ความเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงของการบริหารการพัฒนาตามสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่าง ๆจากอดีตสู่ปัจจุบัน หากมีกรณีตัวอย่างการบริหารการพัฒนาของรัฐในโครงการพัฒนาประกอบความคิดเห็นจะเป็นประโยชน์มาก
นางสาวอังจิรา กองศรีมา
รหัสนักศึกษา 65423471173
ตอบ การเปลี่ยนแปลงของการบริหารการพัฒนาตามสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่างๆจากอดีตสู่ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทั้งในแง่ปริมาณ ทิศทางอัตราเร่ง อัตราเร่งของความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมมี ผลกระทบต่อสังคมและบุคคลมากกว่าปริมาณและทิศทางของความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมมากเกินไป จากยุคเกษตรกรรมสู่ยุคอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อค่านิยม องค์การทางการเมือง เศรษฐกิจและโครงสร้างของครอบครัว สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละองค์ประกอบ เช่น จากสังคมอุตสาหกรรมไปเป็นสังคมข่าวสาร จะต้องอาศัยความรู้แบบกว้างมิใช่ความรู้เฉพาะอย่าง จากเทคโนโลยีธรรมดาไปสู่เทคโนโลยีระดับสูง การเปลี่ยนแปลงการรวมอำนาจมาเป็นการเปลี่ยนแปลงการกระจายอำนาจ การเปลี่ยนแปลงจะได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันของรัฐบาลและของเอกชนมา เป็นความช่วยเหลือในบรรดาประชากรเป้าหมายด้วยกันเองหรือการพึ่งตนเองนั่นเอง เป็นต้น
ตัวอย่างการบริหารการพัฒนาของรัฐในโครงการพัฒนา "โครงการพัฒนาบุคลากรภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 สำนักงาน ก.พ.มีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในเรื่องการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลภาครัฐ ได้ดำเนินการวางแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐระยะยาวที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี รวมถึงแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้กำหนดให้ระยะ 5 ปีแรกของการพัฒนา เป็นระยะของการสร้างรากฐานของการวางระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐและส่งเสริมให้บุคลากรภาครัฐสามารถปรับตัวและมีความพร้อมในทุกมิติที่จะทำงานในบริบทของการพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 และดิจิทัลไทยแลนด์ โดยมุ่งพัฒนาจุดเน้น 4 ประการ คือ
* การปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Transformation)
* การส่งเสริมการทำงานที่สอดคล้องเชื่อมโยงเป็นบูรณาการและการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบ (Create Alignment and Accountability)
* การส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมและการคิดสร้างสรรค์ (Driving Innovation) และ
* การสร้างพันธมิตรและการส่งเสริมการทำงานแบบประชารัฐ (Create Partnership and Relationship)"
นาย สิทธิณัฐ ลือสมุทร 64423471002
ปัจจุบันการทำธุรกิจเป็นเกมการแข่งขันที่มีความซับซ้อน และทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากขึ้นกว่าในอดีต ด้วยสาเหตุนี้องค์กรต่างๆ จึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อปัจจัยจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น ให้ได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที
การพัฒนาองค์กร หรือที่นิยมเรียกกันว่า เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารและพัฒนาองค์กรเพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหา ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรอย่างเป็นระบบ
นาย นนทพัทธ์ จิตตคาม 65423471148
