมาใช้ใหม่ (replication project) สภาพแวดล้อมของการบริหารโครงการพัฒนา การบริหารโครงการพัฒนามิได้นำเนินไปในสุญญากาศ หากต้องตกอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมทั้งจาก ภายนอกประเทศและในประเทศเช่นเดียวกันกับองค์ประกอบรองอื่นๆ ของการบริหารเพื่อการพัฒนาและ การบริหารการพัฒนา ในทางตรงกันข้าม โครงการบริหารการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ก็อาจส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเหล่านี้ การเตรียมและปรับ (วิเคราะห์) โครงการพัฒนา การนำโครงการพัฒนาไปปฏิบัติการประเมินผลโครงการพัฒนา และผลกระทบของโครงการพัฒนาการเตรียมและปรับ(วิเคราะห์) โครงการพัฒนาไปปฏิบัติ และการประเมินผล และผลกระทบของโครงการพัฒนา อาจแสดงให้เห็นได้ โดยภาพข้างล่างนี้
Content media
0
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
krittameth777555
18 ส.ค. 2564
@krittameth777555 ...ต่อ... ประเด็นยุทธศาสตร์/เป้าประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนานวัตกรรมการให้บริการการประชาชนโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เป้าประสงค์ : ส่งเสริมและพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐไทยให้มีความเป็นเลิศ ยกระดับประสิทธิภาพงานบริการ พัฒนานวัตกรรม ให้เข้าถึงง่าย สะดวก มีค่าใช้จ่ายน้อยและมีหลากหลายรูปแบบ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน กลยุทธ์ที่ 1.1 พัฒนาการบริการภาครัฐให้สะดวก รวดเร็ว ค่าใช้จ่ายน้อย และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน กลยุทธ์ที่ 1.2 เพิ่มขีดความสามารถในการจัดเก็บและเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศเพื่อการให้บริการประชาชน กลยุทธ์ที่ 1.3 ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาโครงสร้างและระบบบริหารจัดการภาครัฐ ให้มีขนาดเหมาะสม คล่องตัว และมีขีดสมรรถนะสูง โดยใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี เป้าประสงค์ : ปรับปรุงบทบาท ภารกิจและโครงสร้างของหน่วยงานภาครัฐ ให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยดำเนินการเฉพาะภารกิจที่สำคัญ จำเป็น และคุ้มค่ามีโครงสร้างที่เหมาะสม ยืดหยุ่น คล่องตัว ตลอดจนพัฒนาระบบการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐให้มีขีดสมรรถนะสูง โดยใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน กลยุทธ์ที่ 2.1 ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างของภาครัฐให้มีขนาดกะทัดรัดเหมาะสมกับภารกิจ มีความยืดหยุ่น ปรับตัวได้เร็วพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์ที่ 2.2 พัฒนารูปแบบ แนวทางการดำเนินงาน และบทบาทของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เป็นระบบบริหารราชการรูปแบบใหม่ มองไปข้างหน้า เป็นระบบงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง กลยุทธ์ที่ 2.3 พัฒนารูปแบบการดำเนินการและการบริหารงานของภาครัฐให้มีลักษณะการทำงานเชิงรุก และมองไปข้างหน้า โดยทำงานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้าและมีการวิเคราะห์ความเสี่ยง กลยุทธ์ที่ 2.4 ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์กรของหน่วยงานภาครัฐ กลยุทธ์ที่ 2.5 พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการภาครัฐเต็มรูปแบบ กลยุทธ์ที่ 2.6 สรรหาและพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่มีขีดสมรรถนะสูงเข้าสู่ระบบราชการเพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์ที่ 2.7 ทบทวนและปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระเบียบบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป กลยุทธ์ที่ 2.8 เสริมสร้างและพัฒนาขีดสมรรถนะเครือข่ายการพัฒนาระบบราชการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบราชการให้เปิดกว้างเชื่อมโยงบูรณาการและมีส่วนร่วมกับประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เป้าประสงค์ : พัฒนาระบบบริหารงานแบบบูรณาการระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แบบยึดพื้นที่อย่างเป็นองค์รวมกับทุกภาคส่วน โดยใช้กลไกประชารัฐ ออกแบบโครงสร้างและระบบบริหารงานที่รองรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ พร้อมทั้งต้องมีการเปิดเผยโปร่งใสในการทำงาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการหรือมีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน และสามารถเข้ามาตรวจสอบการทำงานของรัฐได้ กลยุทธ์ที่ 3.1 วางระบบการวางแผนและกำหนดนโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐให้ประชาชน ภาคเอกชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดินแบบประชารัฐที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง กลยุทธ์ที่ 3.2 ส่งเสริมการถ่ายโอนภารกิจที่ภาครัฐไม่ควรดำเนินการเองออกไปให้แก่ภาคส่วนอื่น ๆ เป็นผู้ดำเนินการแทน กลยุทธ์ที่ 3.3 วางระบบการบริหารราชการแบบบูรณาการและทำงานเชิงรุก กลยุทธ์ที่ 3.4 วางระบบการทำงานที่เปิดเผยโปร่งใสในการทำงาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการหรือแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกันได้ กลยุทธ์ที่ 3.5 ส่งเสริมการบูรณาการข้อมูลผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลกลางระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ให้มีมาตรฐานและปลอดภัย กลยุทธ์ที่ 3.6 เพิ่มประสิทธิภาพและเชื่อมโยงการทำงานภายในภาครัฐด้วยกันเองให้มีเอกภาพและสอดรับประสานกัน ทั้งการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น กลยุทธ์ที่ 3.7 พัฒนาระบบประเมินผลงานภาครัฐ โดยประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียตัวจริง ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมธรรมาภิบาลในภาครัฐ เป้าประสงค์ : ส่งเสริมสนับสนุนในการเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตในระบบราชการปรับปรุงกระบวนการทำงานของภาครัฐให้โปร่งใส ลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและความเชื่อมั่นให้แก่ระบบราชการไทย กลยุทธ์ที่ 4.1 สร้างระบบธรรมาภิบาลที่ยั่งยืนในหน่วยงานภาครัฐ กลยุทธ์ที่ 4.2 สร้างความตระหนักรู้และปลุกจิตสำนึกเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบเพื่อสร้างความโปร่งใสในการบริหารงานภาครัฐ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาสำนักงาน ก.พ.ร. ให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง ยืดหยุ่นคล่องตัว และเป็นองค์กรดิจิทัลเต็มรูปแบบ เป้าประสงค์ : พัฒนารูปแบบและกระบวนการทำงาน วางโครงสร้างพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติราชการภายในสำนักงาน ก.พ.ร. และพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัลดิสรัปชัน และสามารถให้คำปรึกษาแก่ส่วนราชการอื่นเพื่อการพัฒนาระบบราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ที่ 5.1 ทบทวนและปรับปรุงระบบและกระบวนงานภายในสำนักงาน ก.พ.ร.ให้สอดคล้องกับภารกิจ เทคโนโลยี และมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ที่ 5.2 พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงานของสำนักงาน ก.พ.ร.ให้ทันสมัย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน กลยุทธ์ที่ 5.3 พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานและการบริหารงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม ปลอดภัย กลยุทธ์ที่ 5.4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรและรูปแบบการปฏิบัติงาน ให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ กลยุทธ์ที่ 5.5 พัฒนาระบบการบริหารจัดการและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ก.พ.ร. ให้สอดคล้องกับกระบวนงาน เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สำนักงาน ก.พ.ร.
0
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
krittameth777555
18 ส.ค. 2564
Modul 2 นายกฤตเมธ เชิดชู รหัส 63423471054 รุ่น46 การพัฒนาการบริหารของระบบราชการไทยรวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหาร วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ "ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างต่อเนื่องและบังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ระบบราชการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน" พันธกิจ มีหน้าที่หลักในการสนับสนุนการทำงานของ ก.พ.ร. เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่น เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ มาตรา 3/1 แห่งกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ ภารกิจหลักของสำนักงาน ก.พ.