ศูนย์เรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมช
การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ Module2
การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์Module3
การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ Module 1
more
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
แนวคิดการบริการสาธารณะใหม่ ส่วนหนึ่งมีพื้นฐานแนวคิดมาจากแนวคิดหลังสมัยใหม่นิยมมีภววิทยา การศึกษาเชิงปรัชญาถึงธรรมชาติของความมีอยู่ ความจริงทั่วไป และศึกษาเกี่ยวกับการจัด ประเภท รวมถึงความสัมพันธ์ของความมีอยู่นั้น (Hay, 2002, pp. 226-229) มุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่ ของรัฐ “ฟัง” มากกว่า “สั่ง” และ “รับใช้หรือ ให้บริการพลเมือง” มากกว่า “กำกับหรือควบคุม” (Denhardt and Denhardt, 2007, p. 3) รัฐต้องสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนทุกคน และมุ่งที่ผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมในการให้บริการของภาครัฐมากขึ้น ตลอดจนให้ความสำคัญกับการดำเนินงานบนพื้นฐานของประชาธิปไตย ฉะนั้นกิจกรรมที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำจึงเป็นไปเพื่อส่งมอบประชาธิปไตย มากกว่าส่งมอบบริการให้แก่ลูกค้าเหมือนดั้งเดิม (Denhardt and Denhardt, 2007, p. xi) ดังนั้นในทัศนะของ Denhardt and Denhardt (2011) จึงเห็นว่าหัวใจสำคัญของแนวคิดในกระบวนทัศน์การบริการสาธารณะใหม่ (New public service) คือ ประชาธิปไตยและความเป็นพลเมือง ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
ประการแรก ประโยชน์สาธารณะ คือ เป้าหมายหลักในการบริหารงานภาครัฐ โดย ต้องมองข้ามผลประโยชน์ของตนเอง พวกพ้อง ราชการ นักการเมือง หรือกลุ่มผลประโยชน์ใด ๆ ขณะเดียวกันรัฐจะสร้างการบริการสาธารณะที่ ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้สูงสุด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างจากการปรึกษาหารือร่วมคิดร่วมไตร่ตรองจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (Public deliberation) ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้าม กับการแบ่งเป็นฝ่ายเสียงข้างมากและเสียง ข้างน้อย หรือฝ่ายที่ทำกับฝ่ายที่คัดค้าน
ประการที่สอง การบริการสาธารณะ ใหม่เน้นการคิดในเชิงยุทธศาสตร์ (Think strategically) และทำด้วยวิถีทางแห่ง ประชาธิปไตย กล่าวคือ หลังจากที่มีการปรึกษาหารือร่วมวิเคราะห์ร่วมไตร่ตรองจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว ต้องมีการร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในขั้น ต่อไปอย่างมียุทธศาสตร์ ขณะเดียวกันการบริการสาธารณะใหม่ยังให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของสิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการจะต้องไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรู้สึกว่าตนเองเสียเปรียบ เหลื่อมล้ำต้องมีทางออกที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย และ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าต้องมีฝ่ายที่เสียประโยชน์ จะต้องหาแนวทางในการชดเชยให้กับฝ่ายที่เสีย ประโยชน์ หรือฝ่ายที่รับผลกระทบในแง่ลบมากกว่า