จากการศึกษาโดยรวมของระบบการพัฒนาของสิ่งแวดล้อมต่างๆตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบันมีการพัฒนามากยิ่งขึ้นแต่ก็มากด้วยผลกระทบต่างที่ส่งผลต่อผู้พัฒนา ผู้ที่เป็นส่วนนึงของการพัฒนาหตือถ้าพูดบ้านๆก็คือประชาชนจากการที่อ่านเนื้อหาต่างระบบราชการไทย และการพัฒนาได้เปลี่ยนมาเรื่อยๆตั้งแต่1.0-4.0 และระบบข้าราชการในปัจจุบันที่เป็น5G
หน่วยงานต่างที่เข้ามามีส่วนร่วมไม่ว่าจะเป็นเอกชน หรือภาครัฐต่าง รัฐวิสาหกิจได้ช่วยขยายในส่วนของการพัฒนาให้มีรูปแบบใหม่ไม่เหมือนเดิม การพัฒนาต่างนั้นก็ยังมีข้อจำกัดบางประการเช่น การพัฒนาในส่วนของการศึกษา การจัดทุนให้นร.ที่ยากจน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐนั้นยังไม่สามารถที่แจกทุนได้ทั่วถึง จึงทำให้หน่วยงานของเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการที่รัฐนั้นเป็นผู้ขอภาคเอกชนเพื่อให้มาเสริมภาครัฐ แต่ถึงกระนั้นการที่ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมก็มีข้อจำกัดบางประการเช่น การกู้ยืม กยศ. แต่ทั้งนี้แล้วหากภาครัฐ และภาคเอกชนรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นได้ประชุมหารืออาจจะสามารถทำให้การพัฒนาการศึกษานั้นประสบความสำเร็จได้
นางสาวเบญจพร รอดชมภู 64423471004
การเปลี่ยนแปลงของการบริหารการพัฒนาตามสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่าง ๆจากอดีตสู่ปัจจุบัน เกิดผลกระทบของสภาพแวดล้อมการบริหารการพัฒนาที่มีต่อการพัฒนาพฤติกรรมซึ่งจำแนกเป็นผลกระทบจากภายนอกประเทศ ผลกระทบจากประชากร และผลกระทบของลักษณะทางกายภาพและสังคม และ สภาพแวดล้อมซึ่งมีอิทธิต่อการบริหารการพัฒนาของไทย ซึ่งจำแนกเป็นสภาพแวดล้อมในระดับโลกและในระดับประเทศ สำหรับสภาพแวดล้อมระดับโลกประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบใหม่ของโลก การเกิดขึ้นของศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ๆในโลก การกลายเป็นโลกแห่งสังคมผู้สูงอายุ การเกิดภาวะโลกร้อน และความสมดุลของวิกฤติทางด้านพลังงานและอาหารของโลก ส่วนสภาพแวดล้อมในระดับประเทศ ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาการบริหารระดับชาติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติหน่วยงานและบุคคลหันมาสนับสนุนนโยบายและให้ความร่วมมือในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของการบริหารการพัฒนา ปรากฏเช่นนี้สื่อให้เห็นว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องเข้าไปมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสภาพแวดล้อมหน่วยงานเหล่านี้จะได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม และสภาพแวดล้อมเองก็จะได้รับผลกระทบจากการบริหารการพัฒนาของหน่วยงานด้วย เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีความสำคัญต่อการบริหารการพัฒนาและการบริหารการพัฒนามีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อม
ส.ท. ถิรวุฒิ ไชยคำ 64423471018
ความเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงของการบริหารการพัฒนาตามสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่าง ๆจากอดีตสู่ปัจจุบัน
ตอบ หน่วยงานและธุรกิจภาคเอกชนได้เข้ามามีบทบาทที่สําคัญและเป็นกลไกหลักใน การพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทย โดยที่หน่วยงานภาครัฐทําหน้าที่ในการกํากับดูแลและส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งครอบคลุมถึงสวัสดิการสังคมและบริการสาธารณะที่มีความสําคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั่งนี้เศรษฐกิจของไทยจะเจริญเติบโตได้ดีมากน้อยเพียงใด ส่วนหนึ่งจึงขึ้นอยู่กับบทบาทของภาครัฐ ด้วยเหตุนี้ที่ผ่านมาทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่กําลังพัฒนา จึงได้พยายามพัฒนาและปฏิรูปหน่วยงานภาครัฐตามแนวทางของการบริหารภาครัฐแนวใหม่ซึ่ง ถือเป็ นแนวคิดกระแสหลักในการปรับเปลี่ยนโฉมหน้าและปรับปรุงกระบวนการทํางานของ องค์การภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความโปร่งใส อันเป็ นการเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระบบเศรษฐกิจโลกที่มีพลวัตการเปลี่ยนแปลงรุนแรง และรวดเร็วกว่าในอดีตที่ผ่านมา