ร. มีขอบเขตครอบคลุมในเรื่องเกี่ยวกับ 1. งานเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) 2. ภารกิจด้านนโยบายการพัฒนาระบบราชการ 2.1 ศึกษา วิเคราะห์ทิศทางหรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยในอนาคต รวมทั้งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่อการพัฒนาระบบราชการ 2.2 ศึกษาบทบาทภาครัฐไทยในอนาคต แนวทางและวิธีการในการปรับบทบาทเดิมไปสู่บทบาทใหม่ในอนาคต2.3 จัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการในรูปแบบดิจิทัลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ คาดการณ์ เสนอแนะนโยบาย และเปิดเผยต่อสาธารณะ 2.4 สร้างการรับรู้ เข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาครัฐ 3. ภารกิจด้านการให้บริการประชาชน 3.1 พัฒนา ส่งเสริมการยกระดับการให้บริการภาครัฐตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 3.2 ขับเคลื่อนการให้บริการภาคธุรกิจและภาคประชาชนด้วยระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ 3.3 สนับสนุนการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลในการเพิ่มขีดความสามารถเชิงดิจิทัลภาครัฐ ในการบริหารจัดการด้านบูรณาการข้อมูลภาครัฐ 3.4 ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริการภาครัฐ เปิดให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น ออกแบบ และเสนอแนวทางในการพัฒนาบริการภาครัฐ 3.5 ทบทวน ยกเลิก ปรับปรุง กฎหมาย กฎระเบียบ แนวทางปฏิบัติที่เป็นอุปสรรคต่อการอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน และการเป็นรัฐบาลดิจิทัล 4. ภารกิจปรับบทบาท ภารกิจและโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐ 4.1 การพัฒนาการจัดแบ่งบทบาทและอำนาจหน้าที่ที่เหมาะสมระหว่างบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น 4.2 บูรณาการบทบาทภารกิจ โครงสร้าง และเชื่อมโยงการทำงานของภาครัฐในทุกระดับ ทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพและสอดรับประสานกันตามห่วงโซ่การพัฒนา โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชน ภาคส่วนอื่น มีบทบาทในการดำเนินงานของภาครัฐเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้มีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น 4.3 การจัดโครงสร้างส่วนราชการ และจังหวัดให้ดำเนินการเฉพาะภารกิจที่สำคัญจำเป็น มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น ทันสมัย ปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง 4.4 มอบอำนาจการแบ่งส่วนราชการภายในกรมและประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผล และความคุ้มค่าภายหลังการปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการ 4.5 เสนอแนะนโยบาย แนวทาง หลักเกณฑ์กลาง และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้ง การรวม การยุบเลิก และการประเมินความคุ้มค่าขององค์การมหาชนและหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ 5. ภารกิจเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ 5.1 พัฒนาส่วนราชการ จังหวัด และองค์การมหาชน ให้มีขีดสมรรถนะสูง (High Performance Organization) มุ่งสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 และบริหารจัดการภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 5.2 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ จังหวัด และองค์การมหาชน โดยปรับระบบการประเมินผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการเพื่อการพัฒนาหน่วยงาน (enable) ควบคู่กับการประเมินผลการปฏิบัติงาน (performance) 5.3 มอบอำนาจการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการของส่วนราชการจังหวัด และองค์การมหาชน 5.4 สร้างความเข้มแข็งของจังหวัดให้เป็นจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง ให้มีความคล่องตัวในการบริหารระบบงาน ระบบเงิน และระบบกำลังคน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.5 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายรัฐ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ และการบริหารราชการ
0
1
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
krittameth777555
18 ส.ค. 2564
Modul 2 นายกฤตเมธ เชิดชู รหัส 63423471054 รุ่น46 แนวทางการพัฒนาในระดับจุลภาค เครื่องชี้วัดหรือดัชนีการพัฒนานั้นมี 2 ระดับ คือ ระดับจุลภาคและระดับมหภาค ซึ่งจะกล่าวต่อไป ดังนี้ 1. ดัชนีการพัฒนาในระดับจุลภาค ดัชนีการพัฒนาในระดับจุลภาคนี้ ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาและบ่งชี้ระดับของการพัฒนาได้ คือ ดัชนีสร้างสัญลักษณ์ (Symbolic Structures) ของ ศาสตราจารย์ Frank W. Young สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลสหรัฐอเมริกา ได้อธิบายว่า “ในสังคมหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยระบบย่อย ๆ แต่ละระบบจะมีลักษณะโครงสร้างที่แตกต่างกัน ความแตกต่างของโครงสร้างนี้สามารถวิเคราะห์ได้จากสิ่งต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นเป็นสัญลักษณ์ทางสังคมและสัญลักษณ์ทางสังคมเหล่านี้จะเป็นเครื่องชี้แต่ละระบบที่ประกอบขึ้นเป็นระบบใหญ่ขึ้น จะมีปริมาณของสิ่งที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนสถาบันแตกต่างกัน