top of page

ความคิดเห็นในฟอรัม

แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
tanawatanutip
28 ส.ค. 2564
@1007 กัลกร อภิชาติวรนันท์ ตอนนี้การบริหารระบบราชการ กระผมว่าต้องควรปฏิรูปใหม่ ให้หมด แต่คงจะทำยากมากๆครับยิ่งในวงการราชการเกือบทุกหน่วยงานมีเกิดการคอรัปชั่น มากที่สุดช่วงนี้ก็มีข่าวตำรวจเรียกเงินจากผู้ต้องหาอย่างเช่นข่าวล่าสุด ผกก โจ้หนุ่มสุดหล่อที่มีบ้านแฟนสาวสวยเป็นลูกนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่และได้ทำการทารุณกรรม ผู้ต้องหาถึงแก่ชีวิตโดยใช้ถุงดำคลุมหัวทุบตี จึงทำให้ภาพพจน์ขององค์กร ในระบบราชการตำรวจเสื่อมเสียเลยทีเดียว นี้แค่ออกข่าวมานะครับยังมีสิ่งที่ประชาชนไม่รู้อีกเยอะผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะครับ
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
tanawatanutip
24 ส.ค. 2564
@flooxible ธนวัฒน์ อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา63423471061รุ่น46 เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการแข่งขันในโลกปัจจุบัน ธุรกิจเกิดใหม่ล้วนใช้นวัตกรรมเป็นตัวนำ ส่วนธุรกิจรูปแบบเดิมก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับกระแสโลก รัฐบาลบิ๊กตู่ 2 จึงต้องให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเป็นอันดับแรกตลอด 5 ปีของรัฐบาลบิ๊กตู่ 1 การวางโครงสร้างเทคโนโลยีสื่อสาร ของไทยถือว่า เกาะกระแสโลกได้ดีทีเดียว เกือบทั้งหมดขับเคลื่อนโดย สำนักงาน กสทช. ที่มี คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เป็นเลขาธิการ โดยเฉพาะ การประมูลคลื่นรองรับบริการ 3G 4G และ 5G ตั้งแต่คลื่น 2.1GHz 1800MHz 900MHz รวมทั้งจัดสรรคลื่นย่าน 700MHz มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้รวมแล้วมีปริมาณแบนด์วิดท์ถึง 400MHz ใช้งานมือถือในปัจจุบัน สร้างรายได้รัฐไปแล้วกว่า 4 แสนล้านบาท ยังไม่นับรวมคลื่นที่จะจัดสรรเพิ่มในปีนี้ เช่น 2.6GHz 26GHz และ 28GHz ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพรองรับการทำงานของ Internet of Things ได้เป็นอย่างดี ถ้าต้องการให้ประเทศเดินหน้าด้านเทคโนโลยีได้อย่างมั่นคง รัฐบาลชุดนี้ควรเร่งผลักดันกฎหมายให้ผ่านสภาฯโดยเร็ว เพื่อให้มีการสรรหาบอร์ด กสทช.ชุดใหม่ แทนบอร์ดชุดรักษาการ เอาคนเชี่ยวชาญและทำจริงมาทำงานดีกว่าครับ
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
tanawatanutip
22 ส.ค. 2564
@krittameth777555 นายธนวัฒน์ อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา63423471061รุ่น46 ขอแสดงความคิดเห็น การเจริญเติบโตในทางเศรษฐกิจ ณ ตอนนี้ เป็นปัญหาใหญ่มากกับการที่จะให้เศรษฐกิจเติบโตในช่วงนี้ เพราะมีการแสวงหาผลประโยชน์ จากการเมื่องต่างเข้ามาและประชาชน กลุ่มหนึ่งหรือหลายๆกลุ่ม ออกมาคัดค้านต่างๆนาๆกับฝ่ายรัฐบาล ณ ตอนนี้ปัจจุบัน เรื่องการวัดผลการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ตอนนี้ต้องหยุดชะงักไว้ก่อนยังไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ ถึงแม้ในด้านพิจารณาเกี่ยวกับการกินดีอยู่ดีของประชาชน ตอนนี้ก็แย่สุดๆแล้วครับ ถึงแม้รัฐบาลจะหาทางช่วยเหลือ เยียวยาก็ไม่ถึงประชาชนทุกหย่อมหญ้า ขอบคุณสำหรับโจทย์ที่ให้มานะครับผมขอแสดงความคิดเห็นในส่วนนี้คร่าวๆขอบคุณครับ
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
tanawatanutip
22 ส.ค. 2564