การปฏิรูปการบริหารภาครัฐของไทยในอีกมิติหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณและการเงิน ตลอดจนการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายขององค์การผ่านกระบวนการจัดทํางบประมาณที่สอดคล้อง กับสถานการณ์จริงขององค์การและสภาพเศรษฐกิจ และอยู่ในระบบการบริหารบุคลากรของ หน่วยงานที่มีแนวปฏิบัติชัดเจนถือว่า มีความสําคัญต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ แต่สิ่งที่สําคัญไปกว่านั้น คือ การบริหารรายได้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารสินทรัพย์ หนี้สิน และเงินทุนที่จําเป็ นต้องมีการบริหารอย่างชาญฉลาดรอบคอบและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่องค์การซึ่งจะทําให้หน่วยงานภาครัฐมีสภาพคล่องและมีลดการพึ่งพาทางด้านงบประมาณ จากภาครัฐซึ่งจะทําให้หน่วยงานภาครัฐของไทยมีบทบาทหรือมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศให้มากยิ่งขึ้น
นายวิศวะ โพธิ์รักษา 65423471122
สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้เกิดปัจจัยต่อการเปลี่ยนแปลง เกิดจาก 2 ปัจจัย คือ
- ปัจจัยภายนอก เป็นสิ่งที่ผลักดันจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นนโยบายรัฐ การเมือง ความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งเทคโนโลยี ก่อให้เกอดรูปแบบการดำเนินชีวิตใหม่ขึ้นมา
- ปัจจัยภายใน เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ได้แก่ การเปลี่ยนนโยบาย การเปลี่ยนผู้บริหาร การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วย
ผมคิดว่าการเปลี่ยนแปลงการบริหารการพัฒนาตามสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่างๆจากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นเรื่องที่ดีเนื่องจากเป็นการรักษาสมดุลขององค์กรเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง เเต่ยังไงก็ตามการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพต้องมองให้ครบทุกองค์ประกอบขององค์กร แบะผลกระทบที่ได้รับจากการเปลี่ยนแปลง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงอย่างมีประสิธิภาพ และก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นที่อาจดีกว่าเดิม
น.ส. พิชญา เพชรดิน 64423471003 รุ่น49
การเปลี่ยนแปลงของการบริหารการพัฒนาตามสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่างๆจากอดีตสู่ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารพัฒนาจำเป็นต้องเข้าไปมีปฏิกิริยาตอบโต้กับสภาพแวดล้อมนั้นคือหน่วยงานเหล่านี้จะได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมเองก็จะรับผลกระทบจากการบริหารพัฒนาของหน่วยงานด้วยเนื่องจากสภาพแวดล้อมมีความสำคัญต่อการบริหารการพัฒนาและการบริหารพัฒนามีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อม
นักวิชาการต่างๆได้ให้คำนิยามของสภาพแวดล้อมของการบริหารพัฒนาในวงที่กว้างมากและ และสภาพแวดล้อมของการบริหารพัฒนาที่แบ่งตามมติเฉพาะด้าน เช่น สภาพแวดล้อมทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายปัจจัย มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ทั้งนี้การพัฒนาของรัฐในโครงการพัฒนาตามสภาพแวดล้อมก็มีหลากหลายเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มโอกาสทางอาชีพเกษตรและการค้าขายสินค้าของชุมชนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เมื่อในอดีตคนในชุมชนจะทำการขาย ก็ต้องหาบเร่เพื่อไปขายให้แก่พ่อค้าคนกลาง และกว่าจะขายได้แต่ละบาทบางทีก็โดนพ่อค้าคนกลางกดราคา หวังเก็งกำไร แต่ในยุคสมัยปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าถึง คนในชุมชนสามารถเพิ่มรายได้ให้ตัวเองโดยการ ใช้สื่อออนไลน์ในการขายทางออนไลน์ โดยไม่ต้องมีพ่อค้าคนกลางอีกต่อไป สามารถซื้อขายได้โดยตรง นอกจากนี้อาจจะยังค้าขายหรือส่งออกไปยังภายในประเทศหรือประเทศเพื่อนบ้านด้วยก็ได้ เพราะรัฐบาลไทยก็สนับสนุนในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์เสมอมา