ระบบใดมีปริมาณสิ่งของที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนสถาบันน้อย ถือได้ว่ามีระดับทางโครงสร้างต่ำ ระบบใดมีปริมาณหรือจำนวนสิ่งของที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนสถาบันมาก ถือว่ามีระดับความแตกต่างโครงสร้างสูง” โดยนัยแห่งทฤษฎีนี้ ดัชนีของการพัฒนาจึงมีอยู่ที่ระดับความแตกต่างทางโครงสร้างของชุมชนหรือสังคมเป็นสำคัญ ส่วนปัจจัยที่ทำให้ลักษณะโครงสร้างในระบบย่อยเหล่านี้แตกต่างกัน หรือมีปริมาณสิ่งของที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนสถาบันไม่เท่ากัน ได้แก่ การติดต่อสัมพันธ์และการเข้าถึงบริการจากศูนย์กลางหรือระบบใหม่ (Relative Centrality) ของระบบย่อยเหล่านั้น การวิเคราะห์ดัชนีการพัฒนาในระดับจุลภาค ใช้ตัวแปรดังต่อไปนี้ 1) ความแตกต่างทางโครงสร้าง (Structural Differentiation) หมายถึง ระดับหรือปริมาณหมู่บ้านที่เป็นระบบย่อย เป็นสัญลักษณ์แทนสถาบันที่ปรากฏในชุมชน เช่น โรงเรียน วัด สถานีอนามัย ร้านค้า เป็นต้น 2) การติดต่อกับศูนย์กลางหรือระบบใหญ่ (Relative Centrality) หมายถึง ระดับหรือปริมาณของหมู่บ้านที่เป็นระบบย่อย ได้มีการติดต่อหรือรับบริการจากสถาบันหรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนภายนอกมากน้อยเพียงใด สิ่งที่เป็นเครื่องชี้วัด คือ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ถนน ยานพาหนะ และผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น 3) ความเป็นปึกแผ่นของชุมชน (Solidarity) หมายถึง ระดับหรือปริมาณการแพร่กระจายของสื่อที่กำหนดให้เป็นสัญลักษณ์แทนสถาบัน ซึ่งชี้ให้เห็นถึงปริมาณทักษะ ความรู้ความสามารถของชุมชน เช่น กิจกรรมการรวมกลุ่ม การร่วมประกอบกิจกรรม กลุ่มสหกรณ์ พิธีกรรมชุมชน รวมทั้งจำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมด้วย 2. ดัชนีการพัฒนาในระดับมหภาค การใช้ดัชนีการพัฒนาในระดับมหภาคชี้วัดการพัฒนา มีความสำคัญและสามารถบ่งบอกถึงภาพรวมของการพัฒนาในระดับกว้างได้ว่า มีการพัฒนาไปได้มากน้อยแค่ไหนและถ้าใช้ดัชนีการพัฒนาในระดับจุลภาคควบคู่ไปด้วย จะทำให้มองเห็นภาพของการพัฒนามีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น พิจารณาดัชนีการพัฒนาในระดับมหภาค ได้ดังนี้ 1) การใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติต่อหัวเป็นดัชนี (GNP Per Capita) ซึ่งได้ถูกนำมาใช้จัดลำดับการพัฒนาประเทศ โดยมีความเชื่อว่าประเทศไทยจะมีความทันสมัยหรือมีการพัฒนาในระดับใดนั้น วัดจากรายได้ต่อบุคคลของประชากร ประเทศใดมีรายได้ต่อหัวสูงกว่าอีกประเทศหนึ่ง แสดงว่าประเทศนั้นมีการพัฒนาในระดับสูงกว่า ซึ่งรายได้ต่อหัว คิดคำนวณจากผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product) หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด ประเทศไทยใช้คำว่า GNP Per Capita 2) การใช้ระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นดัชนี โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่า ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งหมายถึง คุณภาพของมนุษย์ ได้แก่ พลังงาน ทักษะ พรสวรรค์ และความรู้ของประชาชน เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เป็นประโยชน์ ประเทศใดมีการสะสมทรัพยากรมนุษย์ไว้มาก ประเทศนั้นก็มีโอกาสเจริญก้าวหน้าสูง ทั้งนี้ ทรัพยากรมนุษย์นั้นจะต้องมีคุณภาพด้วย โดยการคำนวณจาก ·จำนวนผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละของประชากรในกลุ่มอายุ 15-19 ปี คูณด้วยระยะเวลาของการเรียน คือ 5 ปี ·จำนวนผู้เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา คิดเป็นร้อยละของประชากรในกลุ่มอายุที่ควรศึกษาในระดับอุดมศึกษา คือ 20-24 ปี คูณด้วยระยะเวลาของการเรียน คือ 5 ปี 3) การใช้ดัชนีคุณภาพทางกายภาพของชีวิต (The Physical Quality of Life Index, PQLI) การใช้ดัชนีรายได้ต่อบุคคล บ่งชี้ระดับการพัฒนาประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สรุปได้ยาก ในการที่จะจัดลำดับว่าประเทศพัฒนาหรือไม่ เพราะเป็นการจัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ดัชนี PQLI จะวัดในด้านการอ่านออกเขียนได้ การมีชีวิตรอดของทารกแรกเกิด และอายุขัยของชีวิต ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึง คุณภาพชีวิตของประชากรแต่ละประเทศ ประเทศใดประชากรมีคุณภาพชีวิตในระดับสูง ก็ย่อมเจริญกว่าประเทศที่มีประชากรที่มีคุณภาพชีวิตในระดับต่ำกว่า ดัชนีชี้วัดระดับของการพัฒนาที่ประเทศไทยใช้วัดระดับของการพัฒนาในระดับหมู่บ้าน ตำบล หรือในชุมชนเมือง ซึ่งถือว่าเป็นดัชนีชี้วัดระดับการพัฒนาในระดับจุลภาคอย่างหนึ่ง คือ เครื่องชี้วัด ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 9 หมวด 50 ตัวชี้วัด