ประการที่สาม รัฐไม่ใช่ผู้กำกับ สั่งการ ตัดสินใจ และกุมทิศทางการบริหารประเทศ และการบริการสาธารณะเหมือนดั้งเดิม แต่ต้องเป็นผู้รับใช้ประชาชน กล่าวคือ รับฟังความ คิดเห็นของประชาชน เปิดโอกาสให้ประชาชน ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับ ผลประโยชน์ ร่วมตรวจสอบ ซึ่งในความหมายนี้ประชาชนจะไม่ใช่เป็นเพียงลูกค้า หรือ ผู้รับบริการ แต่เป็นพลเมืองผู้ตื่นรู้ ร่วมกันแก้ไข ปัญหาและพัฒนาประเทศชาติ
ประการที่สี่ รัฐประศาสนศาสตร์ ไม่ได้ เชื่อมโยงกับภาครัฐเท่านั้น แต่สัมพันธ์กับหลากหลายภาคส่วน และหลายระดับ ทั้ง ประโยชน์สาธารณะ รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ต่าง ๆ และมาตรฐานวิชาชีพ เป็นต้น
ประการที่ห้า คำว่า “ลูกค้า” อาจหมายถึง คนกลุ่มใดเท่านั้น แต่ในความคิดของการบริการสาธารณะใหม่คนที่รัฐต้องรับใช้ คือ พลเมือง เพื่อให้การบริหารงาน ภาครัฐตระหนักอยู่เสมอว่าต้องคำนึงถึง ประโยชน์สาธารณะ ขณะเดียวกัน การมองประชาชนเป็นลูกค้า ชี้ให้เห็นว่า นัยยะของ ผู้ผลิตสินค้า คือ ภาครัฐเท่านั้น แต่ในแนวคิดของการบริการสาธารณะใหม่ผู้ผลิตครอบคลุม หลากหลายภาคส่วน เนื่องจากหากให้รัฐเป็น เจ้าของกิจการขององค์การภาครัฐแต่เพียงผู้เดียว ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยง และความล้มเหลว ถ้าการตัดสินใจนั้น ๆ เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ การร่วมมือ และความรับผิดชอบร่วมกัน
ประการที่หก การบริการสาธารณะ ใหม่เน้นตอบสนองความต้องการ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ เป็นสำคัญ ไม่ได้มองเฉพาะผลผลิต ความมีประสิทธิภาพเท่านั้น
ประการที่เจ็ด การบริการสาธารณะใหม่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างนักการเมือง และ ข้าราชการให้เป็นเสมือนผู้ประกอบการใน ราชการ แต่ต้องการสร้างพลเมืองที่ร่วมแรง ร่วมใจกันคนละไม้คนละมือ เพื่อประโยชน์ ส่วนรวม โดยเชื่อมั่นว่าคนมีจิตใจที่ดี มีพลัง และกล้าหาญพอที่จะคิดและลงมือทำอันจะนำมาซึ่งชุมชน ท้องถิ่น สังคม และประเทศที่ดีขึ้น
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
แนวคิดการบริการสาธารณะใหม่ ส่วนหนึ่งมีพื้นฐานแนวคิดมาจากแนวคิดหลังสมัยใหม่นิยมมีภววิทยา การศึกษาเชิงปรัชญาถึงธรรมชาติของความมีอยู่ ความจริงทั่วไป และศึกษาเกี่ยวกับการจัด ประเภท รวมถึงความสัมพันธ์ของความมีอยู่นั้น (Hay, 2002, pp. 226-229) มุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่ ของรัฐ “ฟัง” มากกว่า “สั่ง” และ “รับใช้หรือ ให้บริการพลเมือง” มากกว่า “กำกับหรือควบคุม” (Denhardt and Denhardt, 2007, p. 3) รัฐต้องสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนทุกคน และมุ่งที่ผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมในการให้บริการของภาครัฐมากขึ้น ตลอดจนให้ความสำคัญกับการดำเนินงานบนพื้นฐานของประชาธิปไตย ฉะนั้นกิจกรรมที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำจึงเป็นไปเพื่อส่งมอบประชาธิปไตย มากกว่าส่งมอบบริการให้แก่ลูกค้าเหมือนดั้งเดิม (Denhardt and Denhardt, 2007, p. xi) ดังนั้นในทัศนะของ Denhardt and Denhardt (2011) จึงเห็นว่าหัวใจสำคัญของแนวคิดในกระบวนทัศน์การบริการสาธารณะใหม่ (New public service) คือ ประชาธิปไตยและความเป็นพลเมือง ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