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการบริหารการพัฒนาสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องศึกษาและที่สำคัญต้องอาศัยแนวทางการศึกษาเพื่อพิจารณาถึงการบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญและการบริหารการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการศึกษาลักษณะต่างๆ ตลอดจนลักษณะของประชาชน จำนวน อายุ การศึกษาและเทคโนโลยีอีกด้วย ทั้งนี้ การบริหารการพัฒนาสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจและสังคมไทยมีการพัฒนาการเปลี่ยนแปรงไปตามยุคตามสมัยและยังคงพัฒนาไปในทิศทางที่ดีที่เราทุกคนได้รับและได้เห็นตลอดระยะเวลาที่มา
นางสาววริศรา เสือเกิด 64423471164 สภาพแวดล้อมของการเปลี่ยนแปลงบริหารการพัฒนา หมายถึง ส่ิงท่ีเป็นรูปธรรม นามธรรมทั้ง ภายนอก ภายใน และรอบๆ องค์การ และส่ิงท่ีเป็นรูปธรรมและนามธรรมดังกล่าวนี้มีอิทธิพลเหนือโครงสร้างกระบวนการและพฤติกรรมของการพัฒนาการบริหาร และการ บริหารเพ่อืการพัฒนา(หรือการบริหารการพัฒนา)หรือในทางกลบักนัสภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม อาจรวมถึงสภาพแวดที่เป็นรูปธรรมอาจรวมถึงสภาพภมูิศาสตร์ประชากรเทคโนโลยีกายภาพและชีวภาพ ส่วนสภาพแวดล้อมที่เป็นนามธรรม ได้แก่ การประดิษฐ์คิดค้นทางสังคม อันรวมถึงสหภาพแรงงาน กล่มุ ผลประโยชน์ อุดมการณ์ อารยธรรมธุรกิจ (business civilization) บรรษัท ปัจเจกชนนิยม ระบบ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
นางสาว ลลิตา สุพรรณ 65423471177
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การบริหารการพัฒนาเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ “การบริหารงานภายนอก” (external administration) หรือต้องเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกองค์การ (externalities) เพื่อโน้มน้าวให้ หน่วยงานและบุคคลหน่วยสนับสนุนโยบายและให้ความร่วมมือในการดาเนินการให้บรรลุเป้าหมายของ การบริหารการพัฒนา ปรากฏเช่นนี้สื่อให้เห็นว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา จำเป็นต้องเข้าไปมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสภาพแวดล้อม นั่นคือ หน่วยงานเหล่านี้จะได้รับผลกระทบจาก สิ่งแวดล้อม และสภาพแวดล้อมเองก็จะได้ รับผลกระทบจากการบริหารการพัฒนาของหน่วยงานด้วย เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีความสำคัญต่อการบริหารการพัฒนาและการบริหารการพัฒนามีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมดั่งกล่าวแล้วจึงหยิบยกเอาประเด็นเหล่านี้มาพิจารณาโดยจะกล่าวถึงหัวข้อต่างๆ
นายนนทกร บุญขันธ์ 65423471153
ความเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงของการบริหารการพัฒนาตามสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่าง ๆจากอดีตสู่ปัจจุบัน
การเปลี่ยนเเปลงย่อมเปลี่ยนกันทุกยุคทุกสมัยเพราะโลกเราก้าวไปข้างหน้าเเละมีบุคลากรที่เก่ง
เเละการเปลี่ยนเเปลงทางการเมืองจะมีผลกระทบ
1.10 การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
2.ผลกระทบจากประชากร การเปลี่ยนแปลงของประชากรย่อมมีผลกระทบต่อรายได้และ การจ้างงาน และย่อมมีผลกระทบต่อนโยบาย และการน าเอานโยบายไปปฏิบัติ