0
0
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
krittameth777555
18 ส.ค. 2564
Modul 2 นายกฤตเมธ เชิดชู รหัส 63423471054 รุ่น46 การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ประเทศไทยได้พัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ โดยการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่1(2504-2509)จนถึงแผนพัฒนาฯฉบับที่10(2550-2554) นั้น ได้ข้อสรุปว่า“เศรษฐกิจดี สังคมยังมีปัญหา การพัฒนายังไม่สมดุล สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในช่วงนั้น โลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาผู้นำในโลกเสรีเข้าสู่สงคราม เวียดนาม พ.ศ.2503และตั้งฐานทัพในประเทศไทย พ.ศ.2505 พรรค คอมมิวนิสต์เริ่มการต่อสู้ในประเทศไทยประมาณ พ.ศ.2508การเมือง ประเทศไทยบริหารแบบรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลาง นายกรัฐมนตรี ในช่วงนั้น คือ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ. 2502-2506) และ จอมพลถนอม กิตติขจร(พ.ศ.2506–2516)การบริหารประเทศในช่วงนี้ ถือว่าอยู่ในระบบเผด็จการ 16 ปี เศรษฐกิจของไทย ภาคการเกษตรมีบทบาทสำคัญ ในการผลิตและการส่งออก ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ยังอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ป่าไม้อยู่ถึงร้อยละ 53 ของพื้นที่ประเทศ มีกำลังแรงงานมาก แต่ผู้คนส่วนใหญ่ยากจน รายได้ต่อหัวประมาณ 3,000–4,000 บาท ต่อปีในช่วงเวลาดังกล่าว ประชากรมีประมาณ 37 ล้านคน การวางแผนพัฒนาประเทศในช่วงนั้นมีอิทธิพลทางความคิด จากประเทศตะวันตก และธนาคารโลกค่อนข้างมาก กระบวนการ จัดทำแผนฯ ใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศร่วมกับนักวิชาการ ในประเทศและข้าราชการส่วนกลางในการร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509) ระยะเวลา 6 ปีและแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510-2514) ระยะเวลา 5 ปี ความคิดหลักของแผนฯ ในช่วงนั้น คือ การเร่งรัด การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปูพื้นฐานสำคัญๆ ทางเศรษฐกิจของ ประเทศ พัฒนาลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ผลิตภาคอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนการนำเข้า ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 เริ่มวางแผน กำลังคน กระจายโครงสร้างพื้นฐานไปภูมิภาค คำขวัญของการพัฒนา ประเทศในช่วงนั้น โดยเฉพาะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 คือ “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 มีลักษณะการวางแผนเชิงโครงการ ด้านเศรษฐกิจเช่น การสร้างเขื่อนพลังน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าการสร้างถนน เพื่อเปิดพื้นที่ใหม่ แผนฯ จึงมีลักษณะการจัดลำดับความสำคัญของ โครงการลงทุน โดยเฉพาะที่จะใช้เงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ในแผนพัฒนาฯฉบับที่2 มีลักษณะการวางแผนฯเป็นเชิงระบบมากขึ้น เป็นการวางแผนรายสาขา แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 ให้ความสำคัญกับการพัฒนา สังคมมากขึ้น ให้พัฒนาสังคมควบคู่ไปกับเศรษฐกิจ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 จึงเปลี่ยนชื่อ จากแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติเป็น “แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ผลของการพัฒนา ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 และ 2 ที่สำคัญ เช่น ·เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ7.9ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 และ ร้อยละ 7.2 ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 ·สร้างเขื่อนพลังน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า เขื่อนภูมิพล แล้วเสร็จ พ.ศ. 2507 ·พัฒนาระบบทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงชนบท เช่น ถนนมิตรภาพ เพื่อเปิดพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ·พัฒนาวางระบบชลประทาน และการจัดรูปที่ดินในเขต ชลประทาน เพื่อส่งเสริมปฏิรูปภาคเกษตรของไทย จากเกษตรแบบดั้งเดิม มาเป็นเกษตรสมัยใหม่ ที่ให้ ความสำคัญกับการผลิตในเชิงพาณิชย์นำเทคโนโลยีและ การวิจัยมาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิต ทำให้ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอาหารส่งออกเป็นลำดับ 5 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส ในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ประเทศไทย มีบทบาทสำคัญในการร่วมจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN) ขึ้นใน พ.ศ. 2510