3.2สาระในการพัฒนาสังคม มีความรู้ความเข้าใจ หลักการพัฒนาชมชุน สังคมและวิเคราะห์ ข้อมูลในการพัฒนา ตนเอง ครอบครัวชุมชน สังคม ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้ บอกความสําคัญของการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้ บอกแนวคิดพื้นฐานการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้ อธิบายวิธีการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้ ยกตัวอย่างประโยชน์ที่ได้จากการพัฒนา ตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้ บอกความหมายของข้อมูลได้ ข้อมูลตนเอง ครอบครัว บอกประเภทของข้อมูลตนเอง ครอบครัวได้ บอกความสําคัญของข้อมูลตนเอง ครอบครัวได้ บอกที่มาของข้อมูลตนเอง ครอบครัวได้
0
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
tanawatanutip
22 ส.ค. 2564
3.1 การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคม การพัฒนาสังคม (social development) การพัฒนาสังคม ส่วนนี้เป็นการนำความรู้สังคมวิทยาไปใช้ประโยชน์ การพัฒนาสังคม คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ หรือตามแผนที่วางไว้ล่วงหน้า ส่วนประกอบของโครงสร้างที่สำคัญมีสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นองค์การสังคมและส่วนที่เป็นสถาบันสังคม ซึ่งแต่ละส่วนมีองค์ประกอบ 4 ประการดังได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้น การพัฒนาสังคมจึงพัฒนาทั้งองค์การและสถาบันสังคม ทำให้ทั้งคนในองค์การสังคมและกฎระเบียบหรือวัฒนธรรมมีความเจริญก้าวหน้า เป้าหมายการพัฒนาสังคม ตามที่สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดไว้ตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือ การทำคนให้เก่ง ดี และมีความสุข ทำชุมชนหรือครอบครัวให้เข้มแข็ง ซึ่งหากการพัฒนาสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวนี้ได้ การพัฒนาย่อมจะมีผลยั่งยืนมั่นคง การดำเนินการพัฒนา โดยทั่วไปจะเริ่มด้วยการให้ชุมชนสร้างวิสัยทัศน์ของชุมชนขึ้น แล้ววางแผนการดำเนินการให้บรรลุวิสัยทัศน์ แล้วกำหนดกลยุทธการพัฒนาโดยใช้กระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมและวิจัยไปด้วย (PAR = Participatory Action Research) ซึ่งหมายความว่า นักพัฒนาดำเนินการพัฒนาชุมชน หรือสังคมและทำการวิจัยการพัฒนาร่วมกับประชาชนในชุมชน เพื่อพัฒนาทั้งตัวชาวบ้าน ครอบครัว และชุมชนที่เขาอยู่ การดำเนินการพัฒนาโดยให้ชาวบ้านมามีส่วนร่วมจะทำให้ชาวบ้านได้รู้และเข้าใจการทำงาน และมีความรู้สึกเป็นเจ้าของผลการพัฒนา แล้วเขาจะหวงแหนเพราะถือเป็นงานของเขา ในเชิงวิชาการ การพัฒนาสังคมนับเป็นการกระบวนการทางสังคม (social process) ที่สำคัญ เพราะการมีกระบวนการนี้ทำให้สังคมไม่อยู่นิ่ง สามารถเปลี่ยนแปลงตนเองจากความไม่เจริญพัฒนา ให้เจริญก้าวหน้า ครอบครัวมีความมั่นคง ชุมชนมีความเข้มแข็ง และประชาชนที่ได้รับการพัฒนามีความสุข
0
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
tanawatanutip
22 ส.ค. 2564
2.1 ความสําคัญของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของประชาชน การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสําคัญต่อการปฏิรูปประเทศ ดังนี้ 1. ช่วยสนับสนุนการสร้างความสำเร็จในการพัฒนาประเทศ เพราะการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการบริหารราชการ ถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่สําคัญต่อการสร้างความสําเร็จในการดําเนินงานตามนโยบาย แผน โครงการต่าง ๆ ของภาครัฐในปัจจุบันท่ีเน้นให้ประชาชนเข้ามาร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดําเนินการ ร่วมรับประโยชน์ และร่วมประเมินผลในเรื่องต่าง ๆ ท่ีมีผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดของการพัฒนาประเทศที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยให้ความสําคัญต่อประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งอาจประกอบไปด้วยบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร สถาบัน ชุมชนที่เกี่ยวข้องที่ได้รับ ผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบจากการบริหารราชการ 2. ช่วยสนับสนุนและมีความสอดคล้องกับการปกครองที่ใช้หลักธรรมาภิบาล ท่ีให้ความสําคัญกับ ความโปร่งใสและการตรวจสอบได้จากทุกภาคส่วนของสังคม ซึ่งเป็นการบริหารราชการที่รับผิดชอบต่อ สาธารณะและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนโดยรวม 3. ช่วยสนับสนุนและสามารถตอบสนองต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่เน้นการให้ ความสําคัญต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยมองว่ามนุษย์มีคุณค่าและสามารถตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตท่ีตนเอง ต้องการได้ ซึ่งจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการจะทําให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมใน การกําหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เข้ามามีผลกระทบต่อชีวิตตน
1
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
tanawatanutip
22 ส.ค. 2564
การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการพัฒนาการบริหารราชการไทย 2.1 แนวคิดและแนวทางการพัฒนาและการบริหารราชการไทย แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการ การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม(Participatiory Governance) เป็นหลักการในการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งจะนำไปสู่ระบบราชการที่มีความสุจริตโปร่งใส เปิดเผยข้อมูล เที่ยงธรรม และมีการบริหารงานที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งมุ่งประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญโดยที่หน่วยงานภาครัฐจะมีกลไกการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมที่ต่อเนื่องและสร้างสรรค์เป็นองค์กรที่เปิดให้ประชาชนหรือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถเข้าถึงได้ (Accessibility) มีการติดต่อสื่อสารสองทางกับประชาชน (Dialogue) ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ และนำข้อคิดเห็นของประชาชนมาประกอบ การตัดสินใจขององค์กร พร้อมทั้งอธิบายเหตุผล รวมไปถึงการจัดกระบวนการการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทันท่วงที ถูกต้อง โปร่งใส และจริงใจ
1
0
แสดงความเห็นประเด็น 1. การบริหารการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจ 2. เน้นการบริหารโครงการ 3. การบริหารระบบราชการในอนาคต
In General Discussions
tanawatanutip
22 ส.ค. 2564
Modul3 ระบบการบริหารราชการไทย 1.1ระบบราชการ 1.2หลักการบริหารระบบราชการ ผมจะร่วมหัวข้อไปรวมกันนะครับ ระบบราชการถือเป็นกลไกหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีกระทรวง ทบวง กรม เป็นฟันเฟืองสําคัญในการทํางาน แม้ว่าระบบราชการไทยจะมีการปฏิรูปติดต่อกันมาอย่างยาวนานและ หลายหน่วยงานมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบราชการของตน โดยมีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปแล้วหลายมิติ อย่างต่อเนื่อง มีการทํางานร่วมกันในลักษณะบูรณาการ มีแผนยุทธศาสตร์การทํางานร่วมกัน มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ให้เกิดขึ้นได้โดยเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม ระบบราชการไทยยังมีปัญหาอีกหลายประการ ทําให้ไม่สามารถตอบสนอง ความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว โปร่งใส และเป็นธรรม อันนี้คือในการเรียนการการสอน แต่ใกาความเป็นจริงระบบราชการไทยต้องในหัวข้อ1.1ระบบราชการไทยต้องมีการปรับเปลี่ยน การบริหารงานใหม่เพราะนักการเมืองเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าช่วยเหลือประชาชน 1.2หลักการบริการระบบราชการ อย่างเช่นเอาการบริหารงานเป็นหลัก ปัญหาการบริหารงาน การบริหารงานของระบบราชการไม่มีความโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม และตรวจสอบได้ โดยมี การแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองที่กําหนดนโยบาย นอกจากนี้ บางครั้งระบบราชการไทยมักจะละเลย การปฏิบัติงานการตรวจสอบการปฏิบัติงาน และการติดตามประเมินผลการวัดความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ ของการปฏิบัติงาน จึงทําให้ส่วนราชการต่าง ๆ ไม่ได้จัดเก็บข้อมูลการดําเนินงานในแต่ละด้านไว้เพื่อใช้ในการ ปรับปรุงประสิทธิภาพการทํางานให้ดียิ่งขึ้น
0
0
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
tanawatanutip
20 ส.ค. 2564
@สรัญณัฎฐ์1003 ในการพัฒนาการบริหารในด้านการเงินหากมีการผิดพลาดขึ้นมาก็จะมีผลกระทบตามมาหลายอย่างด้วยความเสี่ยง ต้องมีการดําเนินการ การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมต้อง ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากวิเคราะห์จนถึงลงมือกำกับติดตาม ควบคมุ และรายงาน มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องครบทุกขั้นตอน เริ่มดําเนินการตั้งแต่การเริ่มต้นภารกิจหรือโครงการจนสินสุด โครงการ มีการพัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงและการควบคมุ ฯ จนกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของวัฒนธรรมการทำงานขององค์กรในทีสุดจึงจะทำให้ความสำเร็จของการบริหารและความเสี่ยงและการควมคุมภายในจะต้องเกิดจากการร่วมมือร่วมใจของทุกคนในองค์กร
0
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
tanawatanutip
18 ส.ค. 2564
@สุปรียา หมื่นทอง นายธนวัฒน์ อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา63423471061รุ่น46 ขอตอบ ส่วนที่มีปัญหากับการแก้ไขปัญหาเรื่อง การวิเคราะห์ดัชนีการพัฒนาในระดับจุลภาค ยังมีปัญหาที่แก้ไข ความยากจนในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2559 พบว่า มีประชากรที่เป็นคนจนและคนเกือบจน (Near Poor) จํานวน 11.6 ล้านคน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ หากพิจารณาพื้นที่ความยากจนในระดับจังหวัด สามารถนํามาจัดลําดับตามจังหวัดที่มีสัดส่วน คนจนสูงสุด 10 ลําดับแรก ในปี พ.ศ. 2559 โดยเรียงลําดับจากสัดส่วนคนจนสูงสุดได้แก่ แม่ฮ่องสอน นราธิวาส ปัตตานี กาฬสินธุ์ นครพนม ชัยนาท ตาก บุรีรัมย์ อํานาจเจริญ และ น่าน ตามลําดับ ในการวัดระดับความยากจนและการกระจายรายได้ ซึ่งสภาพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทําเครื่องมือเพื่อใช้สําหรับการประเมินสถานการณ์ความ ยากจนและความเหลื่อมล้ำในด้านรายได้ของประเทศไทยขึ้น โดยครอบคลุมถึงข้อมูลสัดส่วนคน จน จํานวนคนจน สัดส่วนการถือครองรายได้ของประชากร และความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ กลุ่มสาเหตุความยากจนจากพฤติกรรมบุคคล ได้แก่ แนวการศึกษาในแนวทางพยาธิ วิทยา ที่มองว่า ความยากจนเกิดจากความอ่อนแอหรือความล้มเหลวส่วนบุคคล และวัฏจักร ของความขาดแคลน (Cycle of Deprivation) จากรุ่นพ่อแม่ที่ถ่ายทอดสู่รุ่นลูก (Holman R., & Holman B., 1978) ส่วน Pete Alcock มองว่าสาเหตุหลักคือการมีรายได้ต่ำการอยู่ใน สภาวะที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่น และการมีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความไร้ความสามารถของบุคคลด้วย (Alcock, P, 1997) นอกจากนี้ ยังพบว่าบางส่วนเกิดจาก พฤติกรรมค่านิยมที่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย อาจทําให้กู้เงินไปใช้ผิดประเภท เกิดหนี้สินแบบดินพอกหางหมู (วิทยาลัยมหาดไทย, 2550) ขณะที่ ธนพล อธิบายสาเหตุว่าเกิดจาก 1) ปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิต การขาดที่ดินทํากิน เกิดภาระหนี้สิน พึ่งพาพ่อค้าคนกลางในท้องถิ่น 2) ขาดความรู้และความสามารถ ทั้งในการวาง แผนการจัดการและเทคโนโลยีการผลิต 3) ค่านิยมด้านการบริโภคนิยม ติดอบายมุขและยาเสพติด รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ส่งผลให้มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น และ 4) ปัญหาผู้มีรายได้น้อย และการว่างงาน การแก้ปัญหาความยากจน จึงควรเน้นไปที่ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมส่วนบุคคล กลุ่มสาเหตุความยากจนจากเชิงโครงสร้าง ได้แก่ แนวการศึกษาในแนวทางเชิง โครงสร้าง (Structural Approach) ที่มักมองว่า ความยากจนเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุที่ซับซ้อน จึงมีความจําเป็นต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ถึง พลวัตของความขาดแคลน (Dynamics of Deprivation) ด้วยเหตุเช่นนี้ จึงต้องให้ความสําคัญ กับการคุ้มครองทางสังคมเพื่อขจัดความยากจนออกไป (Spicker P., 1993) โดย E Philip Davis และ Miguel Sanchez - Martinez ได้นําเสนอข้อสรุปเชิงคํานิยามของความยากจน ที่ สะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางความคิดจากการให้ความสําคัญกับมุมมองทางการเงินเพียงเรื่อง เดียว เป็นการพิจารณาที่ประเด็นปัญหาที่กว้างขึ้น อาทิ การมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม รวมถึงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของสํานักคิดต่าง ๆ อย่างสํานัก Classic และ Neo - classic ที่มอง ว่า สาเหตุของความยากจนเป็นเรื่องของค่าตอบแทนและผลผลิตของแต่ละบุคคล ขณะที่ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สํานัก Keynesian/Neo - liberal กลับพิจารณาตรงกันข้าม โดยมุ่งเน้นไป ที่แรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจระดับมหภาคและเน้นบทบาทที่สําคัญของรัฐบาลที่ไม่เพียงทําให้ ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพเท่านั้น แต่ต้องให้การดูแลสินค้าสาธารณะอีกด้วย ซึ่งความยากจน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่สมัครใจ และคนยากจนจํานวนมากเกิดขึ้นจากสาเหตุของการว่างงาน ส่วนแนวคิดแบบมาร์กซ์ (Marxian) จะมองว่าเรื่องชนชั้น ซึ่งเป็นประเด็นทางการเมือง เป็นเหตุ สําคัญของความยากจน รัฐจึงควรแทรกแซงเพื่อควบคุมตลาด เช่น การประกันค่าจ้างขั้นต่ำ และการต่อต้านกฎหมายที่เลือกปฏิบัติ เป็นต้น
0
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
tanawatanutip
16 ส.ค. 2564