3.ผลกระทบเทคโนโลยีทางกายภาพและชีวภาพ โลกปัจจุบันนี้ได้ชื่อว่าเป็นโลกเทคนิค และเทคโนโลยี ซึ่งเรียกสังคมปัจจุบันว่า สังคม อภิเครื่องจักร นั่นคือเครื่องจักรที่สมบูรณ์ ส าหรับเทคโนโลยีกายภาพและชีวภาพนั้นอธิบายได้ว่า เทคโนโลยีกายภาพอาจรวมถึง เครื่องบิน รถยนต์ การสื่อสารและการโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์และพลังนิวเคลียร์เป็นต้น การปฏิวัติเครื่องมือทางการเกษตร
ประเทศด้อยพัฒนาหรือประเทศโลกที่ 3 ได้แก่ ประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต ่า จะมีลักษณะดังนี้ 1.ประชาชนมีคุณภาพชีวิตต่ำ
2.มีความสามารถในการจัดหาผลิตผลเพื่อการบริโภค
3.เป็นผู้ประกอบการผลิตวัตถุดิบเสียเป็นส่วนใหญ่
4.มีแรงงานส่วนใหญ่อยู่ภาคเกษตรมากกว่าอุตสาหกรรมประเทศที่กำลังพัฒนา
นายดนุพร ช่วยชาติ 64423471107
การเแปลี่ยนแปลงย่อมมีการเปลี่บยแปลงอยุ่เสมอ ตั้งแต่ยุคโลกาภิวัฒน์ ยุคที่เริ่มมีความทันสมัยเริ่มมีการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว กว่าการติดต่อทางจดหมาย จนเข้ามาสู่ยุค 4.0 องค์กรต่างๆที่เมื่อก่อนมีการเก็บรวมรวมข้อมูล ฐานข้อมูลต่างๆของประชาชนไว้แบบแฟ้มเอกสารหนาๆ เวลาหาข้อมูลทีปวดหัว กว่าจะหาเจอ พอมาถึงยุคการพัฒนาการเปลี่ยนแปลง 4.0 มีการย้ายข้อมูลจากกระดาษเอกสารมาเข้าสู่ฐานข้อมูลแบบอินเทอร์เน็ต ที่มีความรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลประชาชนเหล่านี้ และเป็นการประหยัดเวลาอย่างมาก ถือเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และไม่หยุดพัฒนาตัวเอง และการทำงานโปร่งใส ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ เช่น การพัฒนาชิปการ์ดบนบัตรประชาชน สามารถครอบคลุมข้อมูลพื้นฐานของเราได้ เช่น การทำธุรกรรม การใช้สิทธิในโรงพยาบาล การตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ใช้เวลาไม่นานเเละไม่ยาก เพียงแค่เสียบบัตรเข้าไปในเครื่องอ่านชิพ
นาย ทศพร ศิริยอด 64423471008
การพัฒนาประเทศไทยในอดีตได้ให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยเชื่อว่าหากเศรษฐกิจมีการขยายตัวสูง ระดับรายได้ของคนในประเทศก็จะเพิ่มมากขึ้น และมาตรฐาน การดำารงชีวิตของประชาชนก็จะสูงตามไปด้วย ทั้งนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจในเชิงปริมาณดังกล่าว เกิดจากการขยายตัวทางการผลิตอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ ที่ใช้ ทรพั ยากรธรรมชาตอินัได้แก่ ดนิ น้ า ป่า ทะเลและชายฝั่ง รวมทงั้แร่ธาตุต่างๆ เป็นปจัจยัหลกัอย่าง ปราศจากการวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างรอบคอบและป้องกนั ความเสยีหายต่อสงิ่ แวดล้อม ท าให้ เกดิการสะสมของปญั หาต่อทุนธรรมชาตติามระดบั ของการผลติโดยรวมที่เพิ่มสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นความ เสือมโทรมและร่อยหรอของทรพั ยากรธรรมชาติหรอืปญั หามลพิษ ต่างๆ ซึ่งได้นำไปส่ความขัดแย้งทาง สังคมอันเกิดจากการแย่งชิงทรัพยากร และเชื่อมโยงไปถึงความไม่เท่าเทียมกันในการครอบครอง ทรัพยากรระหว่างคนในสังคม
นางจีรภา พิมพา รหัสนักศึกษา 64423471001
ในสังคมที่กำลังพัฒนาหรือกำลังเปลี่ยนแปลงซึ่งได้รับอิทธิพลจากภายนอกมากมาย การเปลี่ยนแปลงมักจะเป็นไปตามความเจริญก้าวหน้าของต่างประเทศหรือประเทศที่พัฒนาแล้วการบริหารการพัฒนาส่วนใหญ่ของสังคมเหล่านี้เปลี่ยนไปตามอิทธิพลภายนอกดังกล่าวคือมีลักษณะเป็นการแบ่งงานกันทำตามความรู้เฉพาะด้านมากขึ้นการบริหารจะมีมากมายโดยแต่ละคนจะทำหน้าที่เฉพาะอย่างของตัวและมีโครงสร้างในลักษณะที่เด่นชัด แต่ในทางบริหาร หรือการทำหน้าที่ยังคงทำกันแบบเดิม ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่ภาครัฐต้องเปลี่ยนแปลงการบริหารการพัฒนาแบบเดียวกันกับที่กล่าวไว้คือมีการบริหารอย่างเป็นทางการคล้ายสังคมตะวันตก แต่การทำงานมีลักษณะของหน้าแฝง ในทางตรงกันข้าม ถ้าจะมองในประวัติศาสตร์ของสังคมตะวันตก อาจมีหน้าที่ทางบริหารใหม่ๆ ที่ใช้ความรู้เฉพาะด้านเกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงการทำงานของภาครัฐในอดีตซึ่งยังมีระเบียบกฎเกณฑ์และเป้าหมายแบบเดิมและเราอาจถือว่าหน้าที่ทางบริหารใหม่ๆต้องมีการเปลี่ยนแปลงเข้าไปสู่การใช้ความรู้เฉพาะด้านมากขึ้น หน้าที่ทางบริหารซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่เป็นตัวทำให้เปลี่ยนไปสู่แนวทางของการพัฒนาได้การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันเป็นการพัฒนาระบบการให้บริการต่างๆผ่านช่องทางด้วยเทคโนโลยีในระบบดิจิทัล รวมไปถึงการใช้เว็ปไซค์ต่างๆเข้ามามีส่วนรวมในการช่วยเหลือภาครัฐและประชาชน ทั้งระบบการศึกษามีการเรียนผ่านออนไลน์ระบบการร้องเรียนและแสดงความเห็นของประชาชนในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐผ่านทางเทคโนโลยีใหม่ๆ นี้ถือว่าเป็นการบริหารการพัฒนาตามตามสถาพแวดล้อมทางสังคมที่ปรับการเปลี่ยนแปลงและเป็นความก้าวหน้าในการบริหารเพื่อพัฒนาประเทศจากอดีตสู่ปัจจุบัน
ตัวอย่างการบริหารการพัฒนาของภาครัฐในโครงการพัฒนาของประเทศในปัจจุบันคือ การพัฒนาเกษตรกรรม เป็นเกษตรกรรมที่แปรรูปเป็นผลผลิตที่ทุกชนชาตินำไปใช้ได้ เช่น มันสำปะหลังอัดเม็ดทำเป็นแป้งผงไปปรุงอาหาร ด้านอุตสาหกรรม ส่งเสริมการศึกษาในระบบการคำนวณภาษาต่างประเทศ เพื่อติดต่อกับประเทศอื่นๆทั่วโลก ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนไทย ให้มีกฎหมายที่ครอบคุมเหมาะสมกับความยุติธรรมในสังคม ส่งเสริมการศึกษาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศ พัฒนาระบบกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ให้เข้มแข็งน่าเกรงขาม เพื่อปรามปราบประเทศที่เป็นอัธพาล และเพื่อการติดต่อเจรจาด้านต่างๆ
น.ส วิชญาดา หัสดำ 65423471158
ความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงของการบริหารการพัฒนาตามสภาพแวดล้อม
คือสภาพแวดล้อมการบริหารการพัฒนา สิ่งที่เป็นรูปธรรมนามธรรมทั้งภายนอกภายใน และรอบๆองค์กร มีอิทธิพลเหนือโครงสร้างกระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารการพัฒนา สภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมอาจรวมถึงภูมิศาสตร์
ประชากร เทคโนโลยีกายภาพและชีวภาพ
ส่วนสภาพแวดล้อมที่เป็นนามธรรม ได้แก่การประดิษฐ์คิดค้นทางสังคม อันรวมถึงสภาพสังคมแรงงาน กลุ่มผลประโยชน์
อุดมการณ์ อารยธรรมทางธุรกิจ บริษัทปัจเจกชนนิยม ระบบ การเมือง เศรษฐกิจและสังคมเป็นต้น
องค์ประกอบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
1. การเปลี่ยนแปลงด้านวิทยากร
2. การเปลี่ยนแปลงด้านกำลังคน
3. การเปลี่ยนแปลงด้านผู้บริโภค
4. การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
และยังมีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ
ซึ่งมีด้วยกัน 3 ประการดังนี้
อุดมการณ์ เทคโนโลยี และระเบียบสังคม
น.ส. นภัสสร เทพสวัสดิ์ 64423471009
ความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนเเปลงของการบริหารการพัฒนาตามสภาพเเวดล้อม คือต้องคำนึงถึง สภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในเเละภายนอกองค์การที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเวลาและสถานที่นั้น คุณภาพชีวิตการทำงาน งานที่ท้าทาย ค่าตอบแทนที่ยุติธรรม โอกาสจะใช้ความรู้ความสามารถ อนาคตที่เจริญงอกงามและมั่นคง การปกป้องสิทธิส่วนบุคคลและการแสดงออกอย่างเสรีภาพและมีความสมดุลระหว่างการทำงานและการดำเนินชีวิต
โดยมีองค์ประกอบของการพัฒนาการบริหารและองค์ประกอบการบริหารการพัฒนา มีการจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง การนำเสนอสมรรถนะหรือ ความสามารถที่มีอยู่ในระบบ บริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบายแผนงานโครงการหรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ว่าแผนไว้ล่วงหน้า