0
0
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
krittameth777555
15 ส.ค. 2564
นายกฤตเมธ เชิดชู รหัส 63423471054 รุ่น46 กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของสหรัฐอเมริกา กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของสหรัฐอเมริกา แตกต่างจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย กล่าวคือประเทศไทยผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญามี 2 พวก คือ พนักงานอัยการ และผู้เสียหาย เมื่อพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องคดีอาญาแล้วก็สามารถนำตัวจำเลยไปฟ้องคดีต่อศาลที่มีอำนาจได้เลยโดยไม่มีการตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐหรือภาคเอกชน แต่ถ้าพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องจึงมีการตรวจสอบการสั่งคดีของพนักงานอัยการโดยคดีในต่างจังหวัดที่สอบสวนโดยพนักงานฝ่ายปกครอง พนักงานอัยการต้องส่งสำนวนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณา หากผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบก็จะทำให้คดีนั้นมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นแย้งให้ฟ้องผู้ต้องหาก็จะส่งสำนวนเสนออัยการสูงสุดสั่งคดีต่อไป ถ้าคดีอาญาในต่างจังหวัดสอบสวนโดยตำรวจ พนักงานอัยการก็จะส่งสำนวนไปให้ผู้บัญชาการตำรวจที่เป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนพิจารณาเช่น สำนวนคดีของสถานีตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่นก็ต้องส่งสำนวนไปให้ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 พิจารณา เป็นต้น ส่วนคดีในกรุงเทพฯ ส่งไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 และ 145/1 สำหรับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในสหรัฐอเมริกามีลักษณะและรูปแบบเฉพาะ คือเป็นระบบ Dual Sovereignty กล่าวคือ มีการแยกอำนาจในการดำเนินคดีอาญาระหว่างรัฐบาลกลาง (Federal System) และมลรัฐ (State System) ออกจากกันอย่างชัดเจน ตามระบบ Dual Sovereignty ทั้งรัฐบาลกลางและมลรัฐ มีอำนาจดำเนินคดีอาญาจำเลยในการกระทำเดียวกันหากพบว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายของรัฐบาลกลางและกฎหมายของแต่ละมลรัฐในคราวเดียวกัน ดังนั้นกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในสหรัฐอเมริกา จำแนกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับสหพันธรัฐ (Federal State) และระดับมลรัฐ (States) การดำเนินคดีอาญาทั้งในระดับ Federation และระดับ State จะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานอัยการเท่านั้น ประชาชนไม่สามารถนำคดีอาญาขึ้นฟ้องต่อศาลได้ด้วยตนเอง เพราะการควบคุมการดำเนินคดีอาญาเป็นภารกิจของรัฐแต่เพียงผู้เดียว เพื่อป้องกันเอกชนในการเอาคดีอาญามาแกล้งฟ้องเพื่อให้ร้ายกันหรือเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของอีกฝ่ายหรือใช้คดีอาญาในการสร้างอำนาจต่อรองกับคู่กรณี ทั้งนี้ในกรณีที่คดีอาญาไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสามารถเอาผิดต่อผู้ต้องหาได้ พนักงานอัยการผู้ตรวจสำนวนจะปฏิเสธการรับสำนวนตั้งแต่ต้น หรือแม้ว่าผู้ตรวจสำนวนจะได้รับสำนวนนั้นแล้ว แต่หากปรากฎในภายหลังว่าพยานหลักฐานในสำนวนคดีอาญาไม่เพียงพอ พนักงานอัยการเจ้าของสำนวนก็สามารถใช้ดุลยพินิจที่จะปฏิเสธการฟ้องคดีต่อศาลได้โดยการไม่ยื่นคำร้องต่อคณะลูกขุนใหญ่ (Grand Jury) เพื่อขออนุมัติให้พนักงานอัยการเสนอคำฟ้องต่อศาล ในทางกลับกันถ้าพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนพบว่ามีพยานหลักฐานที่สำคัญและจำเป็นต่อคดีบางส่วนขาดหายไปหรือไม่ได้รวบรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนหรือมีความจำเป็นที่จะต้องรวบรวมถ้อยคำจากบางคนอีก พนักงานอัยการเจ้าของสำนวนก็มีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนเพิ่มเติมหรือจะมอบหมายให้เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนประจำสำนักงานอัยการแห่งนั้นๆ ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ส่งสำนวนการสอบสวนนั้นทราบก็ได้ ในทางปฏิบัติ สำหรับคดีอาญาที่สำคัญๆ ที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือคดีอาญาใดๆ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจละเลยไม่ดำเนินการสืบสวนสอบสวนซึ่งอาจเกิดจากการอิทธิพลท้องถิ่นของผู้ต้องหาหรือกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต้องหาเสียเอง หากมีการร้องขอจากผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการทราบเหตุดังกล่าวด้วยตนเอง