Modul 2 การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาการบริหาร ความหมายการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการบริหารนนั้ มีผู้เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษหลายชื่อด้วยกัน เช่น administrative development or development of administration, administrative modernization, administrative reform, reorganization, organization development, administrative improvement, organization improvement และ revitalization เป็นต้น อย่างไรก็ดี คำเรียกชื่อการพัฒนาการบริหารที่เป็น ภาษาอังกฤษข้างต้นนั้นมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านนั้ ดงัรายละเอียดดังนี้ การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration) หมายถึง การเพิ่มพนู สมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสงัคมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหาการปูนบำเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทางวินัย ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization) หมายถึง การ สร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะนาเอาความรู้ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับ เจตจำนงของประชาชน (popular will) ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและความยุติธรรมในสังคม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมคิดว่า โลกเราไม่ได้เปลี่ยนแปลงโลกสมัยก่อนและสมัยนี้ก็ยังเป็นเหมือนเดิม แต่มนุษย์เองที่เปลี่ยนแปลงต่างห่าง จากการพัฒนา เพื่อประโยชน์ ของสังคมและส่วนตัว บางอย่างอาจมีผลเสียและผลดีกันเช่น การใช้การพัฒนาแบบที่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆปล่อยสารมลพิษออกมาซื้งก็เกิดจากมนุษย์ทำขึ้นมาเอง ถ้าเป็นผลดีอย่างเช่นการปลูกต้นไม้ ขึ้นมาเยอะๆเพื่อ ปล่อยก๊าซออกซิเจนตอนกลางวันและไม่ทำให้โลกร้อนอากาศร่มเย็นเป็นสุขเป็นต้น
1
0
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
tanawatanutip
15 ส.ค. 2564
@krittameth777555 ข้อแตกต่างระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกา กฎหมายอาญาของที่อเมริกามีกี่ประเภท โดยขอสรุปดังนี้ 1) Felony (F) เป็นคดีร้ายแรง มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึงตลอดชีวิต เช่น คดีปล้น ฆ่า ลักพาตัว การละเมิดทางเพศ ลักขโมย เป็นต้น 2) Misdemeanors (M) เป็นคดีลหุโทษ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน $1,000 การจำคุกจะจำคุกที่เรือนจำของเคาน์ตี้ (County Jail) 3) Infractions เป็นคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว เช่น คดีจราจรต่าง ๆ ยกเว้นคดีที่เกี่ยวกับการขับรถในขณะที่เมายาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นคดีลหุโทษหรือร้ายแรงก็ได้ (Wobblers) รวมถึง Administrative Citation ที่ทำผิดกฎหมายของซีตี้ ( Municipal Codes) หลังจากการแจ้งความแล้ว ทางตำรวจก็จะสืบหาพยาน สอบสวนเพื่อหาหลักฐานมาประกอบ เพื่อให้เข้าองค์ประกอบของข้อหา (Elements of Crime) เมื่อตำรวจได้หลักฐานครบ ก็จะเขียนคำร้อง ขอให้ศาลเซ็นเพื่อออกหมายจับ หมายค้น และหลังจากจับ (Arrest) ผู้ต้องหาได้แล้ว ตำรวจมีเวลาเพียง 48 ชั่วโมง ในการส่งผู้ต้องหาขึ้นศาล โดยผ่านสำนักงานอัยการที่จะเป็นโจทก์ เพราะเป็นกฎหมายอาญา (Criminal Law) ดังนั้น รัฐบาลจึงเป็นโจทก์แทน เมื่อมีผู้กระทำผิดละเมิดกฎหมายบ้านเมือง ที่มีโทษทั้งจำและปรับ ส่วนคดีแพ่ง หมายถึงผู้เสียหายที่เป็นบุคคลทั่วไป ฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเพียงอย่างเดียว ในระหว่าง 48 ชั่วโมงนี้ ตำรวจก็จะสืบสวน สอบถามผู้ถูกกล่าวหา ว่ามีข้อแก้ตัว หรือเหตุผลอะไรที่ได้กระทำผิดในข้อหานั้นๆ เพื่อทำรายงานส่งอัยการฟ้องศาลภายใน 48 ชม. ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์ ฉะนั้น ถ้าคุณถูกจับในวันศุกร์ และไม่มีเงินมาวางประกัน ก็ต้องนอนในคุกทั้งเสาร์และอาทิตย์ จนกว่าจะถูกนำตัวไปขึ้นศาลในวันอังคาร และก่อนที่จะมีการไต่สวน ตำรวจจะแจ้งสิทธิของคุณให้ฟัง เรียกว่า Miranda Rights ดังนี้ 1.You have the right to remain silent. Do you understand? คุณมีสิทธิ์ที่จะไม่พูดหรือให้การใดๆ คุณเข้าใจไหม (ผู้ต้องหาต้องตอบให้ชัดเจนว่า Yes (เข้าใจ) หรือ No (ไม่เข้าใจ) ไม่ใช่พยักหน้า 2.Anything you say may be used against you in court. Do you understand? อะไรที่คุณให้การกับตำรวจ สามารถนำไปใช้ที่ศาลได้ คุณเข้าใจไหม ตอบ Yes หรือ No เช่นกัน 3.You have the right to an attorney during questioning. Do you understand? คุณมีสิทธิ์ที่จะให้ทนายความของคุณอยู่ด้วย ในการระหว่างการไต่สวน คุณเข้าใจไหม Yes หรือ No 4.If you cannot afford an attorney, one will be appointed for you, before any questioning. Do you understand? ถ้าคุณไม่สามารถว่าจ้างทนายความได้ ทางการจะหาทนายความให้ ก่อนที่จะมีการไต่สวน คุณเข้าใจไหม ต้องตอบ Yes หรือ No หลังจากนั้นแล้ว ตำรวจจะถามว่า Do you want to talk about what happened? ท่านมีอะไรจะพูดไหม ว่าเรื่องราวเกิดขึ้นอย่างไร
1
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
การบริหารการพัฒนา
In General Discussions
tanawatanutip
12 ส.ค. 2564
@sarunnat2545 นายธนวัฒน์ อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา63423471061รุ่น46 ถึงแม้ว่าการบริหารการพัฒนาจะมีข้อดีและประโยชน์แต่ก็มีข้อเสียที่ควรระวังในด้านแผนการเชิงกลยุทธ์ ก็ควรระมัดระวังไว้บ้างนะครับอย่างเช่น ประเด็น ที่ทำให้องค์กร ไม่มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ เนื่องจาก 1.ผู้บริหาร มุ่งมั่นในการบริหารจัดการ เฉพาะกับภาวะวิกฤต และ ปัญหาประจำวัน ดับไฟจนไม่มีเวลาในการวางแผนระยะยาว 2. ผู้บริหารคิดว่าการวางแผนเป็นการเสียเวลา เนื่องจากไม่สามารถสร้างยอดขาย ออกมาให้เห็นได้ อย่างรวดเร็ว 3. ผู้บริหาร เหลิง เหิมเกริม หรือ ประมาทเมื่อมีความสำเร็จ คิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องวางแผนเพราะทุกอย่าง ก็ดีอยู่แล้ว 4. ผู้บริหารและพนักงาน กลัวสิ่งใหม่ที่ไม่รู้ ไม่รู้ว่า ระบบ ใหม่ จะเป็นอย่างไร ต้องมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะใหม่ๆ อะไรที่จะต้องเรียนรู้เพิ่มเติมบ้าง 5. ผู้บริหารและพนักงาน กลัวความล้มเหลว คือไม่มั่นใจว่าความถนัด หรือ ความสามารถ ในบทบาทเดิม จะนำไปใช้ได้หรือไม่? 6. ความสงสัย ความไม่เชื่อมั่น ในตัวของผู้บริหาร พนักงานอาจไม่ไว้วางใจผู้บริหารว่า จะทำเพื่อส่วนรวม (องค์กร) 7. ผู้บริหาร และพนักงาน มีความเห็นที่แตกต่าง จากการรับรู้สถานการณ์ที่แตกต่างกัน หรือ มุมมองที่แตกต่างกัน อาจเชื่อว่าแผนผิด 8. ความเห็นแก่ตัว คนที่ประสบความสำเร็จ โดยใช้วิธีคิดและระบบเก่า จะเห็นว่าการสร้างแผนใหม่ เป็นภัยคุกคาม สถานภาพ ของเขา 9.ความเกียจคร้าน พนักงานไม่ทุ่มเทความพยายามที่จำเป็นลงไปในการจัดทำแผนให้สำเร็จ 10.โครงสร้าง และระบบ การให้รางวัล ไม่ดี ล้มเหลวในการให้รางวัลกับความสำเร็จ แต่เมื่อมีความล้มเหลวเกิดขึ้น ก็จะลงโทษ พนักงานจะไม่เสี่ยง เพราะพยายามทำแล้ว หากล้มเหลว ก็จะถูกลงโทษ
2

tanawatanutip

ขั้นตอนดำเนินการอื่นๆ
bottom of page