ศูนย์เรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมช
การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ Module2
การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์Module3
การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ Module 1
more
น.ส.เชษฐ์สุดา ตัญญวงษ์
รหัส 62423471007 รุ่นที่ 44
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร
กรณีการร้องเรียนเรื่องการทำผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น จะต้องเป็นการกระทำผิดระหว่างปฏิบัติหน้าที่เป็น ส.ส.หรือรัฐมนตรี ถ้าเป็นพฤติการณ์กระทำผิดก่อนหน้ามารับตำแหน่งทางการเมือง จะไม่เข้าข่ายการทำผิดจริยธรรม ส่วนหากจะร้องเรียนเรื่องเคยติดคุก
แล้วมาเป็นรัฐมนตรีนั้น ไม่น่าจะเข้าข่ายทำผิดจริยธรรม เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนมาเป็น ส.ส.หรือรัฐมนตรี ถ้าจะผิดก็เป็นเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการดำรงตำแหน่ง ซึ่งเรื่องการปกปิดลักษณะต้องห้าม ไม่ใช่หน้าที่ ป.ป.ช.ตรวจสอบ แต่เป็นเรื่องของ กกต.
นางสาววรรษมล สังวรินทะ รุ่น 44
62423471075
จริยธรรม เป็นความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความถูกผิด และเกิดขึ้นจากขบวนการทางความคิดอย่างมีเหตุผล ซึ่งต้องอาศัยวุฒิภาวะทางปัญญา การใช้เหตุผลเพื่อการตัดสินใจที่จะเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จะแสดงให้เห็นถึงความเจริญของจิตใจของบุคคล การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นการใช้เหตุผลที่ลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจยิ่งขึ้นตามลำดับของวุฒิภาวะทางปัญญา
น.ส อริศรา แสงรัศมี รหัสนักศึกษา 62423471099
มาตรา 5 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้กระทำนอกราชอาณาจักร ผู้นั้นจะต้องรับโทษในราชอาณาจักร..." แต่ถึงกระนั้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 10 ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรซ้ำอีก หาก "ศาลในต่างประเทศพิพากษาลงโทษ และผู้นั้นได้รับโทษแล้ว" แต่ให้รายงานต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)
และถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้อีกหลายๆคนจะคิดว่าการทำผิดนอกประเศจะไม่ได้รับความผิดและยังได้ดำรงตำแหน่งต่อ ต่อไปก็จะมีคนทำตามมากขึ้น อาจทำให้สังคมเสื่อมลงและไม่สามารถกู้กลับได้
ศิวาวุธ เรืองอำไพ 63423471008
ตอบ ผู้ที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกในต่างประเทศ สามารถรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีของประเทศไทยได้ เพราะว่าเขาผู้นั้นไม่เคยคิดคุกในประเทศไทย หมายความว่าต่อไปในอนาคตคนที่ติดคุกในต่างประเทศ ไม่ว่าจะประเทศไหนก็ตามไม่ขาดคุณสมบัติของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีของไทย
เพราะฉะนั้น ต่อไปใครก็ตามที่มีพฤติกรรมเป็นมาเฟียหรืออาชญากรผู้กระทำผิดกฎหมายของบ้านอื่นเมืองอื่นจนต้องถูกพิพากษาให้จำคุก ไม่ว่าจะจำคุกกี่เดือนกี่ปีก็ตาม เขาผู้นั้นสามารถรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีของประเทศไทยได้
นายพิชชา ดาระสวัสดิ์ รหัส62423471046
จากกรณีที่มีนักการเมืองพ้นมนทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ ตามหลักจริยธรรมแล้วถือว่ามีความผิดอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจาก จริยธรรม คือ ความสำนึก หรือความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม จากที่มองในกรณีนี้ เหตุผลที่นักการเมืองผู้นั้นต้องมนทิน อาจเป็นเพราะเรื่องของข้อกำหนดและกฎหมายไม่ได้บัญญัติถึงความผิดที่เกิดขึ้นจากต่างประเทศนั้นเมื่อกลับประเทศไทยมาจะต้องมีความผิดและรับโทษด้วย เนื่องจากแต่ละประเทศจะมีข้อกำหนดหรือกฎหมายที่มีความเฉพาะตัวในตัวเอง
นาย ภูสิรัช แก้วแพ รหัส62423471119
ตอบ คิดว่าไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งเพราะ การดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ ยิ่งเป็นรัฐมนตรีด้วยนั้น ควรมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ทั้งความสามารถ คุณวุฒิ และ วัยวุฒิ และประวัติที่ดีงามเพียบพร้อม เพื่อเป็นหน้าตาให้แก่ประเทศบนเวทีโลก
นางสาววนิดา ปัญชาติ 62423471014
ตอบ
การทำผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะต้องเป็นการกระทำผิดระหว่างปฏิบัติหน้าที่เป็น ส.ส. หรือรัฐมนตรี ถ้าเป็นพฤติการณ์กระทำผิดก่อนหน้ามารับตำแหน่งทางการเมือง จะไม่เข้าข่ายการทำผิด แม้บทบัญญัติมิได้ระบุว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำคุกของศาลในประเทศใด และบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้สมัครรับเลือกตั้งเพราะเห็นว่าเป็นบุคคลที่มีความประพฤติไม่เหมาะสม ถ้าต้องห้ามเฉพาะการกระทำผิดในประเทศ ไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดในต่างประเทศ ก็จะเกิดการลักลั่นไม่เป็นธรรม
ธัคภัศ ดุละลัมพะ 63423471009
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร
การที่รัฐบาลยอมรับคนที่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกในคดีค้ายาเสพติดในต่างประเทศให้สามารถมาเป็นรัฐมนตรีที่ไทยได้ ซึ่งการต่อต้านยาเสพติดที่สากลทั่วโลกยอมรับว่าเป็นภัยร้ายแรงและเป็นภัยต่อความมั่นคงมนุษย์และทำทุกอย่างเพื่อปราบปราม การที่รัฐบาลและศาลอนุญาตให้รัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งต่อถึงแม้จะค้ายาก็คงไม่มีสากลโลกที่ไหนยอมรับได้
น.ส.เกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128
ตอบ = จากคดียาเสพติดของนักทางการเมืองไทย แต่ยังสามารถดำรงตำแหน่งทางรัฐมนตรีได้จากการได้ศึกษาแล้วคิดว่าเรื่องกระทำผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องเป็นการกระทำผิดระหว่างปฏิบัติหน้าที่เป็น ส.ส. หรือรัฐมนตรี ถ้าเป็นพฤติการณ์กระทำผิดก่อนหน้ามารับตำแหน่งทางการเมือง จะไม่เข้าข่ายการทำผิดจริยธรรม กรณียกตัวอย่างรัฐมนตรีถูกเรื่องร้องเรียนเคยติดคุกที่ประเทศออสเตรเลียแล้วมาเป็นรัฐมนตรี ไม่น่าจะเข้าข่ายทำผิดจริยธรรม เพราะเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนมาเป็น ส.ส. หรือรัฐมนตรี ถ้าจะผิดก็เป็นเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการดำรงตำแหน่ง โดยกรณีนี้ไม่ใช่หน้าที่ ป.ป.ช. ตรวจสอบแต่เป็นเรื่องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบจึงไม่มีความผิดทางจริยธรรมขณะดำรงตำแหน่งทางการเมือง.