พนักงานอัยการก็มีอำนาจที่จะริเริ่มการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาเองได้โดยการสั่งให้เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนประจำสำนักงานอัยการแห่งนั้น ๆ ดำเนินการสืบสวนสอบสวนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานใดๆ ที่จำเป็นต่อคดีอาญาโดยไม่ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจส่งสำนวนการสอบสวนก็ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนประจำสำนักงานอัยการมีอำนาจในการพกพาอาวุธปีนและจับกุมผู้กระทำความผิดเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการมีอำนาจและดุลยพินิจที่เป็นอิสระในการพิจารณาคดี เรียกว่า Prosecutorial Discretion แม้ว่าคดีอาญาจะมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ โดยปราศจากข้อสงสัยแต่ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าเป็นคดีความผิดเล็กน้อย และเห็นควรให้โอกาสแก่ผู้ต้องหากลับตนเป็นคนดี พนักงานอัยการอาจสั่งไม่ฟ้องคดีอาญานั้นก็ได้ ในการนี้พนักงานอัยการอาจกำหนดเงื่อนไขบางปุระการ เช่น ผู้ต้องหาต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น ดังนั้น ข้อดีของกระบวนการนี้ คือ ผู้ต้องหาจะไม่มีประวัติอาชญากรติดตัว และไม่ต้องดำเนินกระบวนการ Plea Bargaining แต่หากผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ผู้ต้องหาจะต้องถูกฟ้องคดีต่อศาลในภายหลัง จึงอาจกล่าวได้ว่า หากพนักงานอัยการมีทางเลือกในการบริหารจัดการคดีอาญามากเท่าใด(Diversion Program) ก็จะสามารถให้ความเป็นธรรมได้มากยิ่งขึ้น คณะลูกขุนใหญ่ (Grand Jury) นั้น ผู้พิพากษาในแต่ละศาลจะเลือกบุคคลจำนวน 5 คน เป็นคณะกรรมการสรรหาคณะลูกขุนใหญ่ กรรมการแต่ละคนจะเสนอรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกเป็นคณะลูกขุนใหญ่ จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน ผู้พิพากษาจะทำการสัมภาษณ์บุคคลเหล่านั้นและจะเลือกคณะบุคคลจำนวนระหว่าง 16 – 23 คน ทำหน้าที่เป็นคณะลูกขุนใหญ่เป็นเวลา 1 – 4 เดือน เมื่อครบกำหนดผู้พิพากษาผู้ซึ่งรับผิดชอบในแต่ละศาล จะสรรหาคณะลูกขุนใหญ่เพื่อมาปฏิบัติหน้าที่แทนชุดเดิม
2
1
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
krittameth777555
15 ส.ค. 2564
นายกฤตเมธ เชิดชู รหัส 63423471054 @ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ กระแสแนวคิดและความพยายามในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบตำรวจอันเป็นต้นทางที่มีความสำคัญมากนั้นมีมานานแล้ว เมื่อครั้งรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบตำรวจขึ้นมาทำงาน และมีข้อเสนอเชิงนโยบายชุดหนึ่ง แต่ไม่ทันได้ดำเนินการก็หมดเวลาไปก่อน ต่อมาในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พยายามอีกครั้ง โดยรื้อฟื้นคณะกรรมการชุดดังกล่าวขึ้นมา แต่การดำเนินการเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้น้อยมาก เพราะแรงต้านจากภายในและสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่ติดพัน มาถึงวันนี้พฤติกรรมของกองทัพตำรวจที่รับใช้ระบอบการปกครองเผด็จการรัฐสภาและทุจริตคอร์รัปชั่น ประชาชนจำนวนมากลุกขึ้นมาต่อต้าน จนทำให้เกิดการเสียชีวิตไปแล้วเกือบ 20 คน และบาดเจ็บกว่า 700 ราย ทำให้กระแสเรียกร้องการปฏิรูปตำรวจทั้งระบบดังขึ้นมาอย่างเซ็งแซ่จากสังคมวงกว้าง มิใช่แค่เรื่องที่พูดคุยกันเฉพาะในหมู่นักวิชาการและผู้หวังดีอีกต่อไป เมื่อประมวลข้อเสนอเชิงนโยบายของกลุ่ม องค์กรและเครือข่ายต่างๆ ในเรื่องนี้แล้ว คณะทำงานเวทีภาคีพัฒนาประเทศไทยพบว่าข้อเสนอหลายส่วนยังเป็นแค่การปรับปรุงพัฒนาตามปกติมากกว่าที่จะเป็นการปฏิรูปโครงสร้างจริง ดังนั้น จึงได้สังเคราะห์กรอบประเด็นในการปฏิรูปขึ้นใหม่ ปฏิรูประบบตำรวจ 1)ปรับโครงสร้างตำรวจ กระจายอำนาจบริหารจัดการ - ในขณะที่ข้อเสนอของคณะกรรมการพัฒนาระบบตำรวจ ให้กระจายอำนาจบริหารจากส่วนกลาง คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ไปให้กองบัญชาการตำรวจภูธรภาคทั้ง 9 แห่ง และอีก 1 กองบัญชาการตำรวจ|นครบาล แต่ในเรื่องนี้เวทีภาคีพัฒนาประเทศไทยเห็นว่ายังไม่เพียงพอ -ตำรวจไทยทั้งหมดกว่าสามแสนคนและโรงพัก 1,488 แห่ง ปัจจุบันรวมศูนย์อยู่กับส่วนกลางเป็นเสมือนกองทัพ หากเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น ตำรวจทั้งประเทศรวม 2.7 แสนคน มีเพียง 7,000 คนเท่านั้นที่สังกัดอยู่ส่วนกลาง นอกนั้นร้อยละ 97 กระจายตัวสังกัดอยู่กับ 47 จังหวัด (พรีเฟคเจอร์) ทั้งสิ้น - ดังนั้นในระยะยาว จึงเสนอว่าควร ดำเนินการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการตำรวจทั้งระบบ โดยศึกษารูปแบบของประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ที่ให้บทบาทความสำคัญแก่โครงสร้าง กลไกและระบบตำรวจท้องถิ่น ส่วนในระยะเฉพาะหน้านั้น ควรกระจายการบริหารจัดการระบบตำรวจประจำพื้นที่ไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าฯ กทม.