การบริหารการพัฒนาของรัฐที่เห็นได้ชัดจากอดีตสู่ปัจจุบันคือเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาบุคลากรภาครัฐเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 โครงการนี้มุ่งเน้นการสร้างรากฐานของการวางระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐและส่งเสริมให้บุคลากรภาครัฐสามารถปรับตัวและมีความพร้อมในทุกมิติที่จะทำงานในบริบทของการพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 และดิจิทัลไทยแลนด์ เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรงด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานได้ร่วมกันให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาบุคลากรภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ และเพื่อเตรียมความพร้อมหน่วยงานต่าง ๆ ให้สามารถดำเนินการพัฒนาบุคลากรเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ด้วยค่ะ
อภิวัฒน์ เจริญหลาย 64423471011
ในอดีตประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ดังคำกล่าวว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว นั้นแสดงให้เห็นถึงการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย และมีความผูกพันกับธรรมชาติ
เมื่อประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับแนวโน้มการพัฒนาของประเทศที่เน้นการขยายตัวของภาคอุตสหกรรม ทำให้มีการนำเทคโนโลยีและวิธีการสมัยใหม่ ๆ เข้ามาใช้ เพื่อนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพียงพอต่อความต้องาการของมนุษย์ ส่งผลให้มีการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย ความอุดมสมบูรณ์และคุณภาพของธรรมชาติจึงลดน้อยลง
( นาย กรวิชญ์ คงจันทร์ 64423471010 )
ความเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงของการบริหารการพัฒนาตามสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่าง ๆจากอดีตสู่ปัจจุบัน
เกิดผลกระทบของสภาพแวดล้อมการบริหารการพัฒนาที่มีต่อการพัฒนาพฤติกรรมซึ่งจำแนกเป็นผลกระทบจากภายนอกประเทศ ผลกระทบจากประชากร และผลกระทบของลักษณะทางกายภาพและสังคม และ สภาพแวดล้อมซึ่งมีอิทธิต่อการบริหารการพัฒนาของไทย ซึ่งจำแนกเป็นสภาพแวดล้อมในระดับโลกและในระดับประเทศ สำหรับสภาพแวดล้อมระดับโลกประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบใหม่ของโลก การเกิดขึ้นของศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ๆในโลก การกลายเป็นโลกแห่งสังคมผู้สูงอายุ การเกิดภาวะโลกร้อน และความสมดุลของวิกฤติทางด้านพลังงานและอาหารของโลก ส่วนสภาพแวดล้อมในระดับประเทศ ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาการบริหารระดับชาติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติหน่วยงานและบุคคลหันมาสนับสนุนนโยบายและให้ความร่วมมือในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของการบริหารการพัฒนา ปรากฏเช่นนี้สื่อให้เห็นว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องเข้าไปมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสภาพแวดล้อมหน่วยงานเหล่านี้จะได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม และสภาพแวดล้อมเองก็จะได้รับผลกระทบจากการบริหารการพัฒนาของหน่วยงานด้วย เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีความสำคัญต่อการบริหารการพัฒนาและการบริหารการพัฒนามีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อม
พลอยภิญญดา บุญดก 64423471024
ยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่ยุดยั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเป้นสิ่งสำคัญที่เข้ามามีบทบาทในปัจจุบันป็นอย่างมากด้วยสภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนา คือ สิ่งที่เป็นรูปธรรมนามธรรมทั้งภายนอก ภายในและรอบๆองค์การ มีอิทธิพลเหนือโครงสร้างกระบวนการ และพฤติกรรมของการพัฒนาการบริหาร และการบริหารเพื่อการพัฒนา ด้วยแบบแผนโครงสร้างต่างๆ มีสิ่งที่เข้ามามีบทบาทคือเทคโนโลยีทำให้ก้าวล้ำทันสมัยปฏิบัติงานได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ทำให้ได้รับข่าวสารแนวทางใหม่ๆในทุกองค์ประกอบความรู้ การบริหาร และบริการ ทำให้มีผลต่อการปฎิบัติตนในสังคมประชาชนรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง สิ่งนี้จึงจะได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สอดคล้องและรวมไปถึงการกล้าแสดงออกเพื่อที่จะแสดงจุดยืนของตนเอง กล้าลุกขึ้นมาต่อสู้ความอยุติธรรม ระบบต่างๆอาจไม่ได้ดำเนินการด้วยรูปแบบเดิมได้จะได้รับการพัฒนาเพื่อให้ทันยุคสมัยเพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่
การเปลี่ยนแปลงของการบริหารและการพัฒนาตามสภาพแวดล้อมธรรมชาติทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องนอกจากการเปลี่ยนแปลงจะเป็นธรรมชาติขององค์กรแล้วจะทำให้องค์กรพัฒนาอย่างต่อเนื่องรวมไปถึงการมองหาแนวทางที่แปลกใหม่การทำงานที่แตกต่างและรวมไปถึงแนวทางและวิธีการทำงานใหม่ใหม่ในองค์กรถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเช่นกันทำให้องค์กรได้พัฒนาอยู่ตลอดมีความเจริญและทันสมัยอย่างต่อเนื่องทำให้องค์กรไม่หยุดนิ่ง
สภาพแวดล้อมต่างๆที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้เกิดปัจจัยต่อการเปลี่ยนแปลง
1. ปัจจัยภายนอกปัจจัยภายนอกที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลูกค้าประชาชนรวมไปถึงคู่แข่งหรือคู่ค้าและสภาพแวดล้อม
2.ปัจจัยภายในที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กรผู้บริหารโครงสร้างขององค์กรรวมไปถึงผู้ที่มีส่วนได้และส่วนเสียภายในองค์กร ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) เป็นต้นมา ภาคเอกชนเข้ามารับงานหรือภาระหน้าที่บางอย่างของรัฐไปดำเนินการแทน และรัฐจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้กำกับดูแลเท่านั้น อันเป็นการเปลี่ยน "กระบวนทัศน์ใหม่" (New Paradigm) ในการบริหารราชการ กล่าวคือ จะเน้นการแปรสภาพงานของภาครัฐให้เป็นของภาคเอกชน (Privatization) พร้อมๆกันไปกับการมอบอำนาจ (Delegation) การกระจายอำนาจ (Decentralization) การเป็นประชาธิปไตยหรือการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม (Democratizationr
Participation) และการลดขนาดส่วนราชการและกำลังคนภาครัฐ (Downsizing) ซึ่งตามแนวทาง
ดังกล่าวข้างต้น การบริหารราชการจะดำเนินการเฉพาะงานหรือภาระหน้าที่ที่จำเป็นที่ไม่มีผู้ใด
ดำเนินการเท่านั้น สำหรับงานหรือภาระหน้าที่ที่มีผู้อื่นรับไปดำเนินการแทนนั้น รัฐจะทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแล ส่งเสริมและสนับสนุนเท่านั้น
พีรพัทธ์ มะลิลา 64423471015
-นายณัฐวุฒิ เดอเลาะอีม 64423471021-
ความเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงของการบริหารการพัฒนาตามสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่าง ๆจากอดีตสู่ปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงการบริหารพัฒนาของประเทศไทยนั้นเริ่มจะเข้าสู่ความทันสมัยในยุคของโลกสมัยใหม่แต่ยังถูกรั้งด้วยระบบศักดินาและเรื่องของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่เข้ามามีส่วนร่วม และสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในองค์การที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเวลาและสถานที่นั้นจะส่งผลคุณภาพชีวิตการทำงาน เน้นคุณค่าการเป็นมนุษย์ งานที่ท้าทาย ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมความ ปลอดภัยที่มีสุขภาพดี โอกาสจะใช้ความรู้ความสามารถ อนาคตที่เจริญงอกงามและมั่นคง การปกป้องสิทธิส่วนบุคคลและการแสดงออกอย่างเสรีและมีความสมดุลระหว่างการทำงานและการดำเนินชีวิตส่วนตัว