ประการแรก ประโยชน์สาธารณะ คือ เป้าหมายหลักในการบริหารงานภาครัฐ โดย ต้องมองข้ามผลประโยชน์ของตนเอง พวกพ้อง ราชการ นักการเมือง หรือกลุ่มผลประโยชน์ใด ๆ ขณะเดียวกันรัฐจะสร้างการบริการสาธารณะที่ ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้สูงสุด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างจากการปรึกษาหารือร่วมคิดร่วมไตร่ตรองจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (Public deliberation) ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้าม กับการแบ่งเป็นฝ่ายเสียงข้างมากและเสียง ข้างน้อย หรือฝ่ายที่ทำกับฝ่ายที่คัดค้าน
ประการที่สอง การบริการสาธารณะ ใหม่เน้นการคิดในเชิงยุทธศาสตร์ (Think strategically) และทำด้วยวิถีทางแห่ง ประชาธิปไตย กล่าวคือ หลังจากที่มีการปรึกษาหารือร่วมวิเคราะห์ร่วมไตร่ตรองจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว ต้องมีการร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในขั้น ต่อไปอย่างมียุทธศาสตร์ ขณะเดียวกันการบริการสาธารณะใหม่ยังให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของสิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการจะต้องไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรู้สึกว่าตนเองเสียเปรียบ เหลื่อมล้ำต้องมีทางออกที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย และ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าต้องมีฝ่ายที่เสียประโยชน์ จะต้องหาแนวทางในการชดเชยให้กับฝ่ายที่เสีย ประโยชน์ หรือฝ่ายที่รับผลกระทบในแง่ลบมากกว่า
ประการที่สาม รัฐไม่ใช่ผู้กำกับ สั่งการ ตัดสินใจ และกุมทิศทางการบริหารประเทศ และการบริการสาธารณะเหมือนดั้งเดิม แต่ต้องเป็นผู้รับใช้ประชาชน กล่าวคือ รับฟังความ คิดเห็นของประชาชน เปิดโอกาสให้ประชาชน ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับ ผลประโยชน์ ร่วมตรวจสอบ ซึ่งในความหมายนี้ประชาชนจะไม่ใช่เป็นเพียงลูกค้า หรือ ผู้รับบริการ แต่เป็นพลเมืองผู้ตื่นรู้ ร่วมกันแก้ไข ปัญหาและพัฒนาประเทศชาติ
ประการที่สี่ รัฐประศาสนศาสตร์ ไม่ได้ เชื่อมโยงกับภาครัฐเท่านั้น แต่สัมพันธ์กับหลากหลายภาคส่วน และหลายระดับ ทั้ง ประโยชน์สาธารณะ รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ต่าง ๆ และมาตรฐานวิชาชีพ เป็นต้น
ประการที่ห้า คำว่า “ลูกค้า” อาจหมายถึง คนกลุ่มใดเท่านั้น แต่ในความคิดของการบริการสาธารณะใหม่คนที่รัฐต้องรับใช้ คือ พลเมือง เพื่อให้การบริหารงาน ภาครัฐตระหนักอยู่เสมอว่าต้องคำนึงถึง ประโยชน์สาธารณะ ขณะเดียวกัน การมองประชาชนเป็นลูกค้า ชี้ให้เห็นว่า นัยยะของ ผู้ผลิตสินค้า คือ ภาครัฐเท่านั้น แต่ในแนวคิดของการบริการสาธารณะใหม่ผู้ผลิตครอบคลุม หลากหลายภาคส่วน เนื่องจากหากให้รัฐเป็น เจ้าของกิจการขององค์การภาครัฐแต่เพียงผู้เดียว ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยง และความล้มเหลว ถ้าการตัดสินใจนั้น ๆ เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ การร่วมมือ และความรับผิดชอบร่วมกัน
ประการที่หก การบริการสาธารณะ ใหม่เน้นตอบสนองความต้องการ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ เป็นสำคัญ ไม่ได้มองเฉพาะผลผลิต ความมีประสิทธิภาพเท่านั้น
ประการที่เจ็ด การบริการสาธารณะใหม่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างนักการเมือง และ ข้าราชการให้เป็นเสมือนผู้ประกอบการใน ราชการ แต่ต้องการสร้างพลเมืองที่ร่วมแรง ร่วมใจกันคนละไม้คนละมือ เพื่อประโยชน์ ส่วนรวม โดยเชื่อมั่นว่าคนมีจิตใจที่ดี มีพลัง และกล้าหาญพอที่จะคิดและลงมือทำอันจะนำมาซึ่งชุมชน ท้องถิ่น สังคม และประเทศที่ดีขึ้น