เสียจังหวะหนึ่งก่อน นอกจากนั้นต้องปรับบทบาท สตช.ให้ไปอยู่ภายใต้กระทรวงยุติธรรม มีคณะกรรมการนโยบายตำรวจเป็นกลไกกำกับทิศทาง ปรับปรุงสถานีตำรวจให้เป็นศูนย์บริการความปลอดภัยสังคมแบบเบ็ดเสร็จ (one stop service) และยกเลิกระบบชั้นยศแบบกองทัพ 2) เพิ่มระบบตรวจสอบและการมีส่วนร่วมของสังคม - จัดให้มีคณะกรรมการตำรวจที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ทั้งในระดับชาติ ภูมิภาคและระดับสถานี รวมทั้งจัดให้มีกลไกที่เป็นอิสระสำหรับพิจารณากรณีร้องทุกข์ร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่หรือพฤติกรรมของตำรวจ โดยผลักดันร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับตำรวจ พ.ศ....และทบทวน แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.....ในส่วนที่เกี่ยวข้อง 3) พัฒนาระบบงานและวิชาชีพสอบสวน - งานสอบสวนเป็นหัวใจสำคัญในการรวบรวมพยานหลักฐาน จัดทำสำนวนและความเห็นทางคดี ซึ่งต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญและหลักจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับวิชาชีพสำคัญอื่นๆ จึงควรต้องพัฒนาระบบงานสอบสวนอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการมีหน่วยงานวิชาการสอบสวนส่วนกลางทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานของประเทศ ปรับปรุงสายงานสอบสวนให้มีความเป็นอิสระทางวิชาชีพ ไม่ถูกแทรกแซงจากอำนาจและอิทธิพลภายนอก สร้างดุลยภาพระหว่างเจ้าหน้าที่ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน และกำหนดอัตราค่าตอบแทนบุคลากรในวิชาชีพอย่างเหมาะสม 4) ถ่ายโอนภารกิจที่มิใช่ตำรวจและเรื่องอื่นๆ - งานหลักของตำรวจมีสามประการ ได้แก่ การรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชน การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา และการถวายความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์และราชวงศ์ ส่วนงานอื่นที่พอกเข้ามานอกเหนือไปจากนี้ ควรต้องถ่ายโอนกลับไปให้หน่วยงานรับผิดชอบดูแล อาทิ งานตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจท่องเที่ยว ตำรวจป่าไม้ ตำรวจรถไฟ ตำรวจน้ำ ตำรวจทางหลวง ฯลฯ - งานผลิตและพัฒนาบุคลากรตำรวจ ควรได้รับการปรับปรุงทั้งในด้านวิชาการ หลักสูตร เทคโนโลยีและรูปแบบองค์การบริหารจัดการที่เป็นอิสระ ไม่ควรขึ้นต่อ สตช. และควรต้องมีภารกิจที่สอดคล้องกับโครงสร้างตำรวจที่จะปรับเปลี่ยนไปในอนาคต ปฏิรูประบบอัยการ - มีข้อเสนอในการปรับปรุงภาพลักษณ์และสร้างศรัทธาต่อทั้งระดับสถาบันอัยการและตัวบุคคล เสนอให้ปรับเปลี่ยนสำนักอัยการสูงสุดกลับมาเป็นสำนักงานอัยการที่ขึ้นต่อกระทรวงยุติธรรม ห้ามอัยการดำรงตำแหน่งใน รัฐวิสาหกิจและเอกชนอันทำให้เกิดปัญหาประโยชน์ทับซ้อน ให้ยกเลิกแบบอย่างการ สอบสวนโดยอัยการและกำหนดให้มีกรอบระยะเวลาดำเนินการที่ชัดเจนในการพิจารณาสั่งฟ้อง ยื่นฟ้อง และเปิดโอกาสให้อัยการสามารถว่าจ้างทนายความแก้ต่างแทนในอรรถคดีทั่วๆ ไปได้ ปฏิรูประบบตุลาการ - มีข้อเสนอให้ปรับปรุงระบบการพิจารณาคดีอย่างจริงจังเพื่อให้มีความรวดเร็วและถูกต้อง เผยแพร่แนวคิดทางด้านตุลาการตีความก้าวหน้า (judicial activism) เพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างนวัตกรรมและบรรทัดฐานใหม่ๆ แก่สังคม ปรับปรุงแนวทางการพิสูจน์และให้น้ำหนักของหลักฐานที่ไม่ใช่การยึดติดกับตัวเอกสารเท่านั้น เพิ่มโทษเสียค่าปรับแทนการติดคุกในคดีที่ไม่รุนแรง และจัดทำประมวลจริยธรรมตุลาการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาของสังคม ปฏิรูประบบราชทัณฑ์และการลงโทษ -เพื่อแก้ปัญหานักโทษล้นคุก มีข้อเสนอให้ลดบทบัญญัติกำหนดโทษอาญาเหลือเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะความผิดที่มีลักษณะต่อบุคคลมิใช่ต่อแผ่นดิน ลดปริมาณคดีโดยกระบวนการเบี่ยงเบนคดี ชะลอฟ้องร้อง และการคุมประพฤติ เพิ่มโทษค่าปรับสูงสุดและกลไกการปรับสูงสุดตามดัชนีผู้บริโภค ปฏิรูประบบเรือนจำและราชทัณฑ์ แยกผู้ต้องขังแต่ละประเภท ยกเลิกการตีตรวน การริเริ่มรูปแบบใช้สถานที่กักกันหรือนิคมมาเป็นมาตรการเสริม ปรับปรุงพัฒนาระบบการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟูให้มีทั้งแบบที่ดูแลโดยชุมชน แบบกำกับดูแลโดยใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่และแบบคุมขังในเรือนจำประกอบกันอย่างสมดุล
2
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions

krittameth777555

ขั้นตอนดำเนินการอื่นๆ
bottom of page