นางสาววนิดา ปัญชาติ รหัส62423471014 รุ่น44
•ธรรมาภิบาลกับรัฐบาล
บทบาทของรัฐบาลในกรอบธรรมาภิบาล
ระบอบธรรมมาภิบาล มีผลกระทบทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมต่อบทบาทรัฐบาล
รูปแบบเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างอำนาจรวมศูนย์ของรัฐบาลรูปแบบเดิม ในการกำหนดและ ควบคุมนโยบาย สังคมถูกเคลื่อนย้ายไปสู่ระดับรัฐบาลท้องถิ่นภาคเอกชนและประชาสังคมมากขึ้น ในการตอบสนองต่อผลประโยชน์สาธารณะ การผูกขาดอำนาจเปลี่ยนเป็นการมีส่วนร่วมใน การตัด สินใจจากภาคส่วนต่างๆ จึงทำให้เกิดคำถามว่ารัฐบาลควรมีบทบาทหน้าที่หลักอะไรใน ระบอบธรรมาภิบาล (Denhardt J.V. and Denhardt R.B., 2003) จึงเสนอแนะว่า รัฐบาลภายใต้ ธรรมาภิบาลยังทำหน้าที่หลัก3ประการ คือ
1. บทบาททั่วไป ในการจัดตั้งกฎหมายและกฎกติกาทางการเมืองท่ีเกื้อกูลต่อการ ทำงานของเครือข่ายในกรอบคิดน้ี รัฐบาลปฏิบัติงานในระดับสูงเน้นการผลักดันกฎหมายที่มาจาก การตัดสินใจของเครือข่ายนโยบายต่างๆ (Policy Networks) รวมถึงการกำหนดกรอบหลักการ ลักษณะกว้างของธรรมาภิบาล
2. รัฐบาลทำหน้าที่ช่วยเหลือในการแก้ปัญหา ประเด็นการกระจายและการพึ่งพา ทรัพยากรภายในเครือข่ายและระหว่างเครือข่าย รวมท้ังการเข้าไปช่วยเหลือในการปกป้ อง ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจระหว่างสาขาและเครือข่ายนโยบายท่ีมีลักษณะแตกต่างกันทั้งในรูปของ การสร้างดุลยภาพการต่อรองและการให้ความสะดวก
3. รัฐบาลทำหน้าท่ีติดตามการทำงานและความสัมพันธ์ของเครือข่ายเพื่อรับประกันและรักษาหลักการประชาธิปไตยความยุติธรรมทางสังคมและผลประโยชน์สาธารณะ
4. รัฐบาลควรบริหารหน้าท่ีพื้นฐานท่ีกำหนดความเป็นชาติอาทิการป้องกันประเทศและการต่างประเทศ เป็นต้น
5. การเก็บข่าวสารข้อมูลและส่งเสริมการสร้างฐานเชื่อมโยง
ทั้งหมดนี้คือหน้าที่รัฐบาลในธรรมาภิบาล
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
2.ข้อแตกต่างระหว่าง ค่านิยม คุณธรรม จรรยาบรรณและจริยธรรม มีอะไรบ้าง
- ค่านิยม คือ การให้ค่าแก่สิ่งต่างๆว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี อะไรควร ไม่ควร เช่นเราให้ค่าแก่ความซื่อสัตย์ว่าเป็นสิ่งที่ดี เราจะแสดงความซื่อสัตย์ หรือบางคนพอใจจะให้ค่าแก่การมีวัตถุสิ่งของว่าเป็นสิ่งที่ดีไม่ว่าการได้มาซึ่งวัตถุสิ่งของนั้นจะได้มาด้วยวิธีใด บุคคลก็จะสะสมวัตถุสิ่งของเอาไว้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ค่านิยมจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในสังคม (สมพร สุทัศนีย์, 2541 : 108 – 109)
1.ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึงความสำนึกและภาคภูมิใจความเป็นไทยปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ และจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
2.ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึงการยึดมั่นในความถูกต้อง
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ การประพฤติที่แสดงถึงการรู้จักบุญคุณ ปฏิบัติตามคำสั่งสอน
4.ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน การประพฤติปฏิบัติตน โดยยึดมั่นในคำสัญญา
7.เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9.มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
11.มีความเข้มแข็งทั้งร่ายกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลสมีความละอายเกรง กลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12.คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
- คุณธรรม คือ ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น จนเกิดจิตสำนึกที่ดี รู้สึกรับผิดชอบ ชั่ว ดี เกรงกลัวต่อการกระทำความชั่ว โดยประการต่างๆ เมื่อจิตเกิดคุณธรรมขึ้นแล้ว จะทำให้เป็นผู้มีจิตใจดี และคิดแต่สิ่งที่ดี จึงได้ชื่อว่า “เป็นผู้มีคุณธรรม”
1.ขยัน มีความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
2.ประหยัด ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายรู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน
3.ซื่อสัตย์ มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ
4.มีวินัย ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคมและประเทศโดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ ยึดมั่นในระเบียบแบบแผน
5.สุภาพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ มีสัมมาคารวะ เรียบร้อย ไม่ก้าวร้าวรุนแรง
6.สะอาด รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ
7.สามัคคี เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดีมีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
8.มีน้ำใจ เป็นผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคมรู้จักแบ่งปันเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น 9.กตัญญู ปฏิบัติตนเห็นคุณค่าแห่งการกระทำดี หรืออุปการคุณของผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ครูอาจารย์ หรือผู้อื่น
- จรรยาบรรณ คือ ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติ หรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพ นั้น ๆ ต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม
1.จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพค้าขาย
2.จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพครู
-จริยธรรม คือ การประพฤติปฏิบัติ การกระทำดี ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจ ปรากฏเป็นความดีงาม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ เมื่อความดีงาม มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น ถูกแสดงออกทางจรรยา มารยาท การประพฤติปฏิบัติ และการกระทำที่ดี ตามคุณธรรมที่มีในจิตใจนั้น จึงได้ชื่อว่า “เป็นผู้มีจริยธรรม”
1.จริยธรรมภายในเป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติของบุคคลตามสภาพจิตใจและสภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่อยู่ภายใน
2.จริยธรรมภายนอก เป็นจริยธรรมที่บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรมภายนอกที่ปรากฎให้เป็นที่สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน เช่น ความรับผิดชอบ ความเป้นระเบียบเรียบร้อย ความมีวินัย การตรงต่อเวลา เป็นต้น
@figarobearm ใช่ครับหากเรามี มีค่านิยมจริยธรรม คุณคุณธรรมจรรยาบรรณ ด้วยการ รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึงความสำนึกและภาคภูมิใจความเป็นไทยปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ และจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึงการยึดมั่นในความถูกต้อง
กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ การประพฤติที่แสดงถึงการรู้จักบุญคุณ ปฏิบัติตามคำสั่งสอน
ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน การประพฤติปฏิบัติตน โดยยึดมั่นในคำสัญญา
เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้องมีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะทำประโยชน์ให้บ้านเมืองน่าอยู่และสงบเรียบร้อยขึ้นทั้งภาครัฐหรือภาคเอกชนก็ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
นายปฤษฎี สวัสดิ์ผล (63423471143 )
กระผมนายปฤษฎี สวัสดิ์ผล มีความเห็นว่า " ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เห็นแย้งหรือลบล้างคำตัดสินศาลต่างประเทศ แต่บอกว่าคำตัดสินศาลต่างประเทศไม่มีผลต่อกฎหมายไทย ไม่ได้หมายความว่า ร.อ.ธรรมนัสบริสุทธิ์ อาจทำให้เกิดความสับสนเรื่องบรรทัดฐานพอสมควร ในอดีตเคยมีกรณีลักษณะคล้ายคลึง และในอนาคตอาจมีอีกที่จะมีปัญหาที่สุดคือการขัดต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญต้องการคัดคนเข้าสู่การเมือง โดยเฉพาะจริยธรรมต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แม้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าขัดต่อจริยธรรม เเละไม่สมควรเป็นนักการเมือง ร.อ.ธรรมนัสแม้ข้อกฎหมายอาจถอดถอนไม่ได้ แต่ความบกพร่องทางจริยธรรมทางการเมือง อยู่ในขอบข่ายยื่นเอาผิดจริยธรรมได้ ผลจะเป็นอย่างไรนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ความหมายของคําว่าธรรมาภิบาล มาจากคําว่า ธรรมะ แปลว่าความถูกต้องดีงาม อภิบาล แปลว่า การปกครองหรือการปกปักรักษา ธรรมาภิบาลจึงแปลว่าการปกครองที่ยึดถือความถูกต้องดีงามเป็นหลักหรือการปกครองโดยธรรม ส่วนคําว่า ธรรมรัฐ แปลว่า รัฐหรือองค์กรที่มีรูปแบบและการดําเนินงานอย่างถูกต้องดีงาม
นายอานันท์ปันยารชุน ได้ให้ความหมายว่า ธรรมาภิบาลเป็นผลลัพธ์ของการจัดการกิจกรรมซึ่งบุคคลและสถาบันทั่วไป ภาครัฐและเอกชนมีผลประโยชน์ร่วมกัน ได้กระทําลงไปหลายทางมีลักษณะเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนําไปสู่การผสมผสานผลประโยชน์ที่หลากหลายและขัดแย้งกันได้
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้องเป็นธรรม การบังคับการเป็นไป
ตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด โดยคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมของประชาชน
2. หลักคุณธรรม (Ethics) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามสนับสนุนให้ประชาชนขยันซื่อสัตย์ประหยัด อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพที่สุจริตจนกลายเป็นนิสัยประจําชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ซึ่งตรงกันข้าม
กับการทุจริตคอร์รัปชัน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง
การบริหาร และการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การมีจิตสํานึกในหน้าที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม
สิทธิและหน้าที่และปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างตามหลักประชาธิปไตย
6. หลักความคุ้มค่า (Value for Money) หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ (บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมีลี้ 2544, อ้างถึงใน อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า,
นาย อิทธิพัฒน์ แซมกลางรหัส63423471016
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศแต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ในประเด็นจริยธรรมทางการเมืองนักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไร
ความคิดเห็นนะครับ ทำให้ประชาชนตั้งคำถามมากมายที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของรัฐมนตรีท่านนั้น ว่าท่านเหมาะสมหรือไมในการดำรงตำแหน่งนี้ เเละรัฐบาลให้ท่านดำรงตำแหน่งนี้โดยไม่รู้สึกทุกข์ร้อนอะไรเลยหรือไม่ เรื่องจริยธรรมทางการเมือง ที่นักการเมืองต้องมีกลับมีน้อยนิดเเละน้อยลงไปทุกที
การที่ประชาชนรู้ผลการพิจารณาคดี โดยที่รู้ว่า ยังไงท่านก็รอด มันก็สะท้อนถึงรัฐในชุดนี้เหมือนกัน ที่เรียกว่า "อะไรที่ไม่เคยเกิด มันก็เกิดขึ้น อะไรที่ไม่เคยเห็น เราก็ได้เห็น"
นายอิทธิณัฐ แซมกลาง63423471284
โดยความคิดส่วนตัวผมว่า การกระทำของบุคคลนี้ขาดความจริยะธรรมความโปร่งใสในการรับตำเเหน่ง ทำให้ประชาชนที่รู้ข่าวสารหมดความศรัธาต่อระบบของศาล
นาย พฤทธิ์รวี ชื่นศิริ 63423471006 รุ่น46
“เรื่องนี้คนดำเนินเรื่อง คิดผิดประเด็น ดำเนินเรื่องผิดช่องทาง เรื่องนี้เป็นเรื่องของความเหมาะ ความควร เรื่องจริยธรรม ว่าประเทศไทยควรแต่งตั้ง ยกย่องคนที่ต้องคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ขึ้นดำรงตำแหน่งชั้นสูงรับผิดชอบบ้านเมืองหรือไม่ ไม่ใช่ไปใช้กฎหมายอย่างนี้ กฎหมายห้ามแล้วบอกว่า คำว่าศาล หมายถึงศาลทั่วโลกอย่างนี้เป็นไปไม่ได้ต้องเข้าให้ถูกประเด็น ถูกช่องทาง กฎหมายที่เป็นอยู่ กับกฎหมายที่อยากจะให้เป็น มันคนละเรื่อง ถ้าต่อไปเบื้องหน้าสังคมไทยเห็นว่ากรณีแบบนี้ควรจะเป็นลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งระดับสำคัญของบ้านเมืองก็ต้องเขียนไว้ ไม่ใช่ กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้แล้วความรู้สึกของเราเห็นว่า มันไม่สมควรก็อยากจะมาใช้กฎหมายให้ครอบคลุมตามความรู้สึกของเรา ความต้องการของเรา มันไม่ได้ ดังนั้นผมจึงเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005
ตอบ.“เรื่องนี้คนดำเนินเรื่อง คิดผิดประเด็น ดำเนินเรื่องผิดช่องทาง เรื่องนี้เป็นเรื่องของความเหมาะ ความควร เรื่องจริยธรรม ว่าประเทศไทยควรแต่งตั้ง ยกย่องคนที่ต้องคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ขึ้นดำรงตำแหน่งชั้นสูงรับผิดชอบบ้านเมืองหรือไม่ ไม่ใช่ไปใช้กฎหมายอย่างนี้ กฎหมายห้ามแล้วบอกว่า คำว่าศาล หมายถึงศาลทั่วโลกอย่างนี้เป็นไปไม่ได้ต้องเข้าให้ถูกประเด็น ถูกช่องทาง กฎหมายที่เป็นอยู่ กับกฎหมายที่อยากจะให้เป็น มันคนละเรื่อง ถ้าต่อไปเบื้องหน้าสังคมไทยเห็นว่ากรณีแบบนี้ควรจะเป็นลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งระดับสำคัญของบ้านเมืองก็ต้องเขียนไว้ ไม่ใช่ กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้แล้วความรู้สึกของเราเห็นว่า มันไม่สมควรก็อยากจะมาใช้กฎหมายให้ครอบคลุมตามความรู้สึกของเรา ความต้องการของเรา มันไม่ได้ ดังนั้นผมจึงเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
สำหรับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา ถือว่ามีผลผูกพันเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทั้งหมด ว่า ถ้าทำตามคำวินิจฉัยกฤษฎีกาไม่ถือว่าเป็นความผิดพลาด ถึงแม้จะผิดกฎหมายก็ได้รับความอนุเคราะห์ว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่ได้ทำตามคำวินิจฉัยที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล และ ครม. ก็มีมติรับรองแล้วว่า คำวินิจฉัยกฤษฎีกาอยู่ในฐานะให้บังคับใช้ได้ในกลุ่มเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารเสมือนหนึ่งเป็นมติ ครม.แต่คำวินิจฉัย กฤษฎีกาไม่ใช่กฎหมายไม่มีผลผูกพันรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ผูกพันตุลาการ ศาลต่างๆ เวลามีปัญหากฎหมายในฝ่ายบริหารก็จะอ้างอิงความเห็นของกฤษฎีกาได้ เพื่อให้ระบบการบริหารประเทศมีทิศทางที่แน่นอนไม่ลักกลั่น ขัดแย้งกันระหว่างกำลังของฝ่ายผู้บริหารที่เป็นกำลังใหญ่ในการบริหารกิจการบ้านเมือง แต่ในทางตุลาการนิติบัญญัติไม่ได้มีความผูกพันตามคำวินิจฉัยกฤษฎีกา เพียงแต่ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ฝ่ายนิติบัญญัติตุลาการ จะให้ความเคารพ และมักจะเห็นพ้องด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่ไม่ได้มีผลผูกพัน และเมื่อเรื่องมาถึงปัญหา กฎหมายแท้ๆ ฝ่ายตุลาการซึ่งต้องวินิจฉัยเพื่อให้เป็นหลัก มั่นคงในบ้านเมือง ก็ต้องวิเคราะห์สถานะกฎหมายที่เป็นอยู่ว่าเป็นอย่างไร และวินิจฉัยตามกฎหมายนั้น ส่วนถ้าฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร หรือบุคคลกลุ่มใดเห็นว่ากฎหมายนั้นไม่เป็นประโยชน์ไม่เหมาะสมกับประเทศชาติควรต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็ต้องไปที่ฝ่ายนิติบัญญัติขอให้รัฐสภาเปลี่ยนแปลงแก้ไข
น.ส.วาลิวา คำพันธ์ รหัส62423471026 รุ่น44
ดิฉันมีความคิดเห็นว่า การแสดงถึงจริยธรรมที่ดีของนักการเมือง เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่คุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นนักการเมือง มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นคนที่ผู้อื่นสามารถยึดถือเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติแก่ทั่วคนไป เชื่อมั่นได้ที่จะให้ปฏิบัติหน้าที่แทนประชาชน ดังนั้นในประเด็นที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศแต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้นั้น แสดงให้เห็นถึง
1.การกระทำของนักกฎหมายที่ทำต่อสังคม แสดงให้เห็นว่าคุณธรรมจริยธรรมไม่มีระบบ ไม่สามารถวัดได้ ไม่สามารถจับต้องได้ขึ้นอยู่กับความรู้สึก นักกฎหมายที่แม้จะเป็นคนเก่งแต่ก็ใช่ว่าจะมีคุณธรรมจริยธรรมในการใช้กฎหมาย และบิดเบือนประเด็นได้อย่างไม่มีความละลายใจ เพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล
2.การที่รัฐบาลยอมรับคนที่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกในคดีค้ายาเสพติดในต่างประเทศให้สามารถมาเป็นรัฐมนตรีที่ไทยได้ ซึ่งการต่อต้านยาเสพติดที่สากลทั่วโลกยอมรับว่าเป็นภัยร้ายแรงและเป็นภัยต่อความมั่นคงมนุษย์และทำทุกอย่างเพื่อปราบปราม การที่รัฐบาลและศาลอนุญาตให้รัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งต่อถึงแม้จะค้ายาก็คงไม่มีสากลโลกที่ไหนยอมรับได้
3.สิ่งที่บ่งชี้ว่ารัฐนั้นเป็นประชาธิปไตยคือการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่มุ่งจะหาคนดี มือสะอาด ปราศจากมลทิน แต่ไม่สามารถตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง และตัดสินลงโทษการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้นั้นเรียกว่าเผด็จการ
นายสุทธิพงษ์ ศิลารักษ์ 62423471020
ตั้งข้อสังเกต ตามสื่อหลายสำนัก อาทิ มติชน เดลินิวส์ รายงานโดยอ้างความเห็นของนายนิวัติไชย เกษมมงคล รองเลขาธิการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษก ป.ป.ช. ว่า แต่ก่อนหน้านี้ เคยมีผู้ยื่นร้องสอบจริยธรรม ร.อ. ธรรมนัส กรณีต้องคำพิพากษาจำคุกที่ประเทศออสเตรเลียมาแล้ว หากฝ่ายค้านยื่นคำร้องในลักษณะเดียวกันเข้ามาเพิ่ม คงนำไปรวมเป็นสำนวนเดียวกัน แล้วรายงานให้ที่ประชุม ป.ป.ช. ชุดใหญ่รับทราบว่าจะพิจารณาดำเนินการอย่างไรต่อไป อย่างไรก็ตามการร้องเรียนเรื่องการทำผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องเป็นการกระทำผิดระหว่างปฏิบัติหน้าที่เป็น ส.ส. หรือรัฐมนตรี ถ้าเป็นพฤติการณ์กระทำผิดก่อนหน้ามารับตำแหน่งทางการเมือง จะไม่เข้าข่ายการทำผิดจริยธรรม
มีข้อกฎหมาย ระเบียบ และความเห็นทางกฎหมายอะไรที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงบ้าง บีบีซีไทยประมวลมาไว้ ณ ที่นี้
หนึ่ง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ตราขึ้นในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย มีเนื้อหารวม 42 มาตรา
สอง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. 2542 ออกมาในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย มีเนื้อหารวม 24 ข้อ โดยมีจุดประสงค์เพื่อวางแนวทางปฏิบัติตนขั้นต้นของเจ้าหน้าที่ของรัฐ "โดยมิให้เข้าไปช่วยเหลือ หรือรับความช่วยเหลือ หรือคบค้าสมาคมกับบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อันจะเป็นวิธีการป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" นั้นเป้นการทำให้สังคมมีความสงสัยในหลักการในการทำหน้าตามข้อกฎหมายจริงหรือไม่ รัฐบาลควรให้คำตอบที่ชัดเจนแก่ประชาชน
นายธนวัฒน์ อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา63423471061รุ่นที่46
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศแต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไร
นักการเมืองไทยทราบถึงบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญเพราะได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา อีกทั้งนักการเมืองไทยส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน รู้และเข้าใจกฎหมาย ประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สภาพปัญหาและอุปสรรคของการบังคับใช้จริยธรรมของนักการเมืองและกฎหมาย คือ (1) นักการเมืองไทยไม่ค่อยเคารพกฎหมายและจริยธรรม และ (2) กลไก ระบบ การบังคับทางจริยธรรมและกฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งๆ ที่นักการเมืองเป็นวิชาชีพที่สำคัญและมีบทบาทอย่างสูงต่อสังคมและประเทศ การเมืองการปกครองของไทยมีแนวโน้ม ที่อาจจะขาดเสถียรภาพ เพราะมีผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้บริหารบ้านเมืองบางราย ไม่มีคุณธรรม จริยธรรม ไม่เกรงกลัว ไม่เคารพ ไม่ประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่เกรงกลัวละอายต่อบาปตามหลักพระพุทธศาสนา ซื้อสิทธิขายเสียง ทุจริตคอรัปชั่น ประพฤติมิชอบต่อหน้าที่ การบริหารจัดการบ้านเมืองไม่เกิดธรรมาภิบาล สังคมไม่สงบร่มเย็น ไม่มีสันติสุข รายได้ประชาชนลดลง หนี้สินเพิ่มขึ้น ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาอาชญากรรม การใช้ความรุนแรงและยาเสพติดเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัญหาเรื่อง จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในปัจจุบัน และไม่มีปัญหาใดที่ประชาชนคนส่วนใหญ่สนใจและห่วงใยมากไปกว่านี้
@krittameth777555
ตอบ และยังมีคำสอนของศาสนาพุทธ อีกคือ
ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หากรวม3ข้อนี้ไปด้วยก็จะเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ของมนุษย์ซึ่งจะนำพาไปในสิ่งที่มีคุณค่า ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ หากผิดพลาดประการใดขออภัย ไว้ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
@tanawatanutip (ใช่เลยครับพี่)
จริยธรรม และความเป็นไทย
1) กิจกรรมพัฒนาคุณธรรมที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา วัด ศาสนสถาน ชุมชน เช่น ส่งเสริมครูพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมจิตอาสา ค่ายพุทธบุตร พุทธธรรม ค่ายคุณธรรมจริยธรรม จัดให้สถานศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ทางศาสนา
2) กิจกรรมที่ส่งเสริมการนิยมไทย ประวัติศาสตร์ชาติไทย หรือความภูมิใจในความเป็นไทย
3) มีการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(ขอบคุณครับ)
@krittameth777555 ขอบคุณครับ
น.ส.เชษฐ์สุดา ตัญญวงษ์
รหัส 62423471007 รุ่นที่ 44
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร
กรณีการร้องเรียนเรื่องการทำผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น จะต้องเป็นการกระทำผิดระหว่างปฏิบัติหน้าที่เป็น ส.ส.หรือรัฐมนตรี ถ้าเป็นพฤติการณ์กระทำผิดก่อนหน้ามารับตำแหน่งทางการเมือง จะไม่เข้าข่ายการทำผิดจริยธรรม ส่วนหากจะร้องเรียนเรื่องเคยติดคุก
แล้วมาเป็นรัฐมนตรีนั้น ไม่น่าจะเข้าข่ายทำผิดจริยธรรม เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนมาเป็น ส.ส.หรือรัฐมนตรี ถ้าจะผิดก็เป็นเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการดำรงตำแหน่ง ซึ่งเรื่องการปกปิดลักษณะต้องห้าม ไม่ใช่หน้าที่ ป.ป.ช.ตรวจสอบ แต่เป็นเรื่องของ กกต.
นางสาววรรษมล สังวรินทะ รุ่น 44
62423471075
จริยธรรม เป็นความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความถูกผิด และเกิดขึ้นจากขบวนการทางความคิดอย่างมีเหตุผล ซึ่งต้องอาศัยวุฒิภาวะทางปัญญา การใช้เหตุผลเพื่อการตัดสินใจที่จะเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จะแสดงให้เห็นถึงความเจริญของจิตใจของบุคคล การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นการใช้เหตุผลที่ลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจยิ่งขึ้นตามลำดับของวุฒิภาวะทางปัญญา
น.ส อริศรา แสงรัศมี รหัสนักศึกษา 62423471099
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร
มาตรา 5 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้กระทำนอกราชอาณาจักร ผู้นั้นจะต้องรับโทษในราชอาณาจักร..." แต่ถึงกระนั้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 10 ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรซ้ำอีก หาก "ศาลในต่างประเทศพิพากษาลงโทษ และผู้นั้นได้รับโทษแล้ว" แต่ให้รายงานต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)
และถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้อีกหลายๆคนจะคิดว่าการทำผิดนอกประเศจะไม่ได้รับความผิดและยังได้ดำรงตำแหน่งต่อ ต่อไปก็จะมีคนทำตามมากขึ้น อาจทำให้สังคมเสื่อมลงและไม่สามารถกู้กลับได้
ศิวาวุธ เรืองอำไพ 63423471008
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร
ตอบ ผู้ที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกในต่างประเทศ สามารถรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีของประเทศไทยได้ เพราะว่าเขาผู้นั้นไม่เคยคิดคุกในประเทศไทย หมายความว่าต่อไปในอนาคตคนที่ติดคุกในต่างประเทศ ไม่ว่าจะประเทศไหนก็ตามไม่ขาดคุณสมบัติของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีของไทย
เพราะฉะนั้น ต่อไปใครก็ตามที่มีพฤติกรรมเป็นมาเฟียหรืออาชญากรผู้กระทำผิดกฎหมายของบ้านอื่นเมืองอื่นจนต้องถูกพิพากษาให้จำคุก ไม่ว่าจะจำคุกกี่เดือนกี่ปีก็ตาม เขาผู้นั้นสามารถรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีของประเทศไทยได้
นายพิชชา ดาระสวัสดิ์ รหัส62423471046
จากกรณีที่มีนักการเมืองพ้นมนทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ ตามหลักจริยธรรมแล้วถือว่ามีความผิดอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจาก จริยธรรม คือ ความสำนึก หรือความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม จากที่มองในกรณีนี้ เหตุผลที่นักการเมืองผู้นั้นต้องมนทิน อาจเป็นเพราะเรื่องของข้อกำหนดและกฎหมายไม่ได้บัญญัติถึงความผิดที่เกิดขึ้นจากต่างประเทศนั้นเมื่อกลับประเทศไทยมาจะต้องมีความผิดและรับโทษด้วย เนื่องจากแต่ละประเทศจะมีข้อกำหนดหรือกฎหมายที่มีความเฉพาะตัวในตัวเอง
นาย ภูสิรัช แก้วแพ รหัส62423471119
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร
ตอบ คิดว่าไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งเพราะ การดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ ยิ่งเป็นรัฐมนตรีด้วยนั้น ควรมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ทั้งความสามารถ คุณวุฒิ และ วัยวุฒิ และประวัติที่ดีงามเพียบพร้อม เพื่อเป็นหน้าตาให้แก่ประเทศบนเวทีโลก
นางสาววนิดา ปัญชาติ 62423471014
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร
ตอบ
การทำผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะต้องเป็นการกระทำผิดระหว่างปฏิบัติหน้าที่เป็น ส.ส. หรือรัฐมนตรี ถ้าเป็นพฤติการณ์กระทำผิดก่อนหน้ามารับตำแหน่งทางการเมือง จะไม่เข้าข่ายการทำผิด แม้บทบัญญัติมิได้ระบุว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำคุกของศาลในประเทศใด และบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้สมัครรับเลือกตั้งเพราะเห็นว่าเป็นบุคคลที่มีความประพฤติไม่เหมาะสม ถ้าต้องห้ามเฉพาะการกระทำผิดในประเทศ ไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดในต่างประเทศ ก็จะเกิดการลักลั่นไม่เป็นธรรม
ธัคภัศ ดุละลัมพะ 63423471009
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร
การที่รัฐบาลยอมรับคนที่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกในคดีค้ายาเสพติดในต่างประเทศให้สามารถมาเป็นรัฐมนตรีที่ไทยได้ ซึ่งการต่อต้านยาเสพติดที่สากลทั่วโลกยอมรับว่าเป็นภัยร้ายแรงและเป็นภัยต่อความมั่นคงมนุษย์และทำทุกอย่างเพื่อปราบปราม การที่รัฐบาลและศาลอนุญาตให้รัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งต่อถึงแม้จะค้ายาก็คงไม่มีสากลโลกที่ไหนยอมรับได้
น.ส.เกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร
ตอบ = จากคดียาเสพติดของนักทางการเมืองไทย แต่ยังสามารถดำรงตำแหน่งทางรัฐมนตรีได้จากการได้ศึกษาแล้วคิดว่าเรื่องกระทำผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องเป็นการกระทำผิดระหว่างปฏิบัติหน้าที่เป็น ส.ส. หรือรัฐมนตรี ถ้าเป็นพฤติการณ์กระทำผิดก่อนหน้ามารับตำแหน่งทางการเมือง จะไม่เข้าข่ายการทำผิดจริยธรรม กรณียกตัวอย่างรัฐมนตรีถูกเรื่องร้องเรียนเคยติดคุกที่ประเทศออสเตรเลียแล้วมาเป็นรัฐมนตรี ไม่น่าจะเข้าข่ายทำผิดจริยธรรม เพราะเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนมาเป็น ส.ส. หรือรัฐมนตรี ถ้าจะผิดก็เป็นเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการดำรงตำแหน่ง โดยกรณีนี้ไม่ใช่หน้าที่ ป.ป.ช. ตรวจสอบแต่เป็นเรื่องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบจึงไม่มีความผิดทางจริยธรรมขณะดำรงตำแหน่งทางการเมือง.
น.ส.เกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร
ตอบ = จากคดียาเสพติดของนักทางการเมืองไทย แต่ยังสามารถดำรงตำแหน่งทางรัฐมนตรีได้จากการได้ศึกษาแล้วคิดว่าเรื่องกระทำผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องเป็นการกระทำผิดระหว่างปฏิบัติหน้าที่เป็น ส.ส. หรือรัฐมนตรี ถ้าเป็นพฤติการณ์กระทำผิดก่อนหน้ามารับตำแหน่งทางการเมือง จะไม่เข้าข่ายการทำผิดจริยธรรม กรณียกตัวอย่างรัฐมนตรีถูกเรื่องร้องเรียนเคยติดคุกที่ประเทศออสเตรเลียแล้วมาเป็นรัฐมนตรี ไม่น่าจะเข้าข่ายทำผิดจริยธรรม เพราะเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนมาเป็น ส.ส. หรือรัฐมนตรี ถ้าจะผิดก็เป็นเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการดำรงตำแหน่ง โดยกรณีนี้ไม่ใช่หน้าที่ ป.ป.ช. ตรวจสอบแต่เป็นเรื่องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบจึงไม่มีความผิดทางจริยธรรมขณะดำรงตำแหน่งทางการเมือง.
นางสาววนิดา ปัญชาติ รหัส62423471014 รุ่น44
•ธรรมาภิบาลกับรัฐบาล
บทบาทของรัฐบาลในกรอบธรรมาภิบาล
ระบอบธรรมมาภิบาล มีผลกระทบทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมต่อบทบาทรัฐบาล
รูปแบบเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างอำนาจรวมศูนย์ของรัฐบาลรูปแบบเดิม ในการกำหนดและ ควบคุมนโยบาย สังคมถูกเคลื่อนย้ายไปสู่ระดับรัฐบาลท้องถิ่นภาคเอกชนและประชาสังคมมากขึ้น ในการตอบสนองต่อผลประโยชน์สาธารณะ การผูกขาดอำนาจเปลี่ยนเป็นการมีส่วนร่วมใน การตัด สินใจจากภาคส่วนต่างๆ จึงทำให้เกิดคำถามว่ารัฐบาลควรมีบทบาทหน้าที่หลักอะไรใน ระบอบธรรมาภิบาล (Denhardt J.V. and Denhardt R.B., 2003) จึงเสนอแนะว่า รัฐบาลภายใต้ ธรรมาภิบาลยังทำหน้าที่หลัก3ประการ คือ
1. บทบาททั่วไป ในการจัดตั้งกฎหมายและกฎกติกาทางการเมืองท่ีเกื้อกูลต่อการ ทำงานของเครือข่ายในกรอบคิดน้ี รัฐบาลปฏิบัติงานในระดับสูงเน้นการผลักดันกฎหมายที่มาจาก การตัดสินใจของเครือข่ายนโยบายต่างๆ (Policy Networks) รวมถึงการกำหนดกรอบหลักการ ลักษณะกว้างของธรรมาภิบาล
2. รัฐบาลทำหน้าที่ช่วยเหลือในการแก้ปัญหา ประเด็นการกระจายและการพึ่งพา ทรัพยากรภายในเครือข่ายและระหว่างเครือข่าย รวมท้ังการเข้าไปช่วยเหลือในการปกป้ อง ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจระหว่างสาขาและเครือข่ายนโยบายท่ีมีลักษณะแตกต่างกันทั้งในรูปของ การสร้างดุลยภาพการต่อรองและการให้ความสะดวก
3. รัฐบาลทำหน้าท่ีติดตามการทำงานและความสัมพันธ์ของเครือข่ายเพื่อรับประกันและรักษาหลักการประชาธิปไตยความยุติธรรมทางสังคมและผลประโยชน์สาธารณะ
4. รัฐบาลควรบริหารหน้าท่ีพื้นฐานท่ีกำหนดความเป็นชาติอาทิการป้องกันประเทศและการต่างประเทศ เป็นต้น
5. การเก็บข่าวสารข้อมูลและส่งเสริมการสร้างฐานเชื่อมโยง
ทั้งหมดนี้คือหน้าที่รัฐบาลในธรรมาภิบาล
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
2.ข้อแตกต่างระหว่าง ค่านิยม คุณธรรม จรรยาบรรณและจริยธรรม มีอะไรบ้าง
- ค่านิยม คือ การให้ค่าแก่สิ่งต่างๆว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี อะไรควร ไม่ควร เช่นเราให้ค่าแก่ความซื่อสัตย์ว่าเป็นสิ่งที่ดี เราจะแสดงความซื่อสัตย์ หรือบางคนพอใจจะให้ค่าแก่การมีวัตถุสิ่งของว่าเป็นสิ่งที่ดีไม่ว่าการได้มาซึ่งวัตถุสิ่งของนั้นจะได้มาด้วยวิธีใด บุคคลก็จะสะสมวัตถุสิ่งของเอาไว้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ค่านิยมจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในสังคม (สมพร สุทัศนีย์, 2541 : 108 – 109)
1.ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึงความสำนึกและภาคภูมิใจความเป็นไทยปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ และจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
2.ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึงการยึดมั่นในความถูกต้อง
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ การประพฤติที่แสดงถึงการรู้จักบุญคุณ ปฏิบัติตามคำสั่งสอน
4.ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน การประพฤติปฏิบัติตน โดยยึดมั่นในคำสัญญา
7.เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9.มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
11.มีความเข้มแข็งทั้งร่ายกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลสมีความละอายเกรง กลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12.คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
- คุณธรรม คือ ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น จนเกิดจิตสำนึกที่ดี รู้สึกรับผิดชอบ ชั่ว ดี เกรงกลัวต่อการกระทำความชั่ว โดยประการต่างๆ เมื่อจิตเกิดคุณธรรมขึ้นแล้ว จะทำให้เป็นผู้มีจิตใจดี และคิดแต่สิ่งที่ดี จึงได้ชื่อว่า “เป็นผู้มีคุณธรรม”
1.ขยัน มีความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
2.ประหยัด ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายรู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน
3.ซื่อสัตย์ มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ
4.มีวินัย ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคมและประเทศโดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ ยึดมั่นในระเบียบแบบแผน
5.สุภาพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ มีสัมมาคารวะ เรียบร้อย ไม่ก้าวร้าวรุนแรง
6.สะอาด รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ
7.สามัคคี เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดีมีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
8.มีน้ำใจ เป็นผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคมรู้จักแบ่งปันเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น 9.กตัญญู ปฏิบัติตนเห็นคุณค่าแห่งการกระทำดี หรืออุปการคุณของผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ครูอาจารย์ หรือผู้อื่น
- จรรยาบรรณ คือ ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติ หรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพ นั้น ๆ ต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม
1.จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพค้าขาย
2.จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพครู
-จริยธรรม คือ การประพฤติปฏิบัติ การกระทำดี ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจ ปรากฏเป็นความดีงาม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ เมื่อความดีงาม มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น ถูกแสดงออกทางจรรยา มารยาท การประพฤติปฏิบัติ และการกระทำที่ดี ตามคุณธรรมที่มีในจิตใจนั้น จึงได้ชื่อว่า “เป็นผู้มีจริยธรรม”
1.จริยธรรมภายในเป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติของบุคคลตามสภาพจิตใจและสภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่อยู่ภายใน
2.จริยธรรมภายนอก เป็นจริยธรรมที่บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรมภายนอกที่ปรากฎให้เป็นที่สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน เช่น ความรับผิดชอบ ความเป้นระเบียบเรียบร้อย ความมีวินัย การตรงต่อเวลา เป็นต้น
นายปฤษฎี สวัสดิ์ผล (63423471143 )
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร
กระผมนายปฤษฎี สวัสดิ์ผล มีความเห็นว่า " ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เห็นแย้งหรือลบล้างคำตัดสินศาลต่างประเทศ แต่บอกว่าคำตัดสินศาลต่างประเทศไม่มีผลต่อกฎหมายไทย ไม่ได้หมายความว่า ร.อ.ธรรมนัสบริสุทธิ์ อาจทำให้เกิดความสับสนเรื่องบรรทัดฐานพอสมควร ในอดีตเคยมีกรณีลักษณะคล้ายคลึง และในอนาคตอาจมีอีกที่จะมีปัญหาที่สุดคือการขัดต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญต้องการคัดคนเข้าสู่การเมือง โดยเฉพาะจริยธรรมต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แม้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าขัดต่อจริยธรรม เเละไม่สมควรเป็นนักการเมือง ร.อ.ธรรมนัสแม้ข้อกฎหมายอาจถอดถอนไม่ได้ แต่ความบกพร่องทางจริยธรรมทางการเมือง อยู่ในขอบข่ายยื่นเอาผิดจริยธรรมได้ ผลจะเป็นอย่างไรนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ธัคภัศ ดุละลัมพะ 63423471009
ความหมายของคําว่าธรรมาภิบาล มาจากคําว่า ธรรมะ แปลว่าความถูกต้องดีงาม อภิบาล แปลว่า การปกครองหรือการปกปักรักษา ธรรมาภิบาลจึงแปลว่าการปกครองที่ยึดถือความถูกต้องดีงามเป็นหลักหรือการปกครองโดยธรรม ส่วนคําว่า ธรรมรัฐ แปลว่า รัฐหรือองค์กรที่มีรูปแบบและการดําเนินงานอย่างถูกต้องดีงาม
นายอานันท์ปันยารชุน ได้ให้ความหมายว่า ธรรมาภิบาลเป็นผลลัพธ์ของการจัดการกิจกรรมซึ่งบุคคลและสถาบันทั่วไป ภาครัฐและเอกชนมีผลประโยชน์ร่วมกัน ได้กระทําลงไปหลายทางมีลักษณะเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนําไปสู่การผสมผสานผลประโยชน์ที่หลากหลายและขัดแย้งกันได้
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้องเป็นธรรม การบังคับการเป็นไป
ตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด โดยคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมของประชาชน
2. หลักคุณธรรม (Ethics) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามสนับสนุนให้ประชาชนขยันซื่อสัตย์ประหยัด อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพที่สุจริตจนกลายเป็นนิสัยประจําชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ซึ่งตรงกันข้าม
กับการทุจริตคอร์รัปชัน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง
การบริหาร และการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การมีจิตสํานึกในหน้าที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม
สิทธิและหน้าที่และปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างตามหลักประชาธิปไตย
6. หลักความคุ้มค่า (Value for Money) หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ (บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมีลี้ 2544, อ้างถึงใน อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า,
นาย อิทธิพัฒน์ แซมกลางรหัส63423471016
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศแต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ในประเด็นจริยธรรมทางการเมืองนักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไร
ความคิดเห็นนะครับ ทำให้ประชาชนตั้งคำถามมากมายที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของรัฐมนตรีท่านนั้น ว่าท่านเหมาะสมหรือไมในการดำรงตำแหน่งนี้ เเละรัฐบาลให้ท่านดำรงตำแหน่งนี้โดยไม่รู้สึกทุกข์ร้อนอะไรเลยหรือไม่ เรื่องจริยธรรมทางการเมือง ที่นักการเมืองต้องมีกลับมีน้อยนิดเเละน้อยลงไปทุกที
การที่ประชาชนรู้ผลการพิจารณาคดี โดยที่รู้ว่า ยังไงท่านก็รอด มันก็สะท้อนถึงรัฐในชุดนี้เหมือนกัน ที่เรียกว่า "อะไรที่ไม่เคยเกิด มันก็เกิดขึ้น อะไรที่ไม่เคยเห็น เราก็ได้เห็น"
นายอิทธิณัฐ แซมกลาง63423471284
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร
โดยความคิดส่วนตัวผมว่า การกระทำของบุคคลนี้ขาดความจริยะธรรมความโปร่งใสในการรับตำเเหน่ง ทำให้ประชาชนที่รู้ข่าวสารหมดความศรัธาต่อระบบของศาล
นาย พฤทธิ์รวี ชื่นศิริ 63423471006 รุ่น46
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร
“เรื่องนี้คนดำเนินเรื่อง คิดผิดประเด็น ดำเนินเรื่องผิดช่องทาง เรื่องนี้เป็นเรื่องของความเหมาะ ความควร เรื่องจริยธรรม ว่าประเทศไทยควรแต่งตั้ง ยกย่องคนที่ต้องคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ขึ้นดำรงตำแหน่งชั้นสูงรับผิดชอบบ้านเมืองหรือไม่ ไม่ใช่ไปใช้กฎหมายอย่างนี้ กฎหมายห้ามแล้วบอกว่า คำว่าศาล หมายถึงศาลทั่วโลกอย่างนี้เป็นไปไม่ได้ต้องเข้าให้ถูกประเด็น ถูกช่องทาง กฎหมายที่เป็นอยู่ กับกฎหมายที่อยากจะให้เป็น มันคนละเรื่อง ถ้าต่อไปเบื้องหน้าสังคมไทยเห็นว่ากรณีแบบนี้ควรจะเป็นลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งระดับสำคัญของบ้านเมืองก็ต้องเขียนไว้ ไม่ใช่ กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้แล้วความรู้สึกของเราเห็นว่า มันไม่สมควรก็อยากจะมาใช้กฎหมายให้ครอบคลุมตามความรู้สึกของเรา ความต้องการของเรา มันไม่ได้ ดังนั้นผมจึงเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศแต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ในประเด็นจริยธรรมทางการเมืองนักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไร
ตอบ.“เรื่องนี้คนดำเนินเรื่อง คิดผิดประเด็น ดำเนินเรื่องผิดช่องทาง เรื่องนี้เป็นเรื่องของความเหมาะ ความควร เรื่องจริยธรรม ว่าประเทศไทยควรแต่งตั้ง ยกย่องคนที่ต้องคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ขึ้นดำรงตำแหน่งชั้นสูงรับผิดชอบบ้านเมืองหรือไม่ ไม่ใช่ไปใช้กฎหมายอย่างนี้ กฎหมายห้ามแล้วบอกว่า คำว่าศาล หมายถึงศาลทั่วโลกอย่างนี้เป็นไปไม่ได้ต้องเข้าให้ถูกประเด็น ถูกช่องทาง กฎหมายที่เป็นอยู่ กับกฎหมายที่อยากจะให้เป็น มันคนละเรื่อง ถ้าต่อไปเบื้องหน้าสังคมไทยเห็นว่ากรณีแบบนี้ควรจะเป็นลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งระดับสำคัญของบ้านเมืองก็ต้องเขียนไว้ ไม่ใช่ กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้แล้วความรู้สึกของเราเห็นว่า มันไม่สมควรก็อยากจะมาใช้กฎหมายให้ครอบคลุมตามความรู้สึกของเรา ความต้องการของเรา มันไม่ได้ ดังนั้นผมจึงเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
สำหรับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา ถือว่ามีผลผูกพันเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทั้งหมด ว่า ถ้าทำตามคำวินิจฉัยกฤษฎีกาไม่ถือว่าเป็นความผิดพลาด ถึงแม้จะผิดกฎหมายก็ได้รับความอนุเคราะห์ว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่ได้ทำตามคำวินิจฉัยที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล และ ครม. ก็มีมติรับรองแล้วว่า คำวินิจฉัยกฤษฎีกาอยู่ในฐานะให้บังคับใช้ได้ในกลุ่มเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารเสมือนหนึ่งเป็นมติ ครม.แต่คำวินิจฉัย กฤษฎีกาไม่ใช่กฎหมายไม่มีผลผูกพันรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ผูกพันตุลาการ ศาลต่างๆ เวลามีปัญหากฎหมายในฝ่ายบริหารก็จะอ้างอิงความเห็นของกฤษฎีกาได้ เพื่อให้ระบบการบริหารประเทศมีทิศทางที่แน่นอนไม่ลักกลั่น ขัดแย้งกันระหว่างกำลังของฝ่ายผู้บริหารที่เป็นกำลังใหญ่ในการบริหารกิจการบ้านเมือง แต่ในทางตุลาการนิติบัญญัติไม่ได้มีความผูกพันตามคำวินิจฉัยกฤษฎีกา เพียงแต่ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ฝ่ายนิติบัญญัติตุลาการ จะให้ความเคารพ และมักจะเห็นพ้องด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่ไม่ได้มีผลผูกพัน และเมื่อเรื่องมาถึงปัญหา กฎหมายแท้ๆ ฝ่ายตุลาการซึ่งต้องวินิจฉัยเพื่อให้เป็นหลัก มั่นคงในบ้านเมือง ก็ต้องวิเคราะห์สถานะกฎหมายที่เป็นอยู่ว่าเป็นอย่างไร และวินิจฉัยตามกฎหมายนั้น ส่วนถ้าฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร หรือบุคคลกลุ่มใดเห็นว่ากฎหมายนั้นไม่เป็นประโยชน์ไม่เหมาะสมกับประเทศชาติควรต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็ต้องไปที่ฝ่ายนิติบัญญัติขอให้รัฐสภาเปลี่ยนแปลงแก้ไข
น.ส.วาลิวา คำพันธ์ รหัส62423471026 รุ่น44
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศแต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ในประเด็นจริยธรรมทางการเมืองนักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไร
ดิฉันมีความคิดเห็นว่า การแสดงถึงจริยธรรมที่ดีของนักการเมือง เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่คุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นนักการเมือง มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นคนที่ผู้อื่นสามารถยึดถือเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติแก่ทั่วคนไป เชื่อมั่นได้ที่จะให้ปฏิบัติหน้าที่แทนประชาชน ดังนั้นในประเด็นที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศแต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้นั้น แสดงให้เห็นถึง
1.การกระทำของนักกฎหมายที่ทำต่อสังคม แสดงให้เห็นว่าคุณธรรมจริยธรรมไม่มีระบบ ไม่สามารถวัดได้ ไม่สามารถจับต้องได้ขึ้นอยู่กับความรู้สึก นักกฎหมายที่แม้จะเป็นคนเก่งแต่ก็ใช่ว่าจะมีคุณธรรมจริยธรรมในการใช้กฎหมาย และบิดเบือนประเด็นได้อย่างไม่มีความละลายใจ เพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล
2.การที่รัฐบาลยอมรับคนที่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกในคดีค้ายาเสพติดในต่างประเทศให้สามารถมาเป็นรัฐมนตรีที่ไทยได้ ซึ่งการต่อต้านยาเสพติดที่สากลทั่วโลกยอมรับว่าเป็นภัยร้ายแรงและเป็นภัยต่อความมั่นคงมนุษย์และทำทุกอย่างเพื่อปราบปราม การที่รัฐบาลและศาลอนุญาตให้รัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งต่อถึงแม้จะค้ายาก็คงไม่มีสากลโลกที่ไหนยอมรับได้
3.สิ่งที่บ่งชี้ว่ารัฐนั้นเป็นประชาธิปไตยคือการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่มุ่งจะหาคนดี มือสะอาด ปราศจากมลทิน แต่ไม่สามารถตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง และตัดสินลงโทษการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้นั้นเรียกว่าเผด็จการ
นายธนวัฒน์ อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา63423471061รุ่นที่46
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศแต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไร
ตอบ
นักการเมืองไทยทราบถึงบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญเพราะได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา อีกทั้งนักการเมืองไทยส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน รู้และเข้าใจกฎหมาย ประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สภาพปัญหาและอุปสรรคของการบังคับใช้จริยธรรมของนักการเมืองและกฎหมาย คือ (1) นักการเมืองไทยไม่ค่อยเคารพกฎหมายและจริยธรรม และ (2) กลไก ระบบ การบังคับทางจริยธรรมและกฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งๆ ที่นักการเมืองเป็นวิชาชีพที่สำคัญและมีบทบาทอย่างสูงต่อสังคมและประเทศ การเมืองการปกครองของไทยมีแนวโน้ม ที่อาจจะขาดเสถียรภาพ เพราะมีผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้บริหารบ้านเมืองบางราย ไม่มีคุณธรรม จริยธรรม ไม่เกรงกลัว ไม่เคารพ ไม่ประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่เกรงกลัวละอายต่อบาปตามหลักพระพุทธศาสนา ซื้อสิทธิขายเสียง ทุจริตคอรัปชั่น ประพฤติมิชอบต่อหน้าที่ การบริหารจัดการบ้านเมืองไม่เกิดธรรมาภิบาล สังคมไม่สงบร่มเย็น ไม่มีสันติสุข รายได้ประชาชนลดลง หนี้สินเพิ่มขึ้น ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาอาชญากรรม การใช้ความรุนแรงและยาเสพติดเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัญหาเรื่อง จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในปัจจุบัน และไม่มีปัญหาใดที่ประชาชนคนส่วนใหญ่สนใจและห่วงใยมากไปกว่านี้