นางสาวสุปรียา หมื่นทอง63423471141
รัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่’ (New Public Administration: NPA) ซึ่งเป็น การรวมตัวของแนวคิดจากขบวนการเคลื่อนไหวมนุษย์สัมพันธ์ (Human- relations movement) และรัฐประศาสนศาสตร์ที่มุ่งเน้นการเมือง (Political- oriented public administration) (Marini, 1971) ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมที่ Minnowbrook ในปี 1968 ต่างมองเห็นสังคมว่า เต็มไปด้วยการแบ่งแยก กีดกัน ความอยุติธรรม และความไม่เสมอภาคอีกทั้งตัวทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบริหารแยกจากการเมือง การแบ่งแยกข้อเท็จจริงออกจากคุณค่า และความสามารถในการตรวจสอบได้แบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนต่างส่งเสริมให้เกิดการกดทับและความแปลกแยกในสังคม (White, 1971) ดังนั้น ผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้จึงผลักดันให้เกิดการปรับ จุดเน้นใหม่ในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์โดยเห็นว่ารัฐประศาสนศาสตร์ควรถอยห่างจากการมุ่งแสวงหาการบริหารที่มีประสิทธิภาพไปสู่การศึกษาเชิงโครงสร้างประชาธิปไตยทั้งภายในและภายนอกองค์การภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเรื่องความเสมอภาคทางสังคม (Social equality) สำหรับพวกเขาแล้วเป้าหมายขององค์การสาธารณะคือการบรรเทาความทุกข์ทรมานจากเศรษฐกิจ สังคม และทางกายภาพ และส่งเสริมโอกาสในการดำรงชีวิตทั้งภายในและภายนอกองค์การแนวทางเช่นนี้จึงเป็นการเคลื่อนจากศูนย์กลางของแรงโน้มถ่วงทางทฤษฎีไปสู่แนวทางเชิงปทัสถาน (Normative approach) (Harmon, 1971) ในทศวรรษที่ 1970s ภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำและการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นปรากฏอยู่ทั่วโลกผลักดันให้ประสิทธิภาพประสิทธิผลและความประหยัดกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาก่อนประเด็นอื่นโดยเฉพาะความเสมอภาคทางสังคมทำให้โครงร่างทางความคิดของสำนักรัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่กลายเป็นสิ่งไม่เป็นจริง อย่างไรก็ตามข้อถกเถียง ในเรื่องคำถามเชิงปทัสถานที่มีต่อสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มิเคยถูกลืมยังคงมีความเป็นไปได้ในมุมมองอื่นๆ ของรัฐประศาสนศาสตร์ที่เน้นการมีส่วนร่วมและความเสมอภาคทางสังคม โดยในต้นทศวรรษที่ 1980s John Rohr (1978, 1986) ได้พัฒนาแนวทางการให้เหตุผลแก่องค์การภาครัฐที่มีพื้นฐานจากการตีความรัฐธรรมนูญอเมริกาอย่างสร้างสรรค์แนวทางรัฐธรรมนูญนิยมแบบ Rohr เป็นเสมือนผู้พิทักษ์สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยเฉพาะขบวนการเคลื่อนไหวรัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ หรือ NPAณ สถาบันเวอร์จิเนียโพลีเทคนิคแห่งเมืองแบล็กเบิร์น เขาได้ผลิตงานเขียนทาง รัฐประศาสนศาสตร์เพื่อปกป้องแนวทางแบบ NPA อย่างต่อเนื่อง จนพัฒนา เป็น ‘แนวทางแบล็กเบิร์น’ (Blackburg Perspective) ซึ่งประกอบสร้างแนวคิดจากสำนักรัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ (Wamley, et al